พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

Museums & Exhibitions

นิทรรศวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสครบรอบ 120 ปีสมเด็จพระบรมราชชนก และ 43 ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดลจัดนิทรรศการ

วันที่ 2 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.

Loading PDF Worker ...

ในโอกาสครบรอบ 120 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก และ 43 ปี แห่งวันพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยมหิดล” ถือเป็นวาระสำคัญแห่งการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงเป็นองค์ธรรมาภิมุข ผู้แสดงพระองค์เป็นต้นแบบแห่งบัณฑิตสัปปุริสธรรม ที่คำนึงประโยชน์ของผองเพื่อนมนุษย์มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้วยการใส่พระทัยและทรงมุ่งมั่นปฏิบัติอย่างจริงจังในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการพยาบาล การเภสัชกรรม การทันตกรรม การสังคมสงเคราะห์ การทหารเรือ การประมง และการอุดมศึกษา ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนทั้งระดับชุมชน ประเทศชาติและสากล ด้วยพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่นี้ ทรงได้รับการเทิดทูนและถวายพระราชสมัญญา พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย พระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ของไทย และพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเป็นพระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกเป็นบุคคลดีเด่นของโลก เป็นหลักชัยให้องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่างๆ ได้สืบสานพระราชปณิธานมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพระนาม “มหิดล” ที่ปรากฏเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยตั้งแต่พุทธศักราช 2512 ถือเป็นความภาคภูมิใจของสถาบันให้ดำรงคงหลักธรรมาภิบาล นำทางมวลมนุษยชาติตั้งแต่ระดับชุมชนสู่สากล ด้วยปณิธานแห่งการเป็นปัญญาของแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดลมีช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า ยุคเริ่มต้นพัฒนาการจากโรงศิริราชพยาบาลจวบจนปัจจุบัน ล้วนเป็นเส้นทางแห่งกาลเวลา ที่คู่ขนานไปกับน้ำพระราชหฤทัยจากองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงปรุงดิน รดน้ำ เพาะเมล็ดพันธุ์ จนแผ่ขยายกิ่งก้านสาขาเจริญเติบโตกลายเป็น “มหาวิทยาลัยมหิดล” แผ่นดินอุดมด้วยปัญญาที่นำทางด้วยคุณธรรมในวันนี้ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2555

  • พ.ศ.2435-พ.ศ.2555
  • พ.ศ.2424-พ.ศ.2431
  • พ.ศ.2432-พ.ศ.2439
  • พ.ศ.2443-พ.ศ.2474
  • พ.ศ.2485-พ.ศ.2515
  • พ.ศ.2516-พ.ศ.2533
  • พ.ศ.2534-พ.ศ.2551
  • พ.ศ.2552
  • พ.ศ.2554
พ.ศ.2435-พ.ศ.2555

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

2435

1 มกราคม “ทูลกระหม่อมแดง” พระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ประสูติ ณ พระตำหนักสมเด็จพระบรมราชเทวีในพระบรมมหาราชวัง 2 กุมภาพันธ์ พระราชพิธีสมโภชเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณเบญจพรศิริสวัสดิ ขัตตินวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศ เกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษย์ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ อรรควรราชกุมาร”

2437

ทรงฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ระหว่างงานพระศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

2438

ตามเสด็จพระมารดาประพาสหัวเมืองต่างๆ เช่น ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และพิษณุโลก

2440

ทรงศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง

2442

เดือนกรกฎาคม ตามเสด็จพระมารดาซึ่งทรงพระประชวรไปประทับรักษาพระองค์ ณ พระตำหนักศรีราชา (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เปิดบริการ 10 กันยายน 2445) และได้ตามเสด็จประพาสหัวเมือง ชายทะเลฝั่งอ่าวไทย

2446

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีมหามงคลโสกันต์ และ พระราชทานพระสุพรรณบัฏสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณทราชาวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิฏฐ์บุรุษ ชนุดมรัตรพัฒนศักดิ์ อัครราชวรกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์"

2447

20 สิงหาคม ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในคราวเดียวกับที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชอุปธยาจารย์ และทรงลาผนวชในวันที่ 13 ธันวาคม

2448

ทรงศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow School) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

2450

ทรงศึกษาโรงเรียนนายร้อยชั้นต้น (Royal Prussian Military Preparatory College) ณ เมืองปอตสดัม ประเทศเยอรมนี 20 กันยายน ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา และมีพิธีเปิดบ่อน้ำแร่จุฬาลงกรณ์ ณ คัวร์ปาร์ค (Kurpark) เมืองบาด ฮอมบูร์ก (Bad Homburg) ประเทศเยอรมนี

2451

19 เมษายน ทรงได้รับพระราชทานยศนายร้อยตรีทหารบก

2452

ทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นสูงทหารบก (Haupt Kadettenanstalt) ณ Gross-Lichterfelde ชานเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เสด็จทัศนศึกษาเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี (ทางเหนือ)

2453

ทรงเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

2454

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จกลับประเทศเยอรมนี ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารบก ทรงสอบได้คะแนนสูงสุด ทรงสอบเข้าเพื่อศึกษาในวิทยาลัยจักรพรรดินาวีเยอรมนี ทรงได้รับพระราชทานยศนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยาม พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 พระราชทานยศนายเรือตรีแห่งจักรพรรดินาวีเยอรมนี ทรงเข้าเป็นนักเรียนนายเรือเยอรมัน รุ่น CREW 1912 ณ โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บูร์ก มุรวิก (Murwik Imperial German Naval Academy) ประเทศเยอรมนี ทรงเปิดศาลาไทย ณ คัวร์ปาร์ค เมืองบาด ฮอมบูร์ก ประเทศเยอรมนี

2457

ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และรับราชการในกองทัพเรือเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในยุโรป ประเทศไทยประกาศเป็นกลาง จึงทรงลาออกจากกองทัพเยอรมัน เดือนพฤศจิกายน เสด็จพระราชดำเนินโดยทางเรือจากยุโรปกลับถึงประเทศไทยในวันทื่ 9 มีนาคม เสด็จทอดพระเนตรโรงพยาบาลศิริราช เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินพระทัยทรงช่วยเหลือพัฒนาการแพทย์ไทย แต่ทรงพระดำริว่าก่อนจะทรงช่วยเหลือจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ จึงตั้งพระทัยจะเสด็จไปทรงศึกษาด้านการแพทย์ก่อน

2458

2 เมษายน ได้รับพระราชทานยศ นายเรือโท ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ 9 สิงหาคม ทรงรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่งตำรา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 20 มกราคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เป็นนายทหารพิเศษ นอกกองประจำการ สังกัดกระทรวงทหารเรือ ระหว่างเตรียมพระองค์ จะเสด็จไปสหรัฐอเมริกา ทรงพระประชวรไข้รากสาดน้อย

2459

ทรงลาออกจากราชการทหารเรือแล้วเสด็จไปศึกษาวิชาสาธารณสุข ณ สหรัฐอเมริกา 25 กันยายน ทรงศึกษาวิชาเฉพาะที่วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) ในฐานะนักศึกษาพิเศษ 27 กันยายน คณะกรรมการโรงเรียนสาธารณสุขลงมติให้ทรงเป็นผู้มีสิทธิเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุข 13 ตุลาคม ทรงพระประชวร แพทย์ถวายผ่าตัดที่โรงพยาลสติลแมน (Stillman Infirmary) ประเทศสหรัฐอเมริกา

2460

22 กันยายน ทรงลงทะเบียนเรียนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University Medical School) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเปิดเรียนในวันที่ 24 กันยายน ทรงเรียนแพทย์ปีที่หนึ่ง ในภาคฤดูใบไม้ร่วง (ภาคการศึกษาที่ 1)

2561

21 กันยายน เสด็จไปสถานีรถไฟเซาท์สเตชั่น (South Station) เพื่อรับคณะนักเรียนไทย ซึ่งมีนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) นักเรียนพยาบาลทุนพระราชทานของสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเดินทางมาด้วย 23 กันยายน ทรงเริ่มเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 2 ทรงฟังบรรยายและทรงศึกษาภาคปฏิบัติรายวิชาต่างๆ ณ White Marble Building และทรงศึกษาวิชาอายุรศาสตร์ ประสาทวิทยา และศัลยศาสตร์ ที่ Massachusetts General Hospital และ Boston City Hospital

2562

ทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขและวิชาปรีคลินิคบางส่วน ที่ School of Health Officer ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาจูเซตต์ (Massachusetts Institute of Technology)

2563

เสด็จนิวัติพระนคร เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนี พันปีหลวง 15 สิงหาคม พระราชทาน “เงินทุนบำรุงแผนกแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” 10 กันยายน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ และเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ ณ วังสระปทุม 24 กันยายน พระราชทานบทพระนิพนธ์ “โรคทุเบอร์คุโลสิส” ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยวัณโรคในด้านการป้องกันและ ดูแลรักษาตนเอง ให้กรมสาธารณสุขจัดพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

2564

ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาสาธารณสุขและทรงได้รับประกาศนียบัตร (C.P.H.) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ณ สหรัฐอเมริกา 6 กุมภาพันธ์ ทรงพบเจรจากับ Dr. George Edgar Vincent ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เป็นครั้งแรก

2565

13 เมษายน เสด็จกลับพระนครเพื่อตามเสด็จพระเชษฐภคินี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งทรงประชวรทางพระวักกะ ไปยุโรป 21 พฤษภาคม มีลายพระหัตถ์ชี้แจงผลดีและผลเสียของการทำสัญญากับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทรงแนะนำให้กระทรวงศึกษาธิการ รับข้อเสนอการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ของมูลนิธิฯ 26 พฤษภาคม ตามเสด็จพระเชษฐภคินีไปยุโรปเพื่อทรงรักษาพระอาการ ระหว่างที่ทรงอภิบาลพระเชษฐภคินีอยู่นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ทรงประชวร จึงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเสด็จออกไป ทรงอภิบาลแทน 2 ตุลาคม ในฐานะผู้แทนรัฐบาลสยาม ทรงประชุมกับ Dr. Richard Mills Pearce ที่ปารีส จัดทำข้อตกลงร่วมมือปรับปรุง การศึกษาแพทย์ระหว่างประเทศสยามกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ พระราชทานเงินค่าก่อสร้าง “ตึกศัลยกรรมชาย” ภายหลังมีการปรับปรุงอาคารและเปลี่ยนชื่อเป็น “มหิดลบำเพ็ญ” เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก ปัจจุบันเป็นที่ทำการของศิริราชมูลนิธิ และ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

สถานีรถไฟเซาท์สเตชั่น

สถาบันเทคโนโลยี แห่งแมสสาจูเซตต

ตามเสด็จพระเชษฐภคินี

2566

23 เมษายน เสด็จไปศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่ Royal Infirmary คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินเบอร์ก (University of Edinburgh) สกอตแลนด์ 6 พฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติ ณ สถานพยาบาลเลขที่ 48 Lexham Garden กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาประชวรด้วยโรคพระวักกะ(ไต) พิการเรื้อรัง จึงเสด็จนิวัติพระนคร ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ตำแหน่งข้าหลวงการศึกษาทั่วไป และ ตำแหน่งกรรมการคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ทรงเป็นอาจารย์พิเศษให้กับนิสิตเตรียมแพทย์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่วังวินเซอร์ หรือวังใหม่ (วังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงวางแผนพัฒนาทั้งอุดมศึกษาและการแพทย์พยาบาล

2567

25 มิถุนายน ทรงงานเป็นข้าหลวงตรวจการศึกษาทั่วไป กระทรวงศึกษาธิการ (ทรงดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งสวรรคต) 28 มิถุนายน ถึง 15 กันยายน กรมสาธารณสุขจัดอบรมแพทย์สาธารณสุขเป็นครั้งแรกที่สถานเสาวภา สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาล 10 ธันวาคม ทรงแสดงปาฐกถาเรื่อง “ธาตุปัจจัยในการสาธารณสุข” ในการประชุมสาธารณสุขมณฑล เสด็จเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ณ จังหวัดเชียงใหม่

2568

นายกกรรมการ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล 20 กันยายน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี 26 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต

2569

เสด็จไปศึกษาต่อวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

2570

5 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาจูเซตต์ สหรัฐอเมริกา ประชวรด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบ ก่อนการสอบไล่เพื่อปริญญาแพทย์ แพทย์ต้องถวายการผ่าตัดเมื่อทรงสอบไล่แล้ว

2571

เดือนมิถุนายน ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ ทรงได้รับปริญญา Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยมชั้น Cum Laude และ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคม เกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ Alpha Omega Alpha 13 ธันวาคม เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ

คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ปริญญา Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยม ชั้น Cum Laude

2572

สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำเสนอหลักการ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษา 25 เมษายน ถึง 18 พฤษภาคม ทรงงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ 5 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล มหิดล ณ อยุธยา สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์แก่ผู้สืบสายราชตระกูล ประชวรด้วยโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) ประชวรอยู่ 4 เดือน มีโรคแทรกซ้อนคือ พระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และพระหทัยวาย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน เวลา 16.45 น. พระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน 30 พฤศจิกายน (ภายหลังสวรรคตแล้ว) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์"

2575

ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท (Dr. Hugh McCormic Smith) ผู้ซึ่งเข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษาแผนกสัตว์น้ำของรัฐบาลไทย ช่วง พ.ศ. 2466-2478 จนกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนการประมงและเป็นดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก ในกระทรวงเกษตราธิการ ได้ตั้งชื่อปลาบู่สกุลที่พบใหม่ว่า “ปลาบู่มหิดล” (Mahidolia mystacina, Valenciennes,1837) เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมราชชนกที่สนพระทัยด้านการประมง โดยพระราชทานทุนสำหรับส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ 7 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดตึกมหิดลวรานุสสรณ์ ซึ่งสร้างขึ้นตามแผนการก่อสร้างโรงพยาบาลศิริราชที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงร่างไว้

2577

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีนทร พระราชโอรส เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็น “สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์”

2593

27 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ประดิษฐานบริเวณใจกลางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2594

คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีมติกำหนดให้ วันที่ 24 กันยายน เป็นวันระลึกถึงสมเด็จพระบรมราชชนก เป็นประจำทุกปี และขนานนามว่า “วันมหิดล” การจัดงานในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 จึงเป็นการจัดงาน “วันมหิดล” อย่างเป็นทางการครั้งแรก

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน

ปลาบู่มหิดล

2496

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาทรงพระราชสักการะและทรงวางพวงมาลาพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก งานวันมหิดลจึงเป็นพิธีหลวง นับจากนั้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรง วางพวงมาลาถวายราชสักการะทุกปี

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน

2503

การจำหน่ายธงที่ระลึกวันมหิดล เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ ศ. นพ. กษาน จาติกวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้เสนอให้ จำหน่ายธงวันมหิดล เพื่อให้ประชาชนทุกฐานะมีส่วนเกื้อกูลผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลศิริราช ธงวันมหิดลปีแรกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรูปพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก พิมพ์ด้วยสีเขียว ตรงกลางผืนผ้าขาว

2512

เนื่องจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขยายสาขาการเรียนการสอนเพิ่มเติม อธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ จึงได้ขอพระราชทานนามใหม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล"

ธงมหิดลปีแรก

ตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

2512

9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์เป็น “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” (ในวันเดียวกันนี้ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

2516

ทุนมหิดลอดุลยเดช ได้รับการจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิ” และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิมหิดลอดุลยเดช” ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เดียวกับสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิมหิดลอดุลยเดช ซึ่งริเริ่มต้นจากนักเรียนเก่าสหรัฐฯ ประสงค์สืบสานพระราชปณิธานในการช่วยเหลือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ

2529

30 ตุลาคม มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งขึ้น ที่วัดปทุมวนาราม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก ให้อัญเชิญพระนาม เป็นชื่อมูลนิธิ และตราประจำพระองค์เป็นสัญลักษณ์ ของมูลนิธิฯ

2531

18 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิด พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก ณ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ

2535

ในโอกาสครบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชชนก สถาบันการศึกษาทางสาธารณสุขมีมติให้ขอพระราชทาน สมัญญา เป็น "พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย" องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น” ของโลก ประจำปีพุทธศักราช 2535-2536 รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่มอบให้แด่บุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขดำเนินการโดยมูลนิธิ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นจัดตั้ง และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธาน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราประจำพระองค์ “มหิดล” เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อโรงเรียน

2554

1 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

2555

รัฐบาลเห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชกรณียกิจ ด้านการอุดมศึกษาของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี แห่งการพระราชสมภพ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ

พ.ศ.2424-พ.ศ.2431

ยุคโรงศิริราชพยาบาล

2424

เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโรงพยาบาล ชั่วคราวขึ้น เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย

2429

22 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มดำเนินการ ก่อสร้าง ณ บริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)

2430

31 พฤษภาคม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสได้ประชวรด้วยโรคบิดสิ้นพระชนม์ ทำให้ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าให้มีโรงพยาบาล ด้วยพระราชทานสิ่งของ และเงินพระมรดก ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ แก่โรงพยาบาล

2431

26 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาล ซึ่งในระยะเริ่มต้นมีเรือนพักผู้ป่วยเพียง 6 หลัง 31 ธันวาคม พระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "โรงศิริราชพยาบาล" เพื่อเป็นที่การระลึกถึง สมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ให้การรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ

พ.ศ.2432-พ.ศ.2439

ยุคโรงเรียนแพทยากร

2432

มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น พฤษภาคม เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนแพทย์แห่งแรก ณ โรงศิริราชพยาบาล มีนักเรียนแพทย์รุ่นแรกจำนวน 15 คน

2434

1 มกราคม นพ. ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์

2435

นักเรียนแพทย์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์จำนวน 9 คน

2436

31 พฤษภาคม ตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"

2439

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5) พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ให้สร้าง โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงเรียนพยาบาล แห่งแรกของประเทศไทย

พ.ศ.2443-พ.ศ.2474

ยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย

2443

3 มกราคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน เปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนราชแพทยาลัย”

2445

1 มกราคม นพ. ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ เข้ารับราชการเป็นพ. ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการทั้งฝ่ายโรงพยาบาล และฝ่ายโรงเรียนแพทย์นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์

2451

โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล

2456

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงธรรมการ โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาแพทย์โดยเพิ่มวิชาทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ขยายหลักสูตรแพทย์เป็น 5 ปี และรับนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6

2458

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นผู้บัญชาการราชแพทยาลัย เลิกการสอนวิชาแพทย์ไทยในหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร และให้เปิดสอน ประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา (เภสัชศาสตร์) หลักสูตร 3 ปี

2459

26 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็น "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"

2460

6 เมษายน รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"

2461

ขยายหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตรเป็น 6 ปี โดย 4 ปีแรกเรียนวิชาเตรียมแพทย์และปรีคลินิกที่ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ 2 ปีหลังเรียนวิชาคลินิกที่ศิริราช พ.ศ. 2462 ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ชาวอเมริกันที่เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราช ตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2462-2464 และ 2466-2471 พ.ศ. 2464 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ ซึ่งมูลนิธิฯ ส่งนายแพทย์ ริชาร์ด เอม เพียร์ส เข้ามาเจรจากับกระทรวงธรรมการ โดยกราบทูลเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเพื่อตกลงในหลักการ

2465

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช พระราชทานเงินค่าก่อสร้าง “ตึกศัลยกรรมชาย” ภายหลังเสด็จสวรรคตแล้ว จึงได้ใช้ชื่อว่า “มหิดลบำเพ็ญ” เพื่อเป็นอนุสรณ์ และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

2466

รับนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกจากนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และขยายความช่วยเหลือ ไปถึงโรงเรียนพยาบาล และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย

2470

21 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้างตึกต่างๆ และกิจการของโรงพยาบาลศิริราช

2471

นิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา

2472

24 กันยายน ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง สมเด็จฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) นิสิตแพทย์ได้รับเกียรติฯ ให้อัญเชิญเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในริ้วขบวน

2473

25 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตให้แพทย์ปริญญารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานเหรียญรางวัลให้ผู้ที่ได้คะแนนเป็นเยี่ยม เป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของไทย

2474

คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัดกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยขึ้นครั้งแรก จนเป็น “ประเพณีข้ามฟาก” มาถึงปัจจุบัน

ตึกศัลยกรรมชาย

โรงพยาบาลศิริราช

ประเพณีข้ามฟาก

ธงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ทันตแพทย์

ทันตแพทย์

พ.ศ.2485-พ.ศ.2515

2485

ด้วยความสำคัญของกลุ่มวิชาการแพทย์ เมื่อประกาศจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ตั้ง กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานในสังกัด โอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยแผนกอิสระเภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ รวมไว้ในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อมาสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เริ่มต้นมี 4 คณะ

ศ. นพ. พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร)

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

(12 มีนาคม 2485- 16 เมษายน 2488)

2488

ศ. นพ. หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส)

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

(17 เมษายน 2488 - 15 กันยายน 2500)

2491

25 พฤษภาคม จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตามพระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2491 และจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

2493

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (สมเด็จฯ กรมพระยา3 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และอนุปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาลแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2492-2493 โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ศิริราช”) ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงธรรมการ โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาแพทย์โดยเพิ่มวิชาทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ขยายหลักสูตรแพทย์เป็น 5 ปี และรับนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6

2498

โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2500

ศ. นพ. หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน)

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

(16 กันยายน 2500 - 15 สิงหาคม 2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศจัดตั้ง คณะเทคนิคการแพทย์

2501

ศ .นพ. สวัสดิ์ แดงสว่าง

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

(16 สิงหาคม 2501 - 2 มิถุนายน 2507) 21 ตุลาคม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์

2502

3 กันยายน โอนมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 28 ตุลาคม ตราพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

2503

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

28 มีนาคม ประกาศจัดตั้ง คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาขั้นเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และขั้นปริญญาตรี โท และ เอก ตราพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ขึ้นแทนคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่

2504

เริ่มระบบแพทย์ฝึกหัดซึ่งกำหนดให้แพทย์จบการศึกษาใหม่ต้องไปฝึกหัดในโรงพยาบาลที่ทางการรับรองเป็นเวลา 1 ปี จึงขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบันได้ ระหว่างฝึกหัดได้รับเงินเดือนและสวัสดิการด้านที่พักอาศัยและอาหาร

2507

ศ. นพ. ชัชวาล โอสถานนท์

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (3 มิถุนายน 2507 - 8 ธันวาคม 2512)

ขอพระราชทานพระนาม “มหิดล” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่าไม่ขัดข้อง แต่สมควรปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ 4 กุมภาพันธ์ ประกาศจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

2508

27 กรกฏาคม ประกาศจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ขึ้น และโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

2509

จัดตั้งศูนย์วิจัยประชากรและสังคม

2411

7 มิถุนายน จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท

2512

ศ. นพ. ชัชวาล โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (9 ธันวาคม 2512 - 30 พฤศจิกายน 2514)

21 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม มหาวิทยาลัย "มหิดล" เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม

16 มิถุนายน อัญเชิญสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีศ. สัญญา ธรรมศักดิ์ และ พณฯ พจน์ สารสิน เป็นรองประธาน

14 ธันวาคม จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนชื่อคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล เป็นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเปลี่ยนชื่อคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นคณะวิทยาศาสตร์

2513

11 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดประชุม ครั้งแรก ณ วังสระประทุม มีการพิจารณาเรื่องขอซื้อที่ดินที่ ต. ศาลายา จ. นครปฐม เพื่อขยายกิจการของมหาวิทยาลัยมหิดล

2514

17 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์จำหน่ายที่ดินโฉนดเลขที่ 8606 เนื้อที่ 1,240 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ณ ต. ศาลายา อ. นครชัยศรี (ปัจจุบันคือ อ. พุทธมณฑล) จ. นครปฐม แก่มหาวิทยาลัยมหิดลในราคาไร่ละ 10,000 บาท

อมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ.2514 – 2515)

20 พฤษภาคม โรงเรียนมหิดลอนุสรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดสอนครั้งแรก โดยการก่อสร้างได้รับการสนับสนุนจากคณะนักศึกษา ค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยงานและบุคคลหลายฝ่าย

14 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

ศ. นพ. กษาน จาติกวนิช ดำรงตำแหน่งอธิการบดี

 (9 ธันวาคม 2514 - 8 ธันวาคม 2522)

2515

13 เมษายน มีคำสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 121 ประกาศให้ โอนคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะที่ 1 และคณะเภสัชศาสตร์ คณะที่ 1 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2515

โอนคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท ไปขึ้นกับมหาวิทยาลัยมหิดล

โอนมหาวิทยาลัยมหิดล จากสำนักนายกรัฐมนตรีไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

23 มิถุนายน ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ศิริราช เป็นคณะพยาบาลศาสตร์

พลตรี ศิริ สิริโยธิน

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

(18 กันยายน 2515 - 17 มีนาคม 2518)

15 พฤศจิกายน ที่ประชุมเห็นชอบกับแผน และการคำนวณโครงการศาลายาของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามที่ ศ. นพ. สวัสดิ์ สกุลไทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาเสนอ

พ.ศ.2516-พ.ศ.2533

2516

ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ อนุมัติให้ตัดคำว่า "พญาไท" ท้ายคำของคณะทันตแพทย์ศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ ออกจัดตั้งโครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม

2517

จัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน เปลี่ยนชื่อเป็น คณะเวชศาสตร์เขตร้อน จัดทำผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ครั้งแรก

2518

ศ. ดร. สมภพ โหตระกิตย์

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล 5 วาระ

(20 มิถุนายน 2518 - 3 ตุลาคม 2527)

28 สิงหาคม มหาวิทยาลัยมหิดลส่งโฉนดที่ดินตำบลศาลายาขึ้นทะเบียนราชพัสดุ

2519

เริ่มดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พบปัญหาในการดำเนินงาน เช่น งบประมาณมีจำกัด การก่อสร้าง อยู่ในสมัยซึ่งประเทศชาติมีความยุ่งยากทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมหลายประการ ทำให้ใช้เวลาวางแผนและดำเนินการต่อเนื่องนับสิบปี

2520

13 มกราคม จัดตั้งสถาบันวิจัยโภชนาการ

2521

30 มกราคม ยกฐานะโครงการการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

2522

ศ. เกียรติคุณ นพ. ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (9 ธันวาคม 2522 - 8 ธันวาคม 2534)

2523

มีหนังสือถึงกรมธนารักษ์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้จัดหาที่ดินราชพัสดุที่อยู่ใกล้บริเวณที่ตั้งของหน่วยงานทั้ง 3 เขตของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย โดยได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ที่ราชพัสดุ แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

2524

30 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

2525

จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน

2526

23 กรกฎาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายาโดยระยะแรกมีหน่วยงานที่ไปปฏิบัติงานตามลำดับดังนี้

สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ (เดิมชื่อโครงการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ) ตั้งแต่สิงหาคม 2521 ศูนย์ศาลายา (เดิมชื่อโครงการศูนย์ศาลายา) ตั้งแต่พฤษภาคม 2523 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่ 29 มิถุนายน 2524 คณะวิทยาศาสตร์ (เฉพาะนักศึกษาปีที่ 1) ตั้งแต่ 14 มิถุนายน 2525 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2526

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน (เดิมชื่อศูนย์ฝึกอบรมและ พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานแห่งอาเชียน) ตั้งแต่ 13 มิถุนายน 2526 หน่วยงานต่างๆ เริ่มย้ายไปปฏิบัติงานในสำนักงานใหม่ที่ศาลายา

2527

ศ. นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล (4 ตุลาคม 2527 – 20 มีนาคม 2531)

2528

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทาน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์

11 กรกฎาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทาน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร พระราชวังดุสิต ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษาแพทย์รุ่นที่จบการศึกษา 2527 รับปริญญาปี 2528 เป็นนักศึกษาหลักสูตร 6 ปีรุ่นแรก โดยไม่ต้องไปเป็นแพทย์ฝึกหัดอีก 1 ปี

2529

4 สิงหาคม ยกฐานะกองห้องสมุดให้เป็นสำนักหอสมุด และยกฐานะโครงการศูนย์คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสำนักคอมพิวเตอร์ จัดตั้งโครงการศึกษาปริญญาตรีสำหรับนักศึกษานานาชาติ

2530

15 กันยายน ยกฐานะโครงการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เป็นสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ จัดตั้งโครงการพัฒนาวิชาการดนตรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

2531

18 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี

ศ. นพ. บุญสม มาร์ติน ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล (4 ตุลาคม 2531 – 19 มีนาคม 2537)

6 ตุลาคม จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน จัดตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2532

18 ธันวาคม จัดตั้งศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบการขยายพื้นที่ทำการของมหาวิทยาลัย ไปยัง ต. ศาลายา อ. นครชัยศรี (ปัจจุบันคือ อ. พุทธมณฑล) จ. นครปฐม

2533

18 สิงหาคม จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์

พ.ศ.2534-พ.ศ.2551

2534

มีการหารือขั้นต้นระหว่าง ศ. นพ. ดร. ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับดร. โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา เพื่อก่อตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามโรงเรียนว่า มหิดลวิทยานุสรณ์

ศ. เกียรติคุณ นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี

ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

(9 ธันวาคม 2534 – 8 ธันวาคม 2538)

จัดตั้งโครงการวิทยาลัยนานาชาติ จดทะเบียนสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

2535

ศ. เกียรติคุณ นพ. นที รักษ์พลเมือง

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในตำแหน่ง 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2549

2536

11 มีนาคม จัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา เพื่อจัดการศึกษาในระดับปริญญา และฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้พิการทางกายภาพตลอดจน ทำการวิจัยเพื่อช่วยเหลือคนพิการ

จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย

3 พฤษภาคม มีประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษา กำหนดให้มีเครื่องแบบพิธีการ และเครื่องแบบปกติทั้งนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง

2537

เริ่มดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พบปัญหาในการดำเนินงาน เช่น งบประมาณมีจำกัด การก่อสร้าง อยู่ในสมัยซึ่งประเทศชาติมีความยุ่งยากทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมหลายประการ ทำให้ใช้เวลาวางแผนและดำเนินการต่อเนื่องนับสิบปี

2538

23 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา

ศ. เกียรติคุณ นพ. อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ระดับ 11 ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (9 ธันวาคม 2538 – 8 ธันวาคม 2542)

2539

27 มิถุนายน จัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

2540

1 มกราคม จัดตั้งศูนย์ศาสนศึกษา สังกัดสำนักงานอธิการบดี15 กันยายน จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์29 กันยายน จัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 เพื่อขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค17 ธันวาคม จัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ ขึ้นเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วิทยาลัยการจัดการ

2541

14 ตุลาคม จัดตั้งโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา และการพัฒนาสังคม

2542

19 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประทานพระวินิจฉัยให้ “ต้นกันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

21 กรกฏาคม จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี

ศ. เกียรติคุณ นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

(9 ธันวาคม 2542 - 8 ธันวาคม 2550)

2543

25 สิงหาคม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์กรมหาชน

2545

2 เมษายน จัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ 21 สิงหาคม จัดตั้งโครงการสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้

2546

17 ธันวาคม จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

2547

1 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี

2549
  1. 21 มีนาคม ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

19 กรกฏาคม จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

31 สิงหาคม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยของรัฐครั้งแรก โดยประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย

2550

7 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 ให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ศ. คลินิก นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

(9 ธันวาคม 2550 – 8 ธันวาคม 2554)

2551

4 มกราคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

พ.ศ.2552

2552

20 พฤษภาคม ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2552 ประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ ประกาศให้สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติเป็นศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ 29 มิถุนายน ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2552 มีการปรับเปลี่ยนชื่อส่วนงาน ดังนี้

1. สำนักคอมพิวเตอร์ เป็น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท เป็น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

3. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน เป็น สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

4. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ รวมเป็น สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

5. สถาบันวิจัยโภชนาการ เป็น สถาบันโภชนาการ

6. สำนักหอสมุด เป็น หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

7. โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล กาญจนบุรี เป็น วิทยาเขตกาญจนบุรี

8. โครงการจัดตั้งคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ เป็น คณะกายภาพบำบัด

9. โครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ เป็น คณะศิลปศาสตร์

10. โครงการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็น สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

11. โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น วิทยาลัยนานาชาติ

12. โครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

พ.ศ.2554

2554

4 กรกฎาคม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงโอนย้ายหน่วยกิตจากสถาบันศิลปะแห่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มาทรงศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ.2552-2553 และทรงเข้ารับพระราชทาน ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2554

1 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประติมากรรม “จากพระเมตตา สู่ปัญญาของแผ่นดิน” ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล

ตุลาคม-พฤศจิกายน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ประสบมหาอุทกภัยครั้งร้ายแรง มีระดับน้ำท่วม สูงถึงเพดานอาคารเรียนชั้นล่าง ส่วนพื้นที่ศาลายามีแนวคันดินล้อมรอบซึ่งสามารถป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมภายในมหาวิทยาลัยได้

เริ่มดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พบปัญหาในการดำเนินงาน เช่น งบประมาณมีจำกัด การก่อสร้าง อยู่ในสมัยซึ่งประเทศชาติมีความยุ่งยากทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมหลายประการ ทำให้ใช้เวลาวางแผนและดำเนินการต่อเนื่องนับสิบปี

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.

Close menu