การศึกษาดูงานชมห้องสมเด็จพระบรมราชชนกและพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน


โดย

จีระศักดิ์ มาจันทร์


ผมเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จาก สาขาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มาปฏิบัติสหกิจศึกษาที่ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ได้รับความอนุเคราะห์จากสถานประกอบการงานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานที่ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนกและพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

ห้องสมเด็จพระบรมมหาราชชนก

รูปภาพ 1 ห้องพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก

รูปภาพ 2 นิทรรศการพระราชประวัติพระบรมราชชนก

นิทรรศการถาวรพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จัดแสดงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ส่วนพระองค์ เอกสาร หนังสือ และสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องในพระราชกรณียกิจ ซึ่งทางงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดนำชมและบรรยายนิทรรศการที่ทางงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดทำไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าชมสามารถเข้ามาชมได้รับความรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลศิริราช หอจดหมายเหตุศิริราช พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้อย่างทั่วถึงทุกคน

รูปภาพ 3 วิทยากรนำชมนิทรรศการ

รูปภาพ 4 โมเดลโรงพยาบาลศิริราชสมัยก่อน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นพิพิธภัณฑ์จัดสร้างขึ้นใหม่โดยใช้อาคารสถานีรถไฟธนบุรีที่มีมาแต่เดิม ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำเสนอเรื่องราวที่ทรงคุณค่ายิ่ง ทั้งทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่บริเวณคลองบางกอกน้อยวังหลัง ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี สืบมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังแสดงประวัติของศิริราช ประวัติการแพทย์แผนไทย การสร้างทางรถไฟสายใต้และวิถีชุมชนบางกอกน้อย โดยใช้เทคนิคนำเสนออย่างทันสมัย ซึ่งทำให้ผมทึ่งกับเทคนิคและดีไซต์ของทางพิพิธภัณฑ์ออกแบบมาได้สวยงามและอลังการเป็นอย่างมาก ทำให้เวลาเดินชมพิพิธภัณฑ์นั้นรู้สึกสนุกและเพลิดเพลินเป็นอย่างเช่นกันแล้วในพิพิธภัณฑ์มีห้องที่จัดให้ชมไว้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้

รูปภาพ 5 รูปภาพบรรยายถึงประวัติของวังหลัง

รูปภาพ 6 พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

ห้องศิริราชขัตติยพิมาน : น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราชและการแพทย์ของประเทศไทยมายาวนาน

ห้องสถานพิมุขมงคลเขต : ถ่ายทอดพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ผ่านจิตรกรรมไทยแบบประเพณี จัดแสดงหุ่นละครพระราชนิพนธ์เรื่อง 'พระศรีเมือง' และภาพปักตัวละครเอกใน วรรณคดี

เรื่อง ไซ่ฮั่น

ฐานป้อมพระราชวังหลัง : หลักฐานทางโบราณคดีที่เหลืออยู่ของพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) อิฐแต่ละก้อนที่เรียงซ้อนกัน สามารถเล่าเรื่องราวของอดีตและสภาพสังคมเมื่อกว่า 200 ปีได้อย่างมากมาย

เครื่องถ้วยโบราณ : ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยโบราณหลายยุคสมัย ที่ขุดพบระหว่างการก่อสร้างสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย

ห้องโบราณราชศัสตรา : จัดแสดงศาสตราวุธหลากชนิดหลายชาติพันธุ์ ล้วนทรงคุณค่า ที่คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้รับมอบจากราชสกุล “เสนีวงศ์” ซึ่งเป็นราชสกุล ที่สืบเชื้อสายจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

ห้องคมนาคมบรรหาร : ชมภาพยนตร์สี่มิติสุดระทึกใจ เสมือนหนึ่งได้นั่งอยู่ในขบวนรถไฟสายใต้ แล่นผ่านกาลเวลา ย้อนอดีตไปถึงวันเริ่มสร้างสถานี เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ : ภาพประวัติศาสตร์ควรแก่การจดจำ ที่มาแห่งมงคลนามไม้ อาคารประกอบ และเครื่องเรือน จากงานพระเมรุครั้งนี้ ได้นำมาสร้าง “โรงศิริราชพยาบาล” โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน

หุ่นกายวิภาคมนุษย์ : ปฐมบทของสื่อการเรียนกายวิภาคศาสตร์ ในโรงเรียนแพทย์ยุคแรก หุ่นจำลองที่ทำจากเยื่อกระดาษอายุเกือบร้อยปีนี้ เป็นประจักษ์พยานของความก้าวหน้าในวิชาแพทย์สมัยนั้น

สมเด็จพระบรมราชชนก : “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและสาธารณสุขของไทย” ผู้ทรงเป็นแบบอย่างแห่งความเพียร ความอุตสาหะ และการเสียสละโดยเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

จักษุวิทยา : มาสัมผัสถึงบรรยากาศของห้องตรวจโรคตาในอดีต รู้จักเครื่องมือของจักษุแพทย์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค และวัตถุจัดแสดงที่หาชมได้ยาก เช่น เลนส์ของต้อกระจก จา กผู้ป่วยนับพันราย และเครื่องมือผ่าตัดดวงตาของศิริราชในอดีต

อาจารย์ใหญ่ : หัวใจสำคัญของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ที่นักศึกษาแพทย์ทุกคนรู้จัก เคารพและเรียกขานกันว่า “อาจารย์ใหญ่” โต๊ะปฏิบัติการชุดนี้เคยรองรับ “อาจารย์ใหญ่” มารุ่นแล้วรุ่นเล่า

การจำลองการผ่าตัด : เมื่อชีวิตผู้ป่วยอยู่ในความรับผิดชอบของ ท่าน ร่วมเป็นหนึ่งในทีมผ่าตัดเพื่อปฏิบัติการในห้องผ่าตัดจำลองย้อนยุค และเข้าถึงหัวใจของการทำงานเป็นทีม

มหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์ : ไขรหัสการแพทย์ ความจริงเกี่ยวกับร่างกาย มนุษย์ ในมุมมองของการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนตะวันตก ถอดรหัสความรู้สู่การมีสุขภาพดีด้วยหลักธรรมานามัย

ร้านโอสถวัฒนา : รวบรวมสมุนไพรไทยหลายร้อยชนิด อัศจรรย์สรรพคุณยาไทยในร้านขายยาโบราณพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์หลากหลาย พัฒนามาเป็นการผลิตยาด้วยเทคนิคที่ทันสมัย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) : กราบนมัสการพระอริยสงฆ์ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นมหาเถระที่ได้รับความนิยมนับถือ ได้รับการเคารพ ศรัทธาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ตลอดไป

จนถึงสามัญชนทั่วไป

วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย : โรงละคร บทกวี ร้านค้า และศาลาโรงธรรม เป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญา ที่รวมเอาวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งคลองบางกอกน้อยให้เชื่อมโยงถึงกัน

เรือโบราณ : เผยโฉมเรือไม้โบราณมีความยาวถึง 24 เมตร ถูกฝังกลบมากว่า 100 ปี ถือเป็นเรือไม้ลำใหญ่ที่สุดของประเทศเท่าที่เคยขุดค้นได้ เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย

รูปภาพ 7 เรื่องราวประวัติศาสตร์ในสมัยปลายกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์

สรุป

ดังนั้นการศึกษาดูงานชมห้องสมเด็จพระบรมมหาราชชนกและพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ในครั้งนี้กระผมได้รับความรู้ และได้รู้ซึ้งถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมมหาราชชนกและพระราชกรณียกิจที่พระองค์ท่านทรงทุ่มเทแรงกายแรงใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความหวังว่าราชอาณาจักรไทยจะมีวิทยาการทางการแพทย์ที่ดีและมีคุณภาพที่สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่พสกนิกรชาวไทยกำลังประสบพบเจอให้ได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ใช่แค่พระบรมมหาราชชนกเท่านั้นแต่รวมถึง พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ไทยในช่วงปลายสมัยธนบุรีจนถึงช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ที่แต่ละพระองค์ที่ทรงสร้างไว้ให้พสกนิกรชาวไทยได้อยู่เย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า นอกจากนั้นยังได้ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดลช่วงก่อนที่จะมาเป็นมหิดลในปัจจุบันได้นั้นผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งผู้ทำหน้าที่นำชมนิทรรศการและให้ความรู้ต่าง ๆ มากมายที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระดับที่สูงต่อไปได้

ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการแพทย์และเรื่องราวที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และทางการแพทย์ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้คัดสรรนำเรื่องราวต่าง ๆ นำมาจัดแสดงโชว์ให้ผู้ที่เข้าชมได้รับความรู้มากมายจากการเดินชมพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งมีการใช้เทคนิคและเทคโนโลยี นำมาใช้กับการแสดงโชว์วัตถุโบราณได้อย่างลงตัวทำให้ได้อรรถรสในการชมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นอะไรที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นที่สุด

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

งานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-2

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.