พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

Museums & Exhibitions

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

จัดนิทรรศการ วันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บอร์ดนิทรรศการ

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่พระราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ ทรงอุทิศพระวรกายและ พระราชทรัพย์เพื่อโครงการพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ทรัพยากรน้ำ กางส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น ขณะเดียวกันโครงการในพระราชดำริ ที่เด่นชัดและถือเป็นแนวทางให้ปวงชนชาวไทย ได้ยึดถือและปฏิบัติ คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงดำรัสแก่ชาวไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ กระทั่งวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ถูกกล่าวถึงอีกครั้ง เพื่อเป็นแนวทาง การแก้ไขและให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดกิจกรรมเผยแพร่พระเกียรติคุณ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และพระผู้ให้ เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยามจวบจนปัจจุบัน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ประดับพระบารมีมหากษัตริย์ไทย

  • หน้าที่ 1
  • หน้าที่ 2
  • หน้าที่ 3
หน้าที่ 1

อาคารระเบียบ คุณะเกษม

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

รัชกาลที่ ๔

รัชกาลที่ ๕

รัชกาลที่ ๖

รัชกาลที่ ๗

รัชกาลที่ ๙

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก คือ พิธีตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ และหรือ คู่อภิเษกสมรส รับมอบพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ โดยเกี่ยวข้องกับการสวมมงกุฎบนพระเศียร พร้อมด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ชิ้นอื่น ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการตรัส คำปฏิญาณ และการถวายความเคารพแก่ผู้ปกครองพระองค์ใหม่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ และหรือ การประกอบพิธีกรรมอันมี ความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ต่อความเป็นรัฐชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายเครื่องราชสักการะ ต้นไม้ทอง เงิน บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และมีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก เมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับพระที่นั่ง ราชยานพุดตานทอง มีเจ้าพนักงานเชิญพระแสงคู่ เคียงขนาบพระที่นั่ง ในกระบวนราบใหญ่ เมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระปฐมบรมราชโองการ แก่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แล้วทรงหลั่ง ทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราช- กรณียกิจโดยทิศพิธราชธรรมจริยา ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยศักดิ์แห่งความเป็นสมเด็จ- พระมหากษัตริยาธิราช โดยพระมหาราชครูผู้ใหญ่นำขึ้นทูลกระหม่อมถวายขณะประทับพระที่นั่งภัทรบิฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาทเชิงงอน

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นใหม่ สำหรับพระราชพิธี บรมราชภิเษก ได้แก่ พระมหามงกุฎ ฉลองพระบาท พัชนีฝักมะขาม ธารพระกรง่าม ส่วนพระแสงขรรค์ นัยว่า มีผู้นำพระขรรค์โบราณ องค์หนึ่งขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ครั้งนั้นโปรดให้ทำด้ามและฝักขึ้นใหม่ แล้วให้จัดเป็นเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์มาแต่ สมัยนั้น ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างธารพระกรชัยพฤกษ์กับพระแส้จามรีขึ้นใหม่ จึงได้ทรงใช้ ธารพระกรชัยพฤกษ์แทนธารพระกรง่าม ส่วนพระแส้จามรีโปรดให้ใช้คู่กับพัชนีฝักมะขาม เป็นเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ สืบมา

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

หน้าที่ 2

โครงการพระราชดำริ ทั่วโลกแซ่ซ้อง...สรรเสริญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พ่อของแผ่นดิน” ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกาย เสด็จฯ ทุกพื้นที่ถิ่นทุรกันดารในประเทศไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนชาวไทย และให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกษตรและชลประทาน การพัฒนาชนบท การแพทย์ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชนชาวไทย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ปรากฏโครงการหลากหลายประเภทแตกต่างกันไปตามลักษณะ และวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยโครงการเหล่านี้เป็นการแก้ไขปัญหา และพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชาชนเป็นสำคัญ โดย หลักสำคัญของแนวคิดและทฤษฎีที่พระราชทานพระราชดำริ ต้องเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการ ต้องสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนมุ่งไปสู่วิถีแห่ง การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อ ความเข้าใจและเข้ากันง่ายต่อการปฏิบัติของภาครัฐและประชาชน

แนวทางพระราชดำริที่สำคัญ อันเป็นหลักการเพื่อยึดถือในการดำเนินชีวิตและส่งผลต่อการเกิดโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริอื่น ๆ หลายโครงการ คือ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราโชวาท เกี่ยวกับความพอมี พอกิน พอใช้ไว้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่ายดังนี้

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”

นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ณ วังไกลกังวล

ภายหลังจากนั้นพระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทเศรษฐกิจ พออยู่พอกินเรื่อยมา เช่น ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้า ฯ ถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๗ และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. ๒๕๔๐

นอกจากนี้ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ยังถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางสำหรับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ มหาภาคของไทย และถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) “เพื่อมุ่งสู่การพัฒนา ที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว"”

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (Dr. Surin Pitsuwan)

นอกจากนี้ปรัชญาดังกล่าวยังได้รับความสนใจ และถูกกล่าวถึงจากนานาประเทศด้วย อาทิ นายอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย กล่าวว่า “ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง” เนื่องจากเป็นพระราชดำริ ที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการศึกษา เพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่นๆ รวมถึง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวอีกว่า สหประชาชาติ (UN) ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยอธิบายว่า “สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ยังมีนักคิดระดับโลก ๑๓ ท่าน เห็นด้วยกับแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงและมีการนำเสนอทั้งในรูปแบบของบทความ และบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ เช่น ศ.ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้าน สิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี ศ.ดร. อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (ค.ศ. ๑๙๙๘) นาย จิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน เป็นต้น รวมถึง นาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนา โดยองค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศ ให้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

กระทั้งเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ โดย นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังมีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและ นานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด

หน้าที่ 3

อ้างอิง


ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์: มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐.

เศรษฐกิจพอเพียง. (๒๕๕๙). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง. (วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

Lecture by Dr. Surin Pitsuwan on The Sufficiency Economy Philosophy. (๒๕๕๘). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch? v= 1FfuQlSCbhI.

(วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

ประมวลภาพเอกลักษณ์ 2550. (๒๕๕๙). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://oldwebsite .ohm.go.th/ searchresult_document_en.php? width=410&di_key=T0024_0008&dc_key=BB2550 901&di_sub=0.

(วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

Tanakorn Korom. (๒๕๕๕). เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://thn23257.blogspot.com/. (วันที่สืบค้น ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙).

สมพร เทพสิทธา. (๒๕๔๙). การเดินตามรอยพระยุคลบาท : เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : กองทุนอริยมรรค.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (๒๕๕๓). แนวคิดและทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ออนไลน์].

แหล่งที่มา : http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/king.aspx?p=3. (วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.