ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข
เนื่องจากก่อน พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเข้าใจกันมานานว่าเป็น “ต้นศรีตรัง” เพราะมีการแต่งเพลงเกี่ยวกับต้นศรีตัง ได้แก่เพลงศรีตรัง เพลงประจำคณะวิทยาศาตร์การแพทย์ และเพลงศักดิ์ศรีตรัง เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ทั้งไม่มีการกำหนดต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ทำให้ประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าใจไปเช่นนั้น ซึ่งเมื่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ไปรับตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำต้นศรีตรังที่ท่านชอบไปปลูกไว้ ณ ที่นั้นด้วย และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทรงปลูกต้นศรีตรังด้วย จึงได้ถือเอาดอกศรีตรังเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโอกาสนั้น
เมื่อใกล้วาระครบรอบ 30 ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยจึงมีดำริให้จัดการประกวดหาต้นไม้สัญลักษณ์ขึ้นเพื่อทดแทนต้นศรีตรังที่มึความเข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้เข้าร่วมการประกวด 202 คน และมีชื่อต้นไม้จำนวน 123 ชนิด โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ฯ ได้คัดเลือก ต้นไม้ 3 ชนิด คือ ต้นกันภัยมหิดล ต้นพญายา และต้นพญาสัตบรรณ นำเสนอต่อที่ประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อพิจารณา แต่ที่ประชุมไม่สามารถตัดสินชี้ขาดได้
ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดล จึงขอประทานพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อทรงวินิจัย ซึ่งทรงเห็นว่า “ต้นกันภัยมหิดล” เหมาะสมที่จะเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเหตุผลโดยสรุปว่า
“กันภัยมหิดล” เป็นชื่อที่ดีและความหมายดี
- “กันภัย” สื่อถึงการป้องกันภยันอันตรายให้แก่ชาวมหาวิทยาลัยมหิดล
- “มหิดล” ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีนามพ้องกับมหาวิทยาลัย
แม้ไม่ได้เป็นต้นไม้ยืนต้น แต่ก็มีข้อเด่น เช่น
- เป็นต้นไม้ที่พบครั้งแรกในโลกที่จังหวัดกาญจนบุรี และยังไม่พบในที่ใดอีก จึงเป็นสิ่งเดียวในโลกที่มีค่ายิ่ง
- เป็นต้นไม้ที่มีดอกตลอดปี และมีลักษณะดอกสวยงาม
- ลักษณะขอต้นเป็นไม้เถา มีข้อดีในการหาพื้นที่ปลูกได้ง่าย และดัดแปลงรูปทรงได้ตามต้องการตามภูมิประเทศ
- เป็นไม้เถาที่แพร่พันธ์ได้ง่ายและมีอายุยืน แม้ส่วนบนจะตายก็ยังสามารถงอกใหม่ได้อีก
ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหิดล จึงขอประทานพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อทรงวินิจัย ซึ่งทรงเห็นว่า “ต้นกันภัยมหิดล” เหมาะสมที่จะเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเหตุผลโดยสรุปว่า
“กันภัยมหิดล” เป็นชื่อที่ดีและความหมายดี
- “กันภัย” สื่อถึงการป้องกันภยันอันตรายให้แก่ชาวมหาวิทยาลัยมหิดล
- “มหิดล” ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีนามพ้องกับมหาวิทยาลัย
แม้ไม่ได้เป็นต้นไม้ยืนต้น แต่ก็มีข้อเด่น เช่น
- เป็นต้นไม้ที่พบครั้งแรกในโลกที่จังหวัดกาญจนบุรี และยังไม่พบในที่ใดอีก จึงเป็นสิ่งเดียวในโลกที่มีค่ายิ่ง
- เป็นต้นไม้ที่มีดอกตลอดปี และมีลักษณะดอกสวยงาม
- ลักษณะขอต้นเป็นไม้เถา มีข้อดีในการหาพื้นที่ปลูกได้ง่าย และดัดแปลงรูปทรงได้ตามต้องการตามภูมิประเทศ
- เป็นไม้เถาที่แพร่พันธ์ได้ง่ายและมีอายุยืน แม้ส่วนบนจะตายก็ยังสามารถงอกใหม่ได้อีก
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในโอกาสครบรอบ 30 ปี วันพระราชทานมหาวิทยาลัยมหิดล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาเสด็จมายังมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทรงแสดงปาฐกถา เรื่อง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในการนั้นทรงปลูกต้นกันภัยมหิดล ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ประทานไว้ ณ หน้าตึกสำนักงานอธิการบดี ด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์
ต้นกันภัยมหิดล ค้นพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2510 บริเวณภูเขาเตี้ย ๆ หลังสถานีรถไฟวังโพ ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดย นายเกษม จันทรประสงค์ ข้าราชการกองพืชพรรณ กรมวิชาการเกษตร
ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 นายเกษม จันทรประสงค์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์ เดินทางไปยังจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเก็บตัวอย่างที่สมบูรณ์มาทำการศึกษา โดยเก็บฝักแก่ และนำต้นกันภัยมหิดลกลับมาปลูกที่กรมวิชาการเกษตรด้วย ภายหลังการศึกษาพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับถั่วแปบช้าง (Afgekia Craib)
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 มีการเก็บตัวอย่างดอก จัดทำคำบรรยายเป็นภาษาละติน และวาดภาพส่งให้ Mr.Brian Laurence Burtt เพื่อพิสูจน์ชื่อที่สหราชอาณาจักร พร้อมกันนี้ได้มีการขอพระราชทานชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยเสนอชื่อ ศรีสังวาลย์ หรือ มหิดล ในครั้งนี้ ซึ่ง Mr. Burtt ได้แนะนำให้ใช้ชื่อ มหิดล เพราะสามารถเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า mahidolae
เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 มีการผลรายงานการค้นพบและตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพืชชนิดนี้ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอเรอ ชื่อ “Notes from the Botanic Garden Edinburgh Vol.31 No.1” โดยมีชื่อที่ตั้งตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ คือ “Afgekia mahidolae B. L. Burtt & Chermsir.” (คำว่า mahidolae ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ในภาษาละตินโดยเติมตัวอักษร -i- หลังตัวอักษร -l- เป็นดังนี้ “Afgekia mahidoliae” เหตุผลที่รูปคำระบุเพศเป็นชื่อบุคคลหญิง เนื่องจากการขอตั้งชื่อเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ต่อมา ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ ได้เสนอชื่อภาษาไทยแก่พืชชนิดนี้ว่า “กันภัย” หรือ “กันภัยมหิดล” โดยให้เหตุผลว่าวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนที่ขุนแผนย่างกุมารทองกล่าวไว้ว่า ได้ใช้เถากันภัยมัดกุมารทองไว้ ซึ่งเรื่องราวในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ดำเนินเรื่องราวในแถบจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ที่เป็นพื้นที่ค้นพบต้นกันภัยมหิดล
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
- ชื่อภาษาไทย กันภัยมหิดล
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Afgekai mahidoliae B.L. Burtt & Chermsir
- ชื่อวงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
- ชื่อวงศ์ย่อย Papilionoideae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้น เป็นไม้เลื้อย เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล เนื้อไม้ด้านในมีลักษณะแข็ง ส่วนกิ่งอ่อนสีเขียว และมีขนนุ่มปกคลุม
- ใบ เรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย รูปรีแกมขอบขนานขนาด 2.2-3.5 x 5-6.5 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 2.2-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-6.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ใต้ใบมีขนหนาแน่นกว่าด้านบนใบ
- ดอก ดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาว 12-25 เซนติเมตร ดอกทยอยบานจากโคนช่อมาปลายช่อ 4-6 ดอก กลีบประดับสีม่วงอมเขียว รูปเรียว กลีบเลี้ยงสีม่วงอ่อน โคนกลีบมีแถบสีเหลืองรูปสามเหลี่ยม กลีบคู่ข้างสีม่วงเข้ม กลีบคู่ล่างสีเหลืองอ่อน มีขนปกคลุมออกดอกเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน
- ผล เป็นผลแห้ง เรียกเป็นฝัก รูปทรงแบนแถบสั้นขนาด 2-4 x 7-9 เซนติเมตร สีน้ำตาล
มีขนปกคลุม เมื่อแก่และแห้งจะแตกเป็นสองซีก - เมล็ด รูปร่างเมล็ดค่อนข้างกลม มี 2 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร เปลือกแข็ง
สีดำเป็นมัน
การปลูก
- วิธีการขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
- สภาวะที่เหมาะสม บริเวณที่มีแสงแดดจัด ดินร่วน และควรตัดแต่งอยู่เสมอ
- ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถปลูกเป็นซุ้มหรือปล่อยให้เลื้อยตามแนวรั้ว
กันภัยมหิดล กับ ถั่วแปบช้าง
- ใต้ใบของถั่วแปบช้างมีขนสีเงิน นุ่ม แต่ของกันภัยมหิดลมีขนธรรมดา ไม่เป็นสีเงิน
- ฐานของกลีบดอกคู่ข้างของกันภัยมหิดล มีระยางค์เพียงข้างเดียว ส่วนถั่วแปบข้างมีสองข้าง
- ก้านเกสรตัวเมีย ส่วนที่อยู่ใต้ยอดเกสรตัวเมียของกันภัยมหิดล มีขน ส่วนถั่วแปบข้างจะเกลี้ยง
- จำนวนคู่ใบ กันภัยมหิดลมี 9-11 คู่ ตัวใบมีขนาดใบที่ใหญ่กว่าถั่วแปบช้าง ส่วนถั่วแปบช้างแม้จะมีจำนวนคู่ใบมากกว่า ที่ 15-17 ใบ แต่มีขนาดใบที่เล็ก
- สีดอกที่กลีบกลางและคู่ข้างของกันภัยมหิดลเป็นสีม่วงและม่วงเข้ม ส่วนถั่วแปบช้างเป็นสีชมพู
- ใบประดับกันภัยมหิดล สั้นมาก สีขาว ส่วนถั่วแปบข้างมีใบประดับยาวสีชมพู รวมถึงปลายใบของกันภัยจะมีเป็นติ่งแหลม ส่วนปลายใบของถั่วแปบช้างจะค่อนข้างมน
มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall)
มหิดลสิทธาคารออกแบบโดยใช้แนวคิดเรื่องของโครงสร้างเชิงกายภาพของมนุษย์มาใช้ในการออกแบบ สังเกตได้จากส่วนหลังคามีลักษณะคล้ายซี่โครง เพื่อสอดคล้องกับประวัติของมหาวิทยาลัยที่มีรากฐานจากการเป็นโรงเรียนแพทย์มาก่อน ทั้งยังผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยและรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ของดอกกันภัยมหิดลซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระราชทานชื่ออาคารจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “มหิดลสิทธาคาร” อันหมายถึง อาคารที่มีความสำเร็จแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันใช้เป็นหอแสดงดนตรี หอประชุม และเป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ประติมากรรม “จากพระเมตตา สู่ปัญญาของแผ่นดิน”
ประติมากรรม “จากพระเมตตา สู่ปัญญาของแผ่นดิน” ตั้งอยู่ ณ ลานดอกกันภัย อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MLC) ออกแบบโดย ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร ศิลปินนักนิเวศน์สุนทรีย์ โดยจำลองดอกกันภัยมหิดล ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยลักษณะของกลีบดอกที่เป็นช่อเรียงสลับกันจากกลีบคู่ล่างไปถึงกลีบยอดเบื้องบน คล้ายคลึงกับรูปทรงของพานพุ่มสักการะ หรือดอกไม้ตูมที่กำลังค่อย ๆ คลี่กลีบดอกผลิบานสะพรั่ง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความสง่างามที่มั่นคงและต่อเนื่องตามกาลเวลา อีกทั้งภายในของประติมากรรมได้บรรจุดวงใจมหิดลสีทอง อันหมายถึง การพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับหัวใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณาซึ่งจะได้รับการปกป้องคุ้มภัย ประติมากรรมนี้ผลิตขึ้นจากทองสัมฤทธิ์ ที่สื่อถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุว่าทองสัมฤทธิ์เป็นวัสดุที่ทรงคุณค่า และมีความคงทนถาวร สื่อความมั่นคงของปณิธานที่ตั้งมั่นในการเป็นปัญญาของแผ่นดิน ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม อันจะยั่งยืนจนกลายเป็นความทรงจำอันงดงามตลอดกาล
ภาพวาดดอกกันภัยหิดลฝีพระหัตถ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรนิทรรศการภายในหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทรงวาดภาพดอกกันภัยมหิดลด้วยสีน้ำ พระราชทานมหาวิทยาลัยมหิดลในโอกาสนั้นด้วย
เพลงกันภัยมหิดล
เนื้อร้อง, ทำนอง : นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก (PI รุ่น 3)
กันภัย มหิดล ทั่วสกลนามมงคลประดับฟ้า
เอกมณีหนึ่งเดียวในโลกา ม่วงอร่าม งามสง่า ตระการไกล
กันภัย มหิดล แหล่งสร้างคน ให้เป็นคน ให้เป็นไทย
เพื่อก้าว สู่ความฝัน อันยิ่งใหญ่ พร้อมรวมใจ เป็นหนึ่งใน มวลประชา
ปณิธาน ในพระราชบิดา ปลุกศรัทธา พี่น้องดังทรงฝันใฝ่
กระแสสามัคคี พร้อมยอมพลี เพื่อประชาไทย
ประกาศเกรียงไกรตลอดกาล
กันภัย มหิดล หลั่งเลือดข้น น้ำเงินเข้มสมัครสมาน
จะไหลนอง ป้องไทย พ้นภัยพาล คำสาบาน กังวานก้อง เพื่อผองไทย
กันภัย มหิดล จะแตกต้น และชูช่อ สว่างไสว
บนดินแดน มนุษยธรรม และน้ำใจ คงบานอยู่ ในใจ เต็มภาคภูมิ
ดินแดน มนุษยธรรม และน้ำใจ แห่งมหาวิทยาลัย เพื่อปวงชน
เพลง ณ ศาลายา
เนื้อร้อง, ทำนอง : ศุ บุญเลี้ยง
กีตาร์ : ประภาคาร ศรีช่วย
คำร้อง : ศุ บุญเลี้ยง, เจนจิฬา โชติประทุม, ตรลา คารวะวัฒนา
และเพชรดา วุฒิพาณิชย์กุล
ประสานเสียง : พัลลภ สินธุ์เจริญ
ฝากใจเอาไว้ตรงนี้ ช่วยกันดูแลให้ดี
ต่อเติมความฝันที่มี กี่ปี ไม่ลืม ไม่เลือน
เก็บความ ผูกพัน เอาไว้ ชีวิตงอกงามเสมอ
ความรักหล่อเลี้ยงฉันเธอ ไม่เจอก็ยังห่วงใย
*ถิ่นเคยเรียนเคยพากเพียร เคยเหนื่อย เคยล้า
คำบิดา ทรงสอนรู้ค่า ปลูกภูมิปัญญา แผ่นดิน
ดอกกันภัย มหิดล จึงสื่อความหมาย
แทนความงาม เรียบง่าย ดอกใบ เป็นซุ้ม พุ่มงาม
**ศาลายา เป็นยิ่งกว่าที่พักใจ เป็นเหมือนบ้านคนห่างไกล
เป็นศูนย์รวมใจ ลูกมหิดล
บ้านกันภัยมหิดล
หอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการตั้งชื่อหอพักเป็นชื่อดอกไม้ต่าง ๆ ซึ่ง หอ 8-9 มีการตั้งชื่อว่า บ้านกันภัยมหิดล ด้วย
อาคารกันภัยมหิดล
อาคารบรรยายรวม 1 (L1) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้มีการตั้งชื่ออาคารว่า “กันภัยมหิดล” และมีห้องบรรยายที่ตกแต่งด้วยลวดลายดอกกันภัยมหิดลด้วย
อ้างอิงรูปภาพ
NParks Flora & Fauna Web https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/
https://stang.sc.mahidol.ac.th/stangmuseum/biography.php
https://sanjeetbiotech.blogspot.com/2016/01/naringi-crenulata-roxb-nicolson-charm.html