นโยบายเพื่อมวลชน

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ได้มีการออกหลักการในการปกครองและพัฒนาประเทศเป็นหลัก 6 ประการ คือ

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

รัฐบาลในช่วงต้น ได้ใช้นโนบายดังกล่าวในการพัฒนาประเทศสืบมา เมื่อพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งมีข้อหนึ่ง ได้กล่าวแถลงว่า “จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น จะจัดเพิ่มแผนกวิชาขึ้นตามความจำเป็น” และต่อมาได้มีการเพิ่มเติมนโยบายในการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยขึ้นในส่วนภูมิภาคด้วย รวมถึงการให้ความสำคัญของการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเชิญให้เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2483 นั้น ได้มีการจัดตั้งแผนกทันตแพทย์ เพื่อรักษาฟันและทันตอนามัยให้ทันสมัยเพื่อเป็นการสร้างรากฐานสำคัญของความเจริญและความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลในสมัยนั้นได้ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนมีสุขภาพ


ข้อมูลอ้างอิง