มรดกความทรงจำ

The Memories

คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล


จากความมุ่งมั่นพัฒนาหน่วยงาน มีพัฒนาการขยายงานอย่างต่อเนื่อง จนได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งเป็นคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล พันธกิจหลักของคณะกายภาพบำบัด คือการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดและงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน ผลิตนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านกายภาพบำบัดระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก ทุกหลักสูตรเปิดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และยังเปิดหลักสูตรปริญญาตรีสาขากิจกรรมบำบัด เพื่อผลิตนักกิจกรรมบำบัดตอบสนองปัญหาการขาดแคลนนักวิชาชีพสาขานี้ของสังคม คณาจารย์ของคณะฯดำเนินงานวิจัยทั้งทางคลินิกและงานวิจัยเชิงทดลองอย่างต่อเนื่อง และได้รับทุนวิจัยจากสถาบันที่ส่งเสริมงานวิจัยต่างๆ นอกจากนั้นคณะยังเป็นกำลังหลักในการสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยสาขากายภาพบำบัด เพื่อเป็นอาจารย์ นักวิชาชีพ และนักวิจัยในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นอกจากนั้น คณะฯยังเปิดศูนย์กายภาพบำบัดเพื่อเป็นต้นแบบการบริการด้านกายภาพบำบัดของประเทศไทยและภูมิภาคด้วย กายภาพบำบัดในศิริราช ศิริราชเป็นสถาบันที่ให้กำเนิดกายภาพบำบัดโดยแท้

เมื่อปีพุทธศักราช 2490 ศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน ริเริ่มการใช้เครื่องมือและวิธีการกายภาพบำบัดรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช ระยะแรกประยุกต์ใช้เครื่องมือง่ายๆที่ทำขึ้นเอง เช่น ความร้อนจากโคมไฟ เครื่องนวดสั่นแบบมือจับ การนวดด้วยมือ การฝึกเดินในราวคู่ และเครื่องช่วยเดิน ต่อมาจึงจัดหาอุปกรณ์ และฝึกแพทย์และพยาบาลเพื่อช่วยงานของท่านตามงานบริการที่ขยายมากขึ้น ขณะนั้นยังไม่มีชื่อเรียกของกายภาพบำบัด จึงใช้เรียกทับศัพท์ว่า Physiotherapist

เมื่อปีพุทธศักราช 2495 มีโรคโปลิโอระบาด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 100,000 บาทซื้อเครื่องมือ Hubbard Tank เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโปลิโอ จากนั้นมาโรงพยาบาลศิริราชก็พัฒนางานบริการกายภาพบำบัดทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือทางกายภาพบำบัดมาตลอด แต่ยังไม่มีสถานที่เป็นสัดส่วน หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ประธานคณะอนุกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ได้กราบทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ถึงความลำบากเรื่องสถานที่ทำงานของกายภาพบำบัด จึงทรงอนุเคราะห์ติดต่อให้ได้งบประมาณเพื่อสร้างตึก โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “ตึกศรีสังวาลย์” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์

พุทธศักราช 2503 โรงเรียนกายภาพบำบัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปี พ.ศ.2506 ศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ร่วมมือกับ Ms. MJ Neilson เลขาธิการสมาพันธ์กายภาพบำบัดโลก ร่วมก่อตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัด

ปี พ.ศ.2508 จึงรับนักศึกษากายภาพบำบัดรุ่นที่ 1 จากนักศึกษาเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เข้ามาเรียนชั้นปีที่ 3 โดยมีองค์การอนามัยโลก (WHO) สนับสนุนอาจารย์ อุปกรณ์การเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงาน ในระยะแรกนอกจากศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน อาจารย์สมสิริ ทับแสง และอาจารย์ชาวต่างประเทศแล้ว โรงเรียนกายภาพบำบัดยังได้รับความกรุณาจากอาจารย์แพทย์ของทุกภาควิชาในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นอาจารย์สอนความรู้ด้านการแพทย์แก่นักศึกษากายภาพบำบัดด้วย

ในปีพุทธศักราช 2510 มีบัณฑิตกายภาพบำบัดรุ่นแรกของประเทศไทย จบการศึกษาจำนวน 16 คน นับแต่นั้นโรงเรียนกายภาพบำบัด ในสังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ระดับปริญญาตรีรุ่นแล้วรุ่นเล่าออกมารับใช้สังคมไทย

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.