พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
โซนที่ 5: ความสัมพันธ์ของวิทยาเขตต่างๆ กับสภาพแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ
แสดงการพัฒนาของชุมชนรอบวิทยาเขตต่างๆ
เมื่อวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ก่อตั้งขึ้นในแต่ละพื้นที่แล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือส่งผลด้านกายภาพต่อพื้นที่บริเวณโดยรอบอย่างไร ทั้งระดับมหภาคและระดับจุลภาค
วิทยาเขตบางกอกน้อย
การตั้งโรงพยาบาลศิริราชทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางการแพทย์แบบสหวิชาชีพที่ครบถ้วน และการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ รวมถึงทำให้ชุมชนมีรายได้จากการค้าขาย โดยเฉพาะชุมชนย่านวังหลัง นอกจากนี้แม้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมแต่ยังคงคำนึงถึงการสร้างประโยชน์แก่ประชาชนเช่น การจัดทำสวนเฉลิมพระเกียรติ ทางเดินริมน้ำ ท่าเรือ เป็นต้น ตลอดจนคำนึงถึงการบำบัดน้ำเสียตามค่ามาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และมีบริการทดสอบค่าน้ำเสียให้กับชุมชนบริเวณใกล้เคียงเพื่อการดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชน
วิทยาเขตพญาไท
พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการสาธารณสุขในเขตพญาไท และเนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองจึงมีการคำนึงถึงการลดมลภาวะ เช่น มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้ง สร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สีเขียวของชุมชน เช่น สวนป่าและสวนนกเงือกในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
พื้นที่นี้ได้พัฒนากลายมาเป็นชุมชนทางการศึกษาขนาดใหญ่ คับคั่งไปด้วยที่อยู่อาศัย หอพัก สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั่วพื้นที่ศาลายาทั้งด้านหน้าและด้านข้างมหาวิทยาลัย ช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนมากขึ้นการคมนาคมสะดวกมากขึ้น ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคเข้าถึงพื้นที่มากขึ้น พื้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็นชุมชนที่เจริญเหมือนชุมชนในตัวเมือง นอกจากนี้ผังแม่บทยังคำนึงถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่สีเขียวรักษาสภาพแวดล้อม และดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
มหาวิทยาลัยมหิดลส่วนภูมิภาค
การตั้งมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งวิทยาเขตกาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ ทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยกระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในส่วนภูมิภาครวมถึงปรับปรุงด้านสาธารณูปโภค เช่น วิทยาเขตกาญจนบุรีได้สูบน้ำประปาจากแม่น้ำแควน้อยเพื่อใช้ในมหาวิทยาลัยและจ่ายให้กับชุมชน หรือวิทยาเขตนครสวรรค์วางแผนจะสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อช่วยระบบชลประทานในชุมชน เป็นต้น
งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร 0-2849-4541-4
โทรสาร 0-2849-4545
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.