สาระความรู้

knowledge

ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า

1

กำนันยุพา เขียวคำรพ

“อยากให้มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้หลากหลาย อยากให้ลงไปในชุมชมมากอย่างเช่นไปดูในแต่ละชุมชนเค้าต้องการอะไร ไม่ใช่ต้องการเรื่องเงินทองนะคะ ดูว่าความรู้เค้าขาดอะไร”

1

นางสาวกันยา โพธิปิติ

“ถ้าให้นึกถึงความทรงจำที่เกี่ยวกับศาลายา ก็จะนึกถึงตึกแมลงปอ ช่วงนั้นรุ่นแรกๆ จะเรียนที่ตึกแมลงปอเขาก็จะพูดติดปากว่าจะไปตึกแมลงปอ เหมือนเป็นเอกลักษณ์ว่าตึกแมลงปอมันเกิดคู่กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมเลยนะ”

1

นางสาวฉัตรศรี จำปาขาว

“เราอาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอะไรมากมาย แต่รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่หนึ่งที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา หรือคนศาลายาให้ได้อยู่อย่างเป็นสุข”

1

นางสาวศรีวิไล สังฆสุบรรณ์

“ยุคประมาณ พ.ศ. 2534 อาจารย์คณะวิทย์ มีแนวโน้มที่จะไม่มาสอนที่ศาลายาเพราะอยู่ไกล มันไม่ใช่ยุคแรกนะคะ ตอนนั้นยังจำได้ต้องจัดเชิญครูแนะแนวมาทั่วประเทศ เชิญมาสัมมนาเรื่องหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศาลายา เพื่อที่จะให้เด็กมาเรียนที่มหิดล เด็กนักศึกษาไปพูดกันเรื่องผี น้ำไม่ไหล ไฟดับ โทรศัพท์เสีย เหมือนกับรุ่นพี่ พอกลับไปโรงเรียนเก่าแล้วก็ไปเล่าต่อ”

1

นายนววิทย์ พงศ์อนันต์

“มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง แต่ผมก็ชอบนะ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันดูดี บางอย่างทำมาแล้วได้ใช้ประโยชน์ ที่ผมชอบมาก เช่น รถราง ผมใช้บริการเป็นประจำ”

1

นายมนัส ทองธาตุ

“ผมมีความสุขนะ มีความสุขที่ได้ช่วยงานตรงนี้งานพระราชบิดาท่าน ที่ลูกได้เล่าเรียนก็เพราะพระราชบิดาประทานที่ให้คืออยู่ตรงนี้อยู่ด้วยความเต็มใจในการช่วยมหาวิทยาลัยก่อตั้ง อยากจะอยู่ช่วยตรงนี้เต็มที่”

1

นายอนุชา โมกขะเวส

“ผมมีความสุขนะ มีความสุขที่ได้ช่วยงานตรงนี้งานพระราชบิดาท่าน ที่ลูกได้เล่าเรียนก็เพราะพระราชบิดาประทานที่ให้คืออยู่ตรงนี้อยู่ด้วยความเต็มใจในการช่วยมหาวิทยาลัยก่อตั้ง อยากจะอยู่ช่วยตรงนี้เต็มที่”

1

นายเจน ชัยเดช

“ถ้าไม่มีวิทยาลัยราชสุดา ไม่มีมหาวิทยาลัยมหิดล ตัวผมเองก็ไม่มีวันนี้”

1

นายแพทย์ วรมันต์ ไวดาบ

“เนื่องจากว่าเราเป็นรุ่นแรก เราไม่มีรุ่นพี่ รุ่นน้องเลย แต่เราได้ร่วมกิจกรรมกับเขา ก็รู้สึกว่ามีความอบอุ่นมากเพราะว่าเขาไม่ได้แบ่งแยกอะไรเลย เหมือนเราก็เป็นเนื้อเดียวกับเด็กของมหาวิทยาลัยไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นสถาบันสมทบเลยแม้แต่น้อย”

1

นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม

“ถ้านึกภาพศาลายาเมื่อสมัยอดีต ก็จะนึกถึงตำนานศาลา ศาลาที่มียา จะมีคลองตัดผ่านที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้ขุด มีการสร้างศาลาสำหรับที่พัก ถ้าเป็นจจุบัน ถ้าพูดถึงศาลายา ก็จะนึกถึง มหาวิทยาลัยมหิดล

และที่นึกถึงอีกอันหนึ่งก็คือ พุทธมณฑล ก็มีอยู่สองแห่ง”

1

นายแพทย์ศุภชัย ไพบูลย์ผล

“แต่บรรยากาศของอาจารย์เป็นอีกแบบหนึ่ง ทำไมอาจารย์ถึงต้องรีบกลับ เพราะว่ารถติดที่กรุงเทพฯ คือบรรยากาศตรงนี้ที่ศาลายาเป็นแบบชนบท เป็นบรรยากาศที่ผมประทับใจนะ”

1

น้าพนำ จันทร์อุ่น

“บางทีตีหนึ่งตีสองยามไปตามก็ต้องมา ทำงานหนัก แต่มันสนุกบางคนเขาบอกว่าทำไปทำไม ใครจะไปเห็นอาจารย์เขากลับบ้านกันไปหมดอาจารย์ไม่เห็นแต่สมเด็จพระราชบิดาเห็น ใจมุ่งมั่น คนไม่เห็น ผีเห็น คือเราไม่ได้ทำเอาหน้า”

1

ป้าพูล เลิศลบ

“สมัยก่อนศาลายามีแต่นา มันเตี้ยโล่ง มีบ้านก็อยู่ห่างกัน ถึงบ้านจะอยู่ห่างกัน แต่ก็ไม่มี

การจี้ปล้นกัน แต่ลักเล็กขโมยน้อยมีบ้าง ไม่มีคนรวย มีแต่พอกิน”

1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดน จาติกวนิช

“ผมจะไม่สนุกถ้าไม่ได้กล่าวถึงการปลูกต้นไม้ที่ศาลายา ผมไม่มีเจตนาที่จะวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ดีหรือไม่อย่างไร แต่อยากเล่าระสบการณ์เกี่ยวกับต้นไม้ที่ผมได้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เมื่อเริ่มต้นโครงการศูนย์สัตว์ทดลองขึ้นที่ศาลายา เป็นต้นมา” “ผมขอบใจที่ให้โอกาสมาเล่าความหลังระลึกถึงอดีตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ยาวนานในชีวิตการทำงานก่อนเกษียณอายุของผม อย่างน้อยที่สุดก็ได้เล่าให้ชาวมหิดลได้ทราบว่าศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติได้เติบโตขึ้นมาอย่างไรในมหาวิทยาลัยมหิดล”

1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เพียรกิจกรรม

“การจัดการเรียนการสอนและการสอบ ตอนนั้นผมก็รู้สึกอึดอัดอยู่บ้าง พอผ่านไปแล้วเรื่องเล็กมากคิดย้อนไปแล้วก็ต้องขอบคุณพวกอาจารย์เค้าที่ยอมมา ผมโดนดุบ้างเหมือนกัน เพราะบางท่านเคยสอนผมมาก่อนพอผมไม่ได้โต้ตอบต่อการดุว่าได้แต่ขอร้องอาจารย์ท่านๆก็เมตตา จริงๆพออยู่สักพักหนึ่งก็สบายขึ้น”

1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรณู ทวิชชาติวิทยากุล

“พอเริ่มหัวค่ำยุงเยอะมากๆจนยืนนิ่งไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นยุงดำๆ ตัวโตมาก ตัวเท่าช้าง(เวอร์นิดๆ)กัดแบบสุดฤทธิ์เลย แล้วเวลาที่จัดงานช่วงกลางคืน ต้องจุดยากันยุงเยอะเลย”

1

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ มันตรี จุลสมัย

“ศาลายาปี พ.ศ. 2525 พื้นที่เป็นท้องนาซะส่วนใหญ่ เรามาก็สร้างตึกอำนวยการที่ตอนนี้เป็นนาคารไทยพาณิชย์ คลีนิกแพทย์ก็อยู่ตรงนั้นชั้นล่าง ห้องไม่ใหญ่พอทำงานได้มีเจ้าหน้าที่คนนึง พยาบาลคนนึง แล้วก็หมอคนนึง”

1

ลุงปุณยเสริฐ ยงใจยุธ

“เมื่อก่อนในหลวงท่านก็ชอบขึ้นรถไฟนะ พอวันไหนในหลวงจะเสด็จ ก็จะมาคอยดัก ท่านก็โบกมือให้”

1

ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล

“เราไม่เสียดายอดีต แต่กลับชื่นชมศาลายาปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ศาลายาเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่สวยงามมาก มหิดลศาลายาเขียวขจีทั่วเขตคามงามพิไล”

1

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สิรินทร์ พิบูลนิยม

“ในช่วงแรกๆอาจารย์ก็จะคิดถึงเรื่องเอาน้ำเข้า ไฟเข้า การเดินทาง คิดถึงเรื่องพื้นฐานก่อนแล้วก็ปลูกต้นไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตัดคำว่า Sahara ทิ้งไปให้ได้”

“สิ่งที่อาจารย์ยึดถือในการทำงานจากอาจารย์ณัฐ คือทำงานให้ดีที่สุด“ถือประโยชน์ราชการเป็นหลัก ประหยัด ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” แค่นี้พอแล้ว 4 อย่าง”

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.