สาระความรู้
knowledge
ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
กำนันยุพา เขียวคำรพ
“อยากให้มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้หลากหลาย อยากให้ลงไปในชุมชมมากอย่างเช่นไปดูในแต่ละชุมชนเค้าต้องการอะไร ไม่ใช่ต้องการเรื่องเงินทองนะคะ ดูว่าความรู้เค้าขาดอะไร”
นางสาวกันยา โพธิปิติ
“ถ้าให้นึกถึงความทรงจำที่เกี่ยวกับศาลายา ก็จะนึกถึงตึกแมลงปอ ช่วงนั้นรุ่นแรกๆ จะเรียนที่ตึกแมลงปอเขาก็จะพูดติดปากว่าจะไปตึกแมลงปอ เหมือนเป็นเอกลักษณ์ว่าตึกแมลงปอมันเกิดคู่กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมเลยนะ”
นางสาวฉัตรศรี จำปาขาว
“เราอาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอะไรมากมาย แต่รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่หนึ่งที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา หรือคนศาลายาให้ได้อยู่อย่างเป็นสุข”
นางสาวศรีวิไล สังฆสุบรรณ์
“ยุคประมาณ พ.ศ. 2534 อาจารย์คณะวิทย์ มีแนวโน้มที่จะไม่มาสอนที่ศาลายาเพราะอยู่ไกล มันไม่ใช่ยุคแรกนะคะ ตอนนั้นยังจำได้ต้องจัดเชิญครูแนะแนวมาทั่วประเทศ เชิญมาสัมมนาเรื่องหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศาลายา เพื่อที่จะให้เด็กมาเรียนที่มหิดล เด็กนักศึกษาไปพูดกันเรื่องผี น้ำไม่ไหล ไฟดับ โทรศัพท์เสีย เหมือนกับรุ่นพี่ พอกลับไปโรงเรียนเก่าแล้วก็ไปเล่าต่อ”
นายนววิทย์ พงศ์อนันต์
“มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง แต่ผมก็ชอบนะ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันดูดี บางอย่างทำมาแล้วได้ใช้ประโยชน์ ที่ผมชอบมาก เช่น รถราง ผมใช้บริการเป็นประจำ”
นายมนัส ทองธาตุ
“ผมมีความสุขนะ มีความสุขที่ได้ช่วยงานตรงนี้งานพระราชบิดาท่าน ที่ลูกได้เล่าเรียนก็เพราะพระราชบิดาประทานที่ให้คืออยู่ตรงนี้อยู่ด้วยความเต็มใจในการช่วยมหาวิทยาลัยก่อตั้ง อยากจะอยู่ช่วยตรงนี้เต็มที่”
นายอนุชา โมกขะเวส
“ผมมีความสุขนะ มีความสุขที่ได้ช่วยงานตรงนี้งานพระราชบิดาท่าน ที่ลูกได้เล่าเรียนก็เพราะพระราชบิดาประทานที่ให้คืออยู่ตรงนี้อยู่ด้วยความเต็มใจในการช่วยมหาวิทยาลัยก่อตั้ง อยากจะอยู่ช่วยตรงนี้เต็มที่”
นายเจน ชัยเดช
“ถ้าไม่มีวิทยาลัยราชสุดา ไม่มีมหาวิทยาลัยมหิดล ตัวผมเองก็ไม่มีวันนี้”
นายแพทย์ วรมันต์ ไวดาบ
“เนื่องจากว่าเราเป็นรุ่นแรก เราไม่มีรุ่นพี่ รุ่นน้องเลย แต่เราได้ร่วมกิจกรรมกับเขา ก็รู้สึกว่ามีความอบอุ่นมากเพราะว่าเขาไม่ได้แบ่งแยกอะไรเลย เหมือนเราก็เป็นเนื้อเดียวกับเด็กของมหาวิทยาลัยไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นสถาบันสมทบเลยแม้แต่น้อย”
นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม
“ถ้านึกภาพศาลายาเมื่อสมัยอดีต ก็จะนึกถึงตำนานศาลา ศาลาที่มียา จะมีคลองตัดผ่านที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้ขุด มีการสร้างศาลาสำหรับที่พัก ถ้าเป็นจจุบัน ถ้าพูดถึงศาลายา ก็จะนึกถึง มหาวิทยาลัยมหิดล
และที่นึกถึงอีกอันหนึ่งก็คือ พุทธมณฑล ก็มีอยู่สองแห่ง”
นายแพทย์ศุภชัย ไพบูลย์ผล
“แต่บรรยากาศของอาจารย์เป็นอีกแบบหนึ่ง ทำไมอาจารย์ถึงต้องรีบกลับ เพราะว่ารถติดที่กรุงเทพฯ คือบรรยากาศตรงนี้ที่ศาลายาเป็นแบบชนบท เป็นบรรยากาศที่ผมประทับใจนะ”
น้าพนำ จันทร์อุ่น
“บางทีตีหนึ่งตีสองยามไปตามก็ต้องมา ทำงานหนัก แต่มันสนุกบางคนเขาบอกว่าทำไปทำไม ใครจะไปเห็นอาจารย์เขากลับบ้านกันไปหมดอาจารย์ไม่เห็นแต่สมเด็จพระราชบิดาเห็น ใจมุ่งมั่น คนไม่เห็น ผีเห็น คือเราไม่ได้ทำเอาหน้า”
ป้าพูล เลิศลบ
“สมัยก่อนศาลายามีแต่นา มันเตี้ยโล่ง มีบ้านก็อยู่ห่างกัน ถึงบ้านจะอยู่ห่างกัน แต่ก็ไม่มี
การจี้ปล้นกัน แต่ลักเล็กขโมยน้อยมีบ้าง ไม่มีคนรวย มีแต่พอกิน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดน จาติกวนิช
“ผมจะไม่สนุกถ้าไม่ได้กล่าวถึงการปลูกต้นไม้ที่ศาลายา ผมไม่มีเจตนาที่จะวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ดีหรือไม่อย่างไร แต่อยากเล่าระสบการณ์เกี่ยวกับต้นไม้ที่ผมได้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เมื่อเริ่มต้นโครงการศูนย์สัตว์ทดลองขึ้นที่ศาลายา เป็นต้นมา” “ผมขอบใจที่ให้โอกาสมาเล่าความหลังระลึกถึงอดีตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ยาวนานในชีวิตการทำงานก่อนเกษียณอายุของผม อย่างน้อยที่สุดก็ได้เล่าให้ชาวมหิดลได้ทราบว่าศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติได้เติบโตขึ้นมาอย่างไรในมหาวิทยาลัยมหิดล”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เพียรกิจกรรม
“การจัดการเรียนการสอนและการสอบ ตอนนั้นผมก็รู้สึกอึดอัดอยู่บ้าง พอผ่านไปแล้วเรื่องเล็กมากคิดย้อนไปแล้วก็ต้องขอบคุณพวกอาจารย์เค้าที่ยอมมา ผมโดนดุบ้างเหมือนกัน เพราะบางท่านเคยสอนผมมาก่อนพอผมไม่ได้โต้ตอบต่อการดุว่าได้แต่ขอร้องอาจารย์ท่านๆก็เมตตา จริงๆพออยู่สักพักหนึ่งก็สบายขึ้น”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรณู ทวิชชาติวิทยากุล
“พอเริ่มหัวค่ำยุงเยอะมากๆจนยืนนิ่งไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นยุงดำๆ ตัวโตมาก ตัวเท่าช้าง(เวอร์นิดๆ)กัดแบบสุดฤทธิ์เลย แล้วเวลาที่จัดงานช่วงกลางคืน ต้องจุดยากันยุงเยอะเลย”
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ มันตรี จุลสมัย
“ศาลายาปี พ.ศ. 2525 พื้นที่เป็นท้องนาซะส่วนใหญ่ เรามาก็สร้างตึกอำนวยการที่ตอนนี้เป็นนาคารไทยพาณิชย์ คลีนิกแพทย์ก็อยู่ตรงนั้นชั้นล่าง ห้องไม่ใหญ่พอทำงานได้มีเจ้าหน้าที่คนนึง พยาบาลคนนึง แล้วก็หมอคนนึง”
ลุงปุณยเสริฐ ยงใจยุธ
“เมื่อก่อนในหลวงท่านก็ชอบขึ้นรถไฟนะ พอวันไหนในหลวงจะเสด็จ ก็จะมาคอยดัก ท่านก็โบกมือให้”
ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล
“เราไม่เสียดายอดีต แต่กลับชื่นชมศาลายาปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ศาลายาเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่สวยงามมาก มหิดลศาลายาเขียวขจีทั่วเขตคามงามพิไล”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สิรินทร์ พิบูลนิยม
“ในช่วงแรกๆอาจารย์ก็จะคิดถึงเรื่องเอาน้ำเข้า ไฟเข้า การเดินทาง คิดถึงเรื่องพื้นฐานก่อนแล้วก็ปลูกต้นไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตัดคำว่า Sahara ทิ้งไปให้ได้”
“สิ่งที่อาจารย์ยึดถือในการทำงานจากอาจารย์ณัฐ คือทำงานให้ดีที่สุด“ถือประโยชน์ราชการเป็นหลัก ประหยัด ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” แค่นี้พอแล้ว 4 อย่าง”
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.