พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562
ครบรอบ 50 ปี วันพระราชทานนาม 133 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.
ไฟล์สูจิบัตรนิทรรศการ
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.
มหาวิทยาลัยมหิดล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดสร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาผู้ป่วยในทุกชนชั้น และในปี พ.ศ.2429 ได้พระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนั้นว่า “โรงศิริราชพยาบาล” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน เมื่อมีโรงพยาบาลแล้วจึงจำเป็นจะต้องผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นกำลังในการรักษาผู้ป่วย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในปี พ.ศ.2432 และพัฒนาเป็น “โรงเรียนแพทยากร” (พ.ศ.2436) และ “ราชแพทยาลัย” (พ.ศ.2443) ตามลำดับ จากนั้นเมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 จึงได้รวมราชแพทยาลัยเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
ต่อมาในปี พ.ศ.2486 ได้สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็น 4 คณะแรก โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) เป็นอธิการบดีท่านแรกของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2507 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และในโอกาสนั้นได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ไม่ขัดข้อง แต่ขอให้ปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์เสียก่อน เพื่อให้สมพระเกียรติ แต่ขอให้เป็นไปในทางประหยัด” ซึ่งมหาวิทยาลัยได้น้อมรับนำพระราชกระแสมาดำเนินการ โดยยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่พร้อมกับจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ขึ้น
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2512 มีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ เป็นอธิการบดีท่านแรก และเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่เพียงพอต่อการขยายหลักสูตรการเรียนการสอน จึงได้ประสานงานกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพื่อทำการซื้อที่ดินในตำบลศาลายา และในปี พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สำนักงานฯ ขายโอนที่ดินในตำบลศาลายา เนื้อที่ 1,242 ไร่ 20 ตารางวา กับมหาวิทยาลัยมหิดลในราคาไร่ละ 10,000 บาท หลังจากนั้นปรับพื้นที่และสร้างอาคารสำหรับรองรับนักศึกษาได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงได้เริ่มเปิดการเรียนการสอน ณ พื้นที่ศาลายาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2525 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2526 เพื่อเป็นเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลา 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินกิจการเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ โดยการจัดตั้งส่วนงานต่าง ๆ ให้ครอบคลุมในศาสตร์ความรู้ในทุกแขนง ทั้งยังมีการขยายวิทยาเขต เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย และในปัจจุบันยังดำเนินภารกิจ เพื่อพัฒนามาตรฐานของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกด้วย
ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดนิทรรศการ “Timeline of Mahidol University เส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน” เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์และเกียรติประวัติสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกผู้ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงการอุดมศึกษาของประเทศไทย ให้เป็นนามแห่งมหาวิทยาลัยของเรา ซึ่งถือเป็นเกียรติอันสูงสุด และเพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามมหาวิทยาลัย “มหิดล” รวมทั้งเป็นการแสดงกตัญญุตาที่จะสืบสานพระราชปณิธาน ในสมเด็จพระบรมราชชนก เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติสืบไป
ยุคโรงศิริราชพยาบาล 2424-2431
เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว
22 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้าง โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศ
31 พฤษภาคม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคบิด
26 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดโรงพยาบาล
25 ธันวาคม พระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "โรงศิริราชพยาบาล"
ยุคโรงเรียนแพทยากร 2432-2443
มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์
5 กันยายน เริ่มเปิดการเรียนการสอน มีนักเรียน 15 คน
1 มกราคม นพ.ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์ จนถึง พ.ศ. 2468
มีนาคม นักเรียนแพทย์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์จำนวน 9 คน
1 พฤษภาคม ประกาศรับสมัครเข้าเรียนวิชาแพย์ใน "โรงเรียนแพทยากร"
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้าง โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล
ยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย 2443-2460
3 มกราคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนราชแพทยาลัย”
นพ.ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการทั้งฝ่ายโรงพยาบาล และฝ่ายโรงเรียนแพทย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นผู้บัญชาการราชแพทยาลัย
26 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
ยุคคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2460-2485
6 เมษายน รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"
ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส ชาวอเมริกัน เข้ามาเป็นอาจารย์สอนวิชาพยาธิวิทยา และช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการ ทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นผู้แทนฝ่ายไทย
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช พระราชทานเงินค่าก่อสร้าง “ตึกศัลยกรรมชาย” ภายหลังเสด็จสวรรคตแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “มหิดลบำเพ็ญ”
นิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
24 กันยายน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สวรรคต
25 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตให้แพทย์ปริญญารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัด “ประเพณีข้ามฟาก” ถือเป็นกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยครั้งแรก
สถาปนากรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ยุคมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2486-2511
7 กุมภาพันธ์ สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น เริ่มต้นมี 4 คณะ
12 มีนาคม ศ.นพ.พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกรู) เป็นผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ท่านแรก (ดำรงตำแหน่งถึง 16 เมษายน 2488)
17 เมษายน ศ.นพ.หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 15 กันยายน 2500)
23 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในรัชกาล
25 พฤษภาคม จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
3 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรกในรัชกาล
27 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช
16 กันยายน ศ.นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 15 สิงหาคม 2501)
10 กรกฎาคม จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์
16 สิงหาคม ศ.นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 2 มิถุนายน 2507)
21 ตุลาคม จัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์
28 ตุลาคม จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
28 มีนาคม จัดตั้งคณะอายุรศาสตร์เขตร้อน และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
3 มิถุนายน ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2512) ขอพระราชทานพระนาม “มหิดล” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว- ภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่าไม่ขัดข้อง แต่สมควรปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์
4 กุมภาพันธ์ จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
16 มีนาคม โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 กรกฏาคม จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
12 กรกฎาคม จัดตั้งศูนย์วิจัยประชากรและสังคม
25 ตุลาคม โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7 มิถุนายน จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2512-2531
2 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนาม "มหิดล" เป็นชื่อมหาวิทยาลัย
9 ธันวาคม ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 30 พฤศจิกายน 2514)
14 ธันวาคม จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
17 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ ให้สำนักงานทรัพย์สิน พระมหากษัตริย์จำหน่ายที่ดิน ณ ตำบลศาลายา แก่มหาวิทยาลัยมหิดล
14 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
9 ธันวาคม ศ.นพ.กษาน จาติกวนิช ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2522)
23 มิถุนายน ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นคณะพยาบาลศาสตร์
26 กันยายน จัดตั้งโครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม
พฤษภาคม จัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์
เริ่มดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
13 มกราคม จัดตั้งสถาบันวิจัยโภชนาการ
30 มกราคม ยกฐานะโครงการการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2534)
30 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท
จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน
23 กรกฎาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา
11 กรกฎาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษา และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
26 มีนาคม จัดตั้งโครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ
4 สิงหาคม ยกฐานะกองห้องสมุดให้เป็นสำนักหอสมุด
15 กันยายน ยกฐานะโครงการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เป็นสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ
18 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี
6 ตุลาคม จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2532-2546
18 ธันวาคม จัดตั้งศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบการขยายพื้นที่ทำการของมหาวิทยาลัย ไปยัง ตำบลศาลายา
18 สิงหาคม จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2538)
28 พฤษภาคม สถาปนาวิทยาลัยราชสุดา
8 พฤษภาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน “พระพุทธมหาลาภ” แก่มหาวิทยาลัยมหิดล
3 พฤษภาคม ประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
21 กันยายน จัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
23 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2542)
27 มิถุนายน จัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
2 ตุลาคม จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์
17 ธันวาคม จัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ
18 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
1 มกราคม จัดตั้งวิทยาลัยศาสนศึกษา
19 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ประทานพระวินิจฉัยให้ “ต้นกันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี(ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2550)
21 กรกฏาคม จัดตั้งคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
2 เมษายน จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
21 สิงหาคม จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้
17 ธันวาคม จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2547-2562
1 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี
19 กรกฏาคม จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
9 ธันวาคม ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2554)
4 มกราคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
20 พฤศจิกายน จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
2 กันยายน สถาปนามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
20 พฤษภาคม เปลี่ยนชื่อคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ เป็นคณะกายภาพบำบัด
4 กรกฎาคม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ
1 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดลหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
9 ธันวาคม ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 31 ธันวาคม 2557)
1 มิถุนายน จัดตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
17 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด “มหิดลสิทธาคาร”
5 มกราคม ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 31 กรกฎาคม 2560)
1 เมษายน จัดตั้งสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
1 สิงหาคม ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี (ปัจจุบัน)
12 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ”
2 มีนาคม ครบรอบ 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล
The Chronicle of Mahidol University ร้อยเรียงเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน ของเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน
ภาพอธิบายการเล่นบอร์ดเกมส์
อุปกรณ์
การ์ดจำนวน 77 ใบ แต่ละใบจะมี 2 ด้าน คือ
• ด้านคำถาม เป็นภาพและคำบรรยายเหตุการณ์
• ด้านเฉลย เป็นภาพและคำบรรยายเหตุการณ์ พร้อมบอกปีที่เกิดเหตุการณ์นั้น
ภาพอธิบายการเล่นบอร์ดเกมส์
วิธีเล่นเกม
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ 2 - 8 คน
การเตรียมการเล่น
1. นำการ์ดทั้งหมดพลิกเป็นด้านคำถามขึ้น คว่ำด้านเฉลยลง และสับการ์ดทั้งหมด
2. เลือกผู้เล่นคนแรก
3. แจกการ์ดให้ผู้เล่นทุกคนแบบสุ่ม วางไว้ที่ด้านหน้าของผู้เล่น แต่ละคน
• ผู้เล่นจำนวน 2 – 3 คน แจกการ์ดคนละ 5 ใบ
• ผู้เล่นจำนวน 4 – 5 คน แจกการ์ดคนละ 4 ใบ
• ผู้เล่นจำนวน 6 – 8 คน แจกการ์ดคนละ 3 ใบ
**ห้ามผู้เล่นพลิกด้านเฉลยดู**
4. สุ่มการ์ด 1 ใบ แล้วหงายด้านเฉลย วางไว้กลางวง
วิธีการเล่น
1. ให้ผู้เล่นเลือกการ์ดของตนเอง 1 ใบ ออกมาและพิจารณาการ์ดที่ตนเอง เลือกมาว่าเหตุการณ์ในการ์ดนั้นเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเหตุการณ์ในการ์ด ที่อยู่กลางวง
• หากผู้เล่นพิจารณาว่าการ์ดนั้นเกิดขึ้นก่อน ให้วางการ์ดนั้นไว้ด้านซ้ายของ การ์ดใบแรก
• หากผู้เล่นพิจารณาว่าการ์ดนั้นเกิดขึ้นหลัง ให้วางการ์ดนั้นไว้ด้านขวาของ การ์ดใบแรก
• ในรอบต่อไป หากมีการ์ดตั้งแต่สองใบขึ้นไป ผู้เล่นสามารถนำการ์ดวาง ด้านซ้าย หรือด้านขวา หรือวางแทรกระหว่างการ์ดของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นก่อนและหลัง โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง
2. หลังจากนั้นหงายด้านเฉลยของการ์ด
• หากวางการ์ดในตำแหน่งที่ผิด ให้ทิ้งการ์ดใบนั้น นำออกไปเก็บใส่กล่อง และให้ผู้เล่นคนนั้นหยิบการ์ดใบแรกจากกองกลาง 1 ใบ ไว้ที่ด้านหน้า ของตน และให้ผู้เล่นคนต่อไปเล่นต่อ
• หากวางการ์ดในตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้วางการ์ดใบนั้นไว้ในตำแหน่งนั้น และให้ผู้เล่นคนต่อไปเล่นต่อ
3. ผู้เล่นคนใดการ์ดหมดก่อนเป็นผู้ชนะ
How to play
77 cards, each card has 2 sides.
• The question side shows picture and caption.
• The answer side shows the same information with the year of that event.
Number of Players 2 to 8 players
Setup
1. Shuffle the cards. Make sure that the "answer" sides of all cards are hidden.
2. Choose the first player.
3. Deal a number of cards randomly to each player and place them in font of each player.
• 2 to 3 players deal 5 cards for each player.
• 3 to 4 players deal 4 cards for each player.
• 6 to 8 players deal 3 cards for each player.
**Players are not allowed to see the answer sides**
4. Pick up the top card from the pile, then place it on the table and flip it to show the starting year for the game.
Playing the Game
1. The first player looks at the starting card and consider his own cards that which one is happened before or after:
• If the player think that it was happened before, place the card on the left side of the starting card.
• If the player think that it was happened after, place the card on the right side of the starting card.
• In the next turn, if there are more than one card in the game, the player can choose the card for playing and then place the card whether it's on the left or right side, between them.
2. Flip the chosen card.
• If the card is placed in the incorrect position, the player must discard it, and draw a new one from the pile. Then, turn to the next player to play.
• If the card is placed in the correct position, keep the card there and let the next player plays.
3. If only one player has no cards left, that player immediately wins the game!
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.