admin
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรมมีวิสัยทัศน์ในการเป็นวิสาหกิจนวัตกรรมทางสังคม พันธกิจหลักคือ เรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นำเสนอพิพัฒนาการทางวิชาการของสถาบันฯ ในการศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจชีวิตจิตใจอย่างถ่องแท้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ฝึกปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถานของบุคลากรทางพิพิธภัณฑ์
นิทรรศการถาวร สนทนาอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมผ่านหมู่บ้านชาติพันธุ์จำลองเพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตประจำวันทั้งในทางที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ชมสามารถเรียนรู้อดีตปัจจุบันและตั้งคำถามถึงความท้าทายในอนาคตเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบพหุมิติผ่านระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัลเพื่อสร้างความหมายใหม่ของประสบการณ์อย่างรวดเร็วรอบด้าน
นิทรรศการถาวร สนทนาอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ผ่านหมู่บ้านชาติพันธุ์จำลองเพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตประจำวันทั้งในทางที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ของกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ชมสามารถเรียนรู้ อดีต ปัจจุบัน และตั้งคำถามถึงความท้าทายในอนาคต เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบพหุมิติ ผ่านระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัล เพื่อสร้างความหมายใหม่ของประสบการณ์อย่างรวดเร็ว รอบด้าน
ขณะนี้ พิพิธภัณฑ์กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงนิทรรศการถาวร และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เชิงปริวรรต
วิวิธชาติพันธุ์
นิทรรศการพิเศษเคลื่อนที่แบบคาราวานของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม พันธกิจสำคัญคือการส่งเสริมบูรณภาพแห่งความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้วยการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเปี่ยมคุณธรรม
นิทรรศการนี้ นับเป็นนวัตกรรมของอุปกรณ์การเรียนรู้แบบร่วมสมัย มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ห้องสมุดเฉพาะทางเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย แบบออนไลน์และออฟไลน์ กิจกรรมการศึกษาที่สามารถออกแบบให้เข้ากับบริบทที่แตกต่าง และร้านค้าพิพิธภัณฑ์ และร้านกาแฟ จัดจำหน่ายของที่ระลึกจากกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และระดมทุนให้แก่พิพิธภัณฑ์
วิวิธชาติพันธุ์ เคลื่อนที่ออกไปเพื่อให้บริการการเรียนรู้เชิงปริวรรตด้วยการคิดเชิงออกแบบ แก่ โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ และชุมชน มุ่งสร้าง “บทสนทนา” และ “ปฏิบัติการ” เพื่อหาทางออกแก่ปัญหาต่างๆ ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์
ที่ตั้ง: | ชั้น 1 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
(การเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะที่ต้องการผู้นำชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า) | |
โทรศัพท์: | 0 2800 2308 ถึง 14 ต่อ 3405, 3447 |
Email: | iculture408@gmail.com, rilca.mu@gmail.com |
เว็บไซต์: | http://www.lc.mahidol.ac.th/th/AboutUs/AnthropologyMuseum.htm |
Facebook: | rilcamuse |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
พิพิธสาระประชากรและสังคม
เป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่มีสาระเกี่ยวกับประชากรและสังคมในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมทางสังคมของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
ที่ตั้ง: | ชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ | |
กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า | |
โทรศัพท์: | 0 2441 0201 ถึง 4 ต่อ 202 |
Email: | prwww@mahidol.ac.th, ipsrmahidol.pr@gmail.com |
Website: | www.ipsr.mahidol.ac.th |
Facebook: | IPSRMAHIDOLUNIVERSITY |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
ห้องนิทรรศการประวัติและผลงาน ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
พิพิธภัณฑ์ทางสัตวแพทย์
จัดแสดง สัตว์สตาฟ โครงกระดูกสัตว์ ตัวอย่างเชื้อโรค ความรู้ทางด้านสัตวแพทย์ อาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ อวัยวะของสัตว์ และอุปกรณ์ทางสัตวแพทย์
ที่ตั้ง: | ชั้น 1 อาคารเรียน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | เปิดให้ชมปีละ สองครั้ง คือ วัน open house (ประมาณกลางปี) และ วันมหิดลคนรักสัตว์ หากมาเป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นกลุ่ม สามารถทำการนัดหมายเพื่อขอเข้าชมเพื่อเป็นกรณีพิเศษได้ |
โทรศัพท์: | 0 2441 5242 ถึง 4 ต่อ 1527 |
Email: | tuempong.wan@mahidol.edu |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
ด้วยสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวิชาชีพการพยาบาลไทย และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรพระราชทานเงินจาก “บัญชีสมเด็จพระศรีฯ โดยสำนักพระราชวัง” เพื่อการก่อสร้างอาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คณะพยาบาลศาสตร์จึงจัดตั้ง “หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี” และ “หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ” เพื่อนำเสนอพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาล การแพทย์ และการสาธารณสุข ของทั้ง 3 พระองค์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และถ่ายทอดแนวพระราชดำริและพระราชจริยวัตรอันงดงามอันเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตแก่นักศึกษาพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ และผู้ชมทุกท่าน
นอกจากนี้ ยังมี ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “นราธิวาสกัลยาณวัฒน์” จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระกรุณาธิคุณของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนำ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงมีต่อคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิชาชีพการพยาบาล และการสาธารณสุขไทย รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลังถึงพระกรณียกิจที่ทรงเสียสละเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของปวงชนชาวไทย
ที่ตั้ง: | ชั้น 1 อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
(กรุณาสำรองการเข้าชมหอพระราชประวัติฯ ล่วงหน้า ในวันและเวลาราชการ) | |
โทรศัพท์: | 0 2419 7466 ถึง 80 ต่อ 1401, 1402 |
เว็บไซต์: | http://www.ns.mahidol.ac.th/royalarchives |
Facebook: | RoyalArchivesofQueenSrisavarindira |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
“อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” เป็นศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บนพื้นที่ 140 ไร่ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและหลากหลายนำเสนอพร้อมสื่อเฉพาะสำหรับผู้พิการ การจัดแสดงสมุนไพรไทยเพื่อการเรียนรู้ อนุรักษ์สมุนไพรไว้กว่า 800 ชนิด รวมถึง “ลานสมุนไพรเพื่อผู้พิการ” แห่งแรกในประเทศไทย ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร “สมุนไพรภูมิปัญญาไทยสู่สากล” นำเสนอความสำคัญของสมุนไพร ตั้งแต่แหล่งกำเนิด การปรุงยา วิธีการศึกษาวิจัย จนถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ การประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพ ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ที่หลากหลายสำหรับประชาชน นักเรียน และผู้พิการ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ คลินิกตรวจแนะนำการดูแลสุขภาพโดยแพทย์แผนไทย ศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพรไทย ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร รวบรวมตัวอย่างพืชแห้ง และเมล็ดพันธุ์ ขยายพันธุ์สมุนไพรด้วยวิธีเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อปกปักษ์และเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร
“อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” จึงเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับบุคคลทุกวัยทุกอาชีพ การศึกษาอบรมจะสอดคล้องกับผู้เรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา และครู อาจารย์ ที่จะประยุกต์พืชสมุนไพรกับทุกสาระการเรียนรู้ นักวิจัยมีแหล่งวัตถุดิบที่จะวิจัยต่อยอดให้ประเทศได้ รวมทั้งเกษตรกรที่เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบ และสำหรับภาคอุตสาหกรรมเป็นแหล่งอ้างอิง เพื่อยืนยันสายพันธุ์สมุนไพรที่ถูกต้อง
ที่ตั้ง: | อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | พุธ-อาทิตย์ เวลา 06.00 – 18.00 น. |
(เฉพาะห้องนิทรรศการ เวลา 09.00 – 16.00 น.) | |
โทรศัพท์: | 02 4415272 ถึง 4 |
E-mail: | sireepark@mahidol.ac.th |
เว็บไซต์: | www.sireepark.mahidol.ac.th |
Facebook: | sireepark |
อัตราค่าเข้าชม:
ประเภทบุคคล | อัตราค่าเข้าชม (บาท/คน) | อัตราค่าวิทยากรนำชมกลุ่มละ 15-30 คน/รอบ (บาท/คน) | กิจกรรมสาธิตกลุ่มละ 15-30 คน ต่อ 1 กิจกรรม (บาท/คน) |
เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี | ไม่คิดค่าธรรมเนียม | 30 | 60 |
บุคคลทั่วไป | 100 | 30 | 60 |
นักเรียน/นักศึกษา | 50 | 30 | 60 |
นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล | ไม่คิดค่าธรรมเนียม | 30 | 60 |
ชาวต่างชาติ | 250 | – | – |
ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ภารกิจการดำเนินงาน
- จัดเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับมอบ
- จัดเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุส่วนบุคคลของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับมอบ
- นำชมหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกและหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
- ดูแลรักษาหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกและหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
- จัดทำฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุและวัตถุทางพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับมอบ
- ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจดหมายเหตุที่ได้รับมอบและกิจกรรมฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ทางเว็บไซต์ และสื่อเอกสารรูปแบบต่างๆ
- จัดทำนิทรรศการถาวร นิทรรศการหมุนเวียน เรื่องเกี่ยวกับประวัติ เกียรติภูมิและวันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้ประวัติ เกียรติภูมิและวันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
- จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง: | ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
โทรศัพท์: | 0 2800 2680 ถึง 9 ต่อ 4346 |
เว็บไซต์: | https://museum.li.mahidol.ac.th |
http://www.li.mahidol.ac.th/archivemuseumdivision | |
http://www.museumthailand.com/th/museum/muarms | |
Facebook: | MUARMS |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
จัดแสดงประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งผลงานของชาวมหิดลที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม บริเวณชั้น 2 นำเสนอนิทรรศการ “Wisdom of the Land” เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าเรื่องราวการเดินทางของมหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยเฉพาะทางสู่มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ภายใต้แนวคิด “Power of Wisdom” พลังแห่งปัญญา เปรียบปัญญาที่แผ่ไพศาล ดั่งหยาดน้ำที่ตกกระทบและกระจายวงกว้างต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดชั้น 3 จัดแสดงประวัติพัฒนาการของมหาวิทยาลัย เล่าเรื่องผ่านยุคสมัยต่าง ๆ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 โซน ได้แก่
- “มหิดลวันนี้”
แสดงภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศทั้งการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรทุกส่วนงาน - เมื่อแรกสถาปนาในชื่อ “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์”
แสดงประวัติความเป็นมาและพัฒนาการในยุคแรกของมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ การขยายขอบเขตการเรียนการสอน ชีวิตนักศึกษาและการเรียนการสอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งจุดตั้งต้นของมหาวิทยาลัยที่สืบเนื่องมาจากการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช - “มหิดล” มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
แสดงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่การพระราชทานนาม “มหิดล” เป็นชื่อมหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2512 การจัดหาที่ดินและสร้างเขตพื้นที่ศาลายา และบทบาททางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 และ 6 ต.ค. 2519 รวมถึงการพัฒนาด้านวิชาการ เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” พร้อมทั้งแสดงชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยในยุคปัจจุบัน และวิสัยทัศน์ในอนาคตของมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง: | ชั้น 2 และชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
โทรศัพท์: | 0 2849 4541 ถึง 2 |
โทรสาร: | 0 2849 4545 |
เว็บไซต์: | https://museum.li.mahidol.ac.th |
https://www.li.mahidol.ac.th/museumsandexhibitions | |
https://www.museumthailand.com/th/museum/muarms | |
Facebook: | MUARMS |
Instagram: | mahidol_museum |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |
หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก
จัดแสดงพระราชประวัติและสิ่งของสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างและศูนย์รวมจิตใจของชาวมหิดลและปวงชนชาวไทย แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 7 โซน ดังนี้
- ปัญญาของแผ่นดิน
ส่วนเปิดของนิทรรศการ แสดงให้เห็นถึงการเป็นต้นแบบปัญญาของแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชชนก โดยสะท้อนจากพระราชดำรัสของพระองค์รวมทั้งพระราชกรณียกิจที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและมนุษยชาติ - เจ้าฟ้าของแผ่นดิน
แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชชนกโดยสังเขป ตั้งแต่ประสูติจนถึง สิ้นพระชนม์ รวมทั้งแสดงบริบททางสังคม ไทยและสังคมโลกในช่วง พ.ศ. 2435-2472 ทั้งการรับความเจริญจากตะวันตกยุคล่าอาณานิคมและแนวคิดมนุษยนิยม ซึ่งส่งผล ต่อ “ตัวตน” ของพระองค์ - เจ้าฟ้านักเดินทาง
แสดงการเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศของสมเด็จพระบรมราชชนก ทำให้ทอดพระเนตรเห็นสภาพบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของผู้คน และทรงถ่ายทอดประสบการณ์ของพระองค์ผ่านงานศิลปะ รวมทั้งพระราโชวาทที่พระราชทานแก่นักเรียนไทย - ประทีปแห่งปัญญา
แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนกด้านการศึกษาที่ทรงมุ่งมั่นในการสร้างคน ทรงสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและพระราชทานทุนการศึกษา - รักษ์คนไข้ด้วยความรัก
แสดงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของสมเด็จพระบรมราชชนกในการศึกษา และการทรงงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งการรักษาคนไข้แบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา มุ่งเน้นการรักษาด้านจิตใจควบคู่ไปกับร่างกาย อีกทั้งการที่มิได้ถือพระองค์ว่าเป็นเจ้า และมิได้ทรงรังเกียจคนไข้ ทำให้ทรงเป็นที่รักของประชาชน ซึ่งเรียกพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า” - กันภัยมหิดลแสดง
แสดงผลจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนกที่ทรงสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทยในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา และวิทยาการต่าง ๆ - หยั่งรากในแผ่นดิน
แสดงการสืบสานพระราชปณิธานในด้านต่าง ๆ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงริเริ่มไว้
ที่ตั้ง: | ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล |
เวลาทำการ: | จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. |
โทรศัพท์: | 0 2849 4541 ถึง 2 |
โทรสาร: | 0 2849 4545 |
เว็บไซต์: | https://museum.li.mahidol.ac.th |
http://www.li.mahidol.ac.th/museumsandexhibitions | |
http://www.museumthailand.com/th/museum/muarms | |
Facebook: | MUARMS |
Instagram: | mahidol_museum |
อัตราค่าเข้าชม: | ไม่มีค่าเข้าชม |