การศึกษาดูงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมิวเซียมสยาม


โดย

สิทธิชัย สระขุนทด


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ประวัติศาสตร์และราชวงศ์ไทย

และนิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง

ภาพที่ 1: ภาพทวารบาลถือคันศรยืนบนฐานบนพื้นหลังสีแดงที่มีลายกระหนกเปลว

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ 2566 ผู้เขียนได้มีโอกาศเดินทางไปศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งพิพิธภันฑ์แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครตั้งอยู่ที่บริเวณ “พระราชวังบวรสถานมงคล” หรือที่เรียกกันว่า “วังหน้า” ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช 5 พระองค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช จึงทำให้ไม่มีผู้ใดมาประทับ รัชกาลที่ 5 ได้มีการแต่งตั้งสถานที่แห่งนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑสถาน” และถูกประกาศว่าเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” เมื่อปี พ.ศ 2477


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครได้มีการจักแบ่งโซนจัดแสดงออกเป็น 4 โซนได้แก่ ประวัติศาสตร์ศิลปกรรม ศิลปะไทยประเพณี ประวัติศาสตร์โบราณคดี และพระราชวังบวรสถานมงคล นอกจากนี้ยังมีโรงราชรถ ที่จัดแสดงราชรถที่ใช้ในงานพระเมรุ รวมไปถึงยังมีการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง ซึ่งจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 ถึง 21 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง 401 อาคารมหาสุรสิงหนาท


พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

ผู้เขียนได้เดินทางไปเยี่ยมชมด้านในของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ มีพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ซึ่งพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นที่ประทับของพระเจ้าบวชราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงทำให้พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ถูกใช้เป็นท้องพระโรง และพระพุทธสิหิงค์ได้ถูกอันเชิญมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ดังเดิมในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2394 นอกจากนี้ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ และเทพชุมนุมซึ่งเป็นฝีมือของช่างในสมัยรัชกาลที่ 1 และลวดลายที่ประตูทั้ง 6 ช่องจะมีลวดลายที่แต่งต่างกันออกไป ซึ่งประตูใหญ่ทั้ง 2 ช่องจะเป็นภาพทวารบาลถือคันศรยืนบนฐานที่มียักษ์แบกบนพื้นหลังสีแดงที่มีลายกระหนกเปลว ส่วนประตูเล็กทั้ง 4 ช่อง เป็นภาพทวารบาลถือคันศรยืนบนฐานบนพื้นหลังสีแดงที่มีลายกระหนกเปลว นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงตู้พระธรรมที่มีลวดลายของรามเกียรติ์โดยท่านวิทยากรได้อธิบายว่าตู้พระธรรมในสมัยก่อนถูกใช้เป็นที่กันห้องเพื่อความเป็นส่วนตัว

พระตำหนักแดง

พระตำหนักแดงเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะประทับที่พระราชวังกรุงธนเดิม เมื่อเสด็จบวรราชาภิเษกแล้วพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายพระตำหนักแดงมาที่พระราชวังบวรสถานมงคล และกรมศิลกากรได้ย้ายพระตำหนักแดงไว้ ณ ตำแหน่งปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2506 ภายในได้มีการจัดแสดงถูกจัดออกเป็นสองห้อง ซึ่งห้องแรกได้มีการจัดแสดงให้เห็นถึงวิธีการเลี้ยงบุตรแรกเกิด ตั้งแต่เริ่มขอบุตรไปจนถึงการอยู่ไฟของมารดารวมไปถึงสิ่งของที่ใช้ดูแลบุตร จะเป็นการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ภาพที่ 2: พระตำหนักแดง

ที่มา: Mahidol University Archives and Museums

ภาพที่ 3: นิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง

ที่มา: Mahidol University Archives and Museums

อาคารมหาสุรสิงหนาท


ต่อมาผู้เขียนเดินทางไปที่อาคารมหาสุรสิงหนาท ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริงซึ่งได้มีการจัดแสดงศิลปเกาหลีศิปะเกาหลี รวมไปถึงห้องที่ใช้ในเป็นโรงภาพยนตร์ดิจิทัลสมจริงที่ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับโลกหลังความตายซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของดวงวิญญาณ


อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

ภายในอาคารแห่งนี้จะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับโบราณคดีหลังสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มจากห้องแรกจะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับศิลปะล้านนา โดยศิลปะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือการแกะสลักงาช้างที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างมากในการทำ นองจากนี้ยังมีการนำพระพุทธรูปต่าง ๆ นำมาจัดแสดง เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลมาจากที่ต่าง ๆ ต่อมาเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับโบราณวัตถุในสมัยสุโขทัย จะมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องสังคโลก รวมไปถึงหลักศิลาจาลึกและเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ถูกพบเจอ ต่อมาเป็นห้องจัดแสดงสมัยอยุธยา ภายในห้องได้มีการจัดแสดงโดยแบ่งออกเป็นหลายโซนเพื่อให้ผู้คนที่มีความสนใจแตกต่างกันได้เดินชมได้อย่างเข้าใจ เช่น โซนพระเครื่อง โซนพระพุทธรูป ต่อเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับสมัยธนบุรี ไปจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ที่ได้มีการจัดแสดงสิ่งของที่สื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของประเทศไทย ถัดไปเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีพระพุทธรูปแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้ได้รับจะเห็นได้จากการห่มจีวรของพระสงฆ์ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

โรงราชรถ

เป็นโรงราชรถที่ในเก็บราชรถที่ใช้ในการประกอบพิธีเมรุโดยราชรถแต่ละคันจะมีการพัฒนาขึ้นนอย่างเห็นได้ชัดซึ่งการนำราชรถมาเก็บไว้ ณ ที่แห่งนี้เพื่อเป็นการเก็บรักษาสภาพราชรถเอาไว้ รวมไปถึงโกศที่ใช้ในการประกอบพิธี


หมู่พระวิมาน

หมู่พระวิมานเป็นห้องจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นเอกต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งโซนจัดที่แสดงเช่น เครื่องราชยาน คานหาม ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของเครื่องราชยาน การจัดแสดงพระมหรสพและการละเล่น โซนที่จัดแสดงเครื่องศาสตราวุธโบราณ

ภาพที่ 4: ราชรถที่ใช้ในการประกอบพิธีเมรุ

มิวเซียมสยาม

หลังจากผู้เขียนได้ศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเสร็จ ก็ได้มีโอกาศเดินทางไปศึกษาดูงานต่อที่ “มิวเซียมสยาม” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์มีการจักนิทรรศการถาวรที่มีชื่อว่า “ถอดรหัสไทย” เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และการพัฒนาการของไทยโดยมีการแบ่งเป็นโซนการเรียนรู้มากมายรวมไปถึงการจัดแสดงในรูปแบบที่แปลกใหม่ให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้เรียนรู้อย่างเพลิดเพลินอีกด้วย ซึ่งพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยามตั้งอยู่บริเวณถนนสนามไชย ตรงข้ามโรงเรียนราชบพิธ มิวซียมสยามได้มีการจัดแสดงทั้งหมด 2 ชั้น โดยแต่ละห้องได้มีการจัดแสดงความเป็นไทยและพัฒนาการเอาไว้เพื่อให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้ ถอดรหัสเพื่อตอบคำถามว่าอะไรคือไทยแท้

ภาพที่ 5: มิวเซียมสยาม

ที่มา: https://m.museumsiam.org/about.php

ห้องแรกของชั้นที่ 3 การจัดแสดงเพื่อให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้หาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นไทยโดยรวมร่วมสิ่งของต่าง ๆ นำมาจัดแสดงเอาไว้ ห้องต่อมาจะเป็นการนำเสอเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีโต๊ะที่จะจัดแสดงเรื่องราวจุดกำเนิดของไทยและมีกลไกที่จะทำให้สิ่งของที่เป็นตัวแทนของละยุคสมัยขึ้นมาพร้อมแสงสีเสียงให้ผู้คนได้เยี่ยมชมและทำให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้เข้าใจความเป็นไทย

ต่อมาห้องนิทรรศการชั้นที่ 2 จะเป็นการนำเสนอความเป็นไทยที่โด่ดเด่นในประเทศไทยเพื่อให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นความเป็นไทย โดยห้องแรกจะเป็นการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ทั้งในชีวิตประจำวันที่หาได้แต่ประเทศไทยมาจัดแสดง ตัวอย่าง เช่น เครื่องปรุง เบียร์ใส่น้ำแข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีคามแตกต่างทั้งเส้นและรสชาติที่แตกต่างกันทั้ง 30 แบบ ห้องถัดมาจะเป็นการจัดแสดงการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ที่คนไทยภูมิใจนำเสนอและภาพจำของชาวต่างชาติว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ภาพที่ 6: หนังสือที่ใช้ในการจัดแสดง

ภาพที่ 7: โต๊ะจัดแสดงพัฒนาการของไทยผ่านสิ่งของแต่ละยุค

ภาพที่ 8: บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกว่า 30 รสชาติ

ห้องถัดมาจะเป็นการนำเสนอความเชื่อของคนไทยซึ่งมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก เช่นการนับถือพุทธศาสนา การนับถือผี โดยมีการนำสิ่งของมาจัดแสดงเพื่อให้เห็นความหลากหลายของความเชื่อของคนไทยเป็นอย่างดี ห้องต่อมาจะเป็นการจัดแสดงประเพณี เทศกาล วัฒนธรรมต่าง ๆ ของคนไทยมากมากมาย รวมไปถึงห้องนี้สามารถที่จะให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้มีการเล่นหรือเทศกาลต่าง ๆ ผ่านการสัมผัส โดยมีสิ่งของต่าง ๆ อยู่ภายในกล่องและมีโต๊ะอยู่กลางห้องเพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน

ภาพที่ 9: ความเชื่อที่หลากหลายของคนไทย

ที่มา: Mahidol University Archives and Museums

ภาพที่ 10: พระเกจิที่โด่งดังในประเทศไทย

ห้องต่อมาจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งกายของแต่ละยุคสมัยเพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้เห็นการแต่งกายของแต่ละยุคสมัยผ่านการแต่งกาย รวมไปถึงผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถแต่งตัวเป็นคนในแต่ละยุคสมัยเพื่อถ่ายรูปกับฉากเพื่อเป็นที่ระลึกกลับบ้านได้อีกด้วย ห้องถัดมาที่ผู้เขียนได้เข้ามาเยี่ยมชมได้แก่ห้องที่จำลองห้องเรียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้มาสัมผัสการเรียนการสอนของเด็กไทยในยุคสมัยนั้น และสามารถแต่งตัวเป็นเด็กนักเรียนเพื่อให้เข้ากับบรรยาการห้องเรียนได้อีกด้วย

ภาพที่ 11: การแต่งการของแต่ละยุคสมัย

ที่มา: Mahidol University Archives and Museums

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

งานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-2

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.