admin

หอเกียรติยศแห่งรามาธิบดี

เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติและผลงานของคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน โดยมีเนื้อหาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางในการดำรงชีวิตให้เกิดแก่ผู้เข้าชมเพื่อสร้างสรรรค์ประโยชน์ต่อประชาคมรามาธิบดีและสังคมส่วนรวมต่อไป


ที่ตั้ง:ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรศัพท์: 0 2201 0562 และ 0 2201 0564
Email:ramamuseum@gmail.com
เว็บไซต์:https://med.mahidol.ac.th/
Facebook:ram rama.museum
อัตราค่าเข้าชม:ไม่มีค่าเข้าชม

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี

เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขของไทย และจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


ที่ตั้ง:ชั้น 2 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรศัพท์: 0 2201 0562 และ 0 2201 0564
Email:ramamuseum@gmail.com
เว็บไซต์:https://med.mahidol.ac.th/
Facebook:ram rama.museum
อัตราค่าเข้าชม:ไม่มีค่าเข้าชม

สิรินธรทันตพิพิธ

โซนที่ 1 จัดแสดงนิทรรศกำรใต้ร่มพระบำรมีจักรีวงศ์เป็นโถงต้อนรับและจุดเริ่มต้นการเข้าชมพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ “สิรินธรทันตพิพิธ” จัดแสดงนิทรรศการใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีต่อคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โซนที่ 2 ทันตแพทยศำสตร์ยุคแรกเริ่มในทวีปเอเชียเป็นห้องนำเสนอเรื่องราวและจัดแสดงศาสตร์ด้านทันตแพทย์ยุคแรกเริ่มในทวีปเอเชีย นำเสนอตามลำดับช่วงเวลา โดยใช้ภาพประกอบคำบรรยาย การจัดแสดงสมุนไพรในขวดโหล การจำลองใบหน้าสตรีสมัยรัตนโกสินทร์ใส่ฟันปลอมที่ทำจากกะลามะพร้าว การเล่าเรื่องโดยมิชชันนารี ความรู้ด้านทันตกรรมจากตะวันตกสู่สยามประเทศ การจำาลองร้านทำฟันและบรรยากาศถนนเจริญกรุงสมัยรัชกาลที่ 5

โซนที่ 3 คณะทันตแพทยศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหิดล อดีตสู่ปัจจุบันนำเสนอวิดีทัศน์ ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากอดีตสู่ปัจจุบัน

โซนที่ 4 หน่วยทันตกรรมพระรำชทำน สมเด็จพระเทพรัตนรำชสุดำฯ สยำมบรมรำชกุมำรีเป็นห้องที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการจำลองบรรยากาศการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในการออกปฏิบัติการในพื้นที่ ผ่านสื่อระบบสามมิติ

โซนที่ 5 ห้องทันตสุขภาพสำหรับทุกคนนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ พร้อมสนุกสนานกับฟันยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย

โซนสุดท้าย หอจดหมายเหตุเป็นห้องจัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์เกี่ยวกับงานด้านทันตกรรมและสื่อการเรียนการสอนของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ที่ตั้ง:ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรศัพท์:0 2200 7653
E-mail:museum2558@gmail.com
เว็บไซต์:www.dt.mahidol.ac.th
อัตราค่าเข้าชม:ไม่มีค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการปรับปรุง “พิพิธภัณฑ์ประวัติการพยาบาลไทย” ในปีพ.ศ. 2557 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และในโอกาส 120 ปี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้มีการปรับชื่อพิพิธภัณฑ์เป็น “พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 แบ่งการจัดแสดง ดังนี้

ห้องศรีพัชรินทราราชสักการ
จัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ถ่ายทอดพระราชประวัติ พระราชจริยาวัตร และพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา การแพทย์ และการพยาบาล

ห้องประวัติการพยาบาลไทย
นำเสนอประวัติและพัฒนาการของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สมัยที่การพยาบาลเป็นการดูแลกันของคนในครอบครัว จนกระทั่งการพยาบาลพัฒนาขึ้นมาเป็นวิชาชีพทางด้านสุขภาพที่มีความสำคัญและจำเป็นที่สุดวิชาชีพหนึ่งในสังคมปัจจุบัน

ห้องคุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท
นำเสนอเรื่องราว 120 ปี ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ได้รับพระราชทานก่อตั้งเมื่อ 120 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์สำคัญของคณะฯ ในแต่ละช่วงเวลา ผู้บริหารแต่ละยุค บูรพคณาจารย์ การเรียน ความเป็นอยู่ และกิจกรรมของนักศึกษาพยาบาลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านเทคนิคการจัดแสดงหลากหลายรูปแบบ ทั้งวิดิทัศน์ การจำลองบรรยากาศการเรียนการสอน

ห้องจดหมายเหตุทำงกำรพยำบำลรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติคณะพยาบาลศาสตร์และวิชาชีพการพยาบาลไทย หนังสือ/ตำราทางการพยาบาลที่หายาก ทั้งต้นฉบับ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


ที่ตั้ง:ชั้น 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น.
โทรศัพท์: 0 2419 7466 ถึง 80 ต่อ 1401 หรือ 1402
E-mail:anchalee.ple@mahidol.edu
อัตราค่าเข้าชม: ไม่มีค่าเข้าชม

ห้องมหิดลอดุลเดช หอสมุดศิริราช

รวบรวมสมุดบันทึกคำบรรยาย จดหมายลายพระหัตถ์ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และเครื่องใช้ส่วนพระองค์ รวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


ที่ตั้ง:ชั้น 4 อาคารหอสมุดศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.30 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทรศัพท์: 0 2419 7635 หรือ 0 2419 7637
E-mail:siriraj.library@gmail.com
อัตราค่าเข้าชม: ไม่มีค่าเข้าชม

หอจดหมายเหตุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

จัดเก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ สิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การแพทย์และประวัติของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล


ที่ตั้ง:ชั้น 2 ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-15.00น.
(เว้นวันหยุดราชการ)
โทรศัพท์: 0 2419 8285 หรือ 0 2419 8286
อัตราค่าเข้าชม:ไม่มีค่าเข้าชม

ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก

นิทรรศการถาวรพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จัดแสดงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ส่วนพระองค์ เอกสาร หนังสือ และสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องในพระราชกรณียกิจ


ที่ตั้ง:ชั้น 2 ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการ:จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-15.00 น.
(เว้นวันหยุดราชการ)
โทรศัพท์: 0 2419 8285 หรือ 0 2419 8286
อัตราค่าเข้าชม: ไม่มีค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถจัดเตรียมขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะตัว เพราะที่ห้องนี้ไม่ว่าคนตาดี หรือตาบอด จะได้ชมนิทรรศการด้วยการ “สัมผัส” อย่างเท่าเทียมกัน ผู้บกพร่องทางการเห็นจะรับรู้ได้ถึงพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถผ่านเหรียญเซเรสจำลอง พร้อมฟังบทบรรยายประกอบดนตรี สรรเสริญพระเกียรติคุณที่ปรากฏแก่ชาวโลก นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์สัมผัสจะปรับเปลี่ยนทุกๆ ปี


ที่ตั้ง:พิพิธภัณฑ์ศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
เวลาทำการ:จันทร์, พุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.
กรุณาซื้อบัตรเข้าชมก่อนเวลา 16.00 น.
หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ทรศัพท์:02 4192601, 02 4192618-19, 02 4196363
เว็บไซต์:http://www.sirirajmuseum.com
http://www.si.mahidol.ac.th/museums
Facebook:siriraj.museum

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรำนต์ นิยมเสนงานนิติเวชศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการนำวิชาแพทย์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อหาสาเหตุการตายผิดธรรมชาติ ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ได้รวบรวมวัตถุพยานจากคดีที่สิ้นสุดจำนวนมาก มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดง

จัดแสดงเกี่ยวกับวัตถุพยานจากคดีต่างๆ เช่น คดีฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย อุบัติเหตุ ฯลฯ รวมทั้งการจำลองเหตุการณ์ที่แพทย์ศิริราชมีบทบาทในเหตุการณ์มหันตภัยสึนามิ เมื่อปี พ.ศ. 2547


ที่ตั้ง:พิพิธภัณฑ์ศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
เวลาทำการ:จันทร์, พุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.
กรุณาซื้อบัตรเข้าชมก่อนเวลา 16.00 น.
หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรศัพท์:02 4192601, 02 4192618-19, 02 4196363
เว็บไซต์:http://www.sirirajmuseum.com
http://www.si.mahidol.ac.th/museums
Facebook:siriraj.museum

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยำศ.นพ.วิจิตร ไชยพร ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมตัวอย่างหนอนพยาธิหลายชนิดที่ได้จากผู้ป่วย นำมาจัดแสดงประกอบกับวงจรชีวิตของมัน

ท่านจะได้ชมพยาธิชนิดต่างๆ ตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น โปรโตซัว จนถึงขนาดยาวเป็นเมตร เช่น พยาธิตัวแบน จำลองอาหารและวัฒนธรรมการบริโภคที่อาจนำโรคมาสู่ตัวเรา รวมถึงแมลงนำโรค สัตว์มีพิษและวิธีป้องกันตัว


ที่ตั้ง:พิพิธภัณฑ์ศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
เวลาทำการ:จันทร์, พุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.
กรุณาซื้อบัตรเข้าชมก่อนเวลา 16.00 น.
หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทรศัพท์:0 2419 2601, 0 2419 2618-19, 0 2419 6363
เว็บไซต์:http://www.sirirajmuseum.com
http://www.si.mahidol.ac.th/museums
Facebook:siriraj.museum