วันพืชมงคล 2566 นี้ ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม ถือเป็นพระราชพิธีสำคัญเพื่อต้อนรับการเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ เป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกร โดยวันพืชมงคลถือเป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์


ประวัติวันพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ความสำคัญวันพืชมงคล พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทั้ง 2 พิธีนี้มีความสำคัญแยกกันดังนี้


1. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพรรณธัญญาหารที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของทั้งข้าวและพืชจำพวกงา มีพระสงฆ์มากระทำพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์พืชให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง


2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชประเพณีที่องค์พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้นำพิธี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกรที่หวั่นภยันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเพาะปลูก ให้มีศรัทธาและมั่นใจ ด้วยการบวงสรวงเทวดา ด้วยพิธีเสี่ยงทายทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำ สภาพดินฟ้าอากาศเกษตรกรส่วนหนึ่งถือเอาวันพืชมงคล คือ วันเริ่มต้นฤกษ์หว่านไถพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีมาแต่อดีต แต่เว้นไปในช่วงปี พ.ศ. 2479-2503 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมา

วันพืชมงคล เป็นงานใหญ่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นแม่งาน และจะคัดเลือกผู้ร่วมพิธีหว่านไถตามความเหมาะสม ดังนี้


1. พระยาแรกนามีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทาย และดำเนินการกระทำพิธีหว่านไถ


2. เทพีคู่หาบทอง และเทพีคู่หาบเงินคัดเลือกจากข้าราชการหญิงในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป ที่มีสถานะโสด


3. พระโคแรกนากรมปศุสัตว์เป็นผู้คัดเลือกพระโคที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์พระโคแรกนาขวัญ มีกิริยามารยาทเรียบร้อย สอนง่าย มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง จำนวน 2 คู่


4. คันไถคันไถไม้สมอ ประกอบด้วยชุดคันไถ แอกเทียมพระโค ฐานรอง และธงสามชาย ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สร้างถวายให้เป็นคันไถประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


5. พันธุ์ข้าวพระราชทานเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการปลูกในโครงการนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 5 สายพันธุ์

สัตยาธิษฐาน การเสี่ยงทาย ทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำฝน และการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ จากผ้านุ่งของพระยาแรกนา และอาหารของพระโค ดังนี้


ผ้านุ่งของพระยาแรกนา พระยาแรกนาต้องตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งจากพานโตก โดยเป็นผ้าลาย 3 ผืน มีความหมายตามขนาดของผ้า


ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำมาก นาในที่ดอนได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่

ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำพอดี ข้าวกล้าในนาได้ผลสมบูรณ์ ผลาหาร มังสาหารอุดมสมบูรณ์

ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ดอนเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่


อาหารพระโค พระโคจะเลือกอาหาร 7 อย่าง มีคำทำนาย ดังนี้


ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดีถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดีน้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรผลาหาร ธัญญาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ที่มา : พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรียบเรียงโดย : นายวศิน ป้องพัฒนานุกูล นักศึกษาฝึกประสบการณ์จากสาขาสารสนเทศศึกษา ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

งานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-2

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.