ต้นไม้ทรงปลูก

จดหมายเหตุ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดฃ

[brizy_breadcrumbs ]

ต้นไม้ทรงปลูก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-ed141c2e0b0f94a6364ae4df8c6467d2' }}

“ศรีตรัง” ต้นไม้มงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้เคยเสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกในวันที่ 6 สิงหาคม 2554 เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่โรงพยาบาลศิริราชซึ่งยังคงอยู่บริเวณพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ตราบกระทั่งปัจจุบันวาลคงจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยได้

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-f07259465c693cb1adc69bc9b8b3dc08' }}

พฤกษศาสตร์ “ต้นศรีตรัง”

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda obtusifolia H.B.K. subsp. rhombifolia (G.F.W. Meijer) Gentry.

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ชื่อสามัญ : Jacaranda

ชื่ออื่น : แคฝอย (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-10 ม. ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมขาว แตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาวคล้ายกระดาษ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม – มีนาคม เป็นผลประมาณเดือน เมษายน – พฤษภาคม

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 12-21 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนาน แกมรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาดเล็ก กว้าง 0.5 – 0.7 ซม. ยาว 1 – 1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบข้างละ 4 – 5 เส้น ก้านใบหลักยาว 7 – 11 ซม. ก้านใบประกอบยาว 4 – 8 มม. ไม่มีก้านใบย่อย

ดอก : สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5 – 9 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5 – 2.5 ซม.

ผล : เป็นผลแห้ง แตกเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน กว้าง 1 – 1.5 ซม. ยาว 2 – 2.5 ซม. เมล็ดมีปีกจำนวนมาก ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นศรีตรังมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ 

1. ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ปลายยอด มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Jacaranda minosifolia D.Don 

2. ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ซอกใบตามกิ่งและปลายยอดมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Jacaranda filicifolia D.Don ชนิดที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ชนิดที่ 2 (Jacaranda filicifolia D.Don)

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตนำเข้ามาปลูกที่จังหวัดตรังเป็นที่แรกเมื่อประมาณ 100 ปีก่อนจึงได้ชื่อว่าศรีตรัง

เพลง ศรีตรัง

ศรีตรัง ฝังใจ ผูกพันหทัยให้ถือในสัญญา

น้ำเงิน โสภา ที่เป็นขวัญตาในอาณาจักรเรา

*ศรีตรัง แสนงาม เชิดชูเขตคามอยู่ทุกยามเย็นเช้า

ศรีตรัง แดนเรา ยิ่งมองปองเร้าใจของเราผูกพัน

ปลุกเรานี้ สามัคคีร่วมกัน

ปลอบเรานั้น ขวัญชีวันมันคง

ศรีตรัง สัญญา เชิดชูศรัทธาที่พร้อมพาประสงค์

มิคลาย จำนงค์ ที่เราประสงค์เราทนงภาคภูมิ (ซ้ำที่ *)

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-fde984c91077348b0ddaa15864213887' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-af798205cd0e50582462108a6158e067' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-990d16936d7248f5eb3348833a05f749' }}

เพลง ศักดิ์ศรีตรัง

สู่ดินแดนศรีตรังงามสง่า กว้างไกล สู่ดวงใจในรักสามัคคีที่มีมอบให้

ร่วมเดินทางทุกคนมั่นใจศักดิ์ศรีตรัง

มาร่วมกันสร้างสรรค์ให้สังคมงามด้วยความมั่นใจของเธอ

*มาต่อสู้ด้วยความทุกข์ทน แม้จะสำบาก จะฝ่าฟันไปตลอดทาง

เราทุกคนล้วนภูมิใจในศักดิ์ศรีตรัง

มาร่วมกันสร้างสรรค์ให้สังคมงามด้วยความมั่นใจของเธอ (ซ้ำที่ *)

ศรีตรังฝังจิตตรึงใจมิคลาย

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-fde984c91077348b0ddaa15864213887' }}

เพลง สู่อ้อมอกศรีตรัง

สู่อ้อมอกรั้วมหิดล นี่คือมหาวิทยาลัยสูงค่า

เราภาพภูมิใจที่เราได้มาร่วมสถาบัน

หยิ่งในศักดิ์ศรี ศรีตรังเทิดทูนความดี

ศรีตรังจดจำภาพศรีตรังนี้นิรันดร์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-fde984c91077348b0ddaa15864213887' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-3a1c4c4912395775a7d984c8825a4f57' }}

อ้างอิง

มหาวิทยาลัยมหิดล. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล. (ตั้งแต่เล่มปีการศึกษา ๒๕๑๙-๒๕๕๕).

50 ปีในหลวงกับศิริราช. บรรณาธิการ: อนันต์พัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์ และสุรางค์ วิเศษมณี. กรุงเทพฯ :คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๙?.

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.