นิทรรศการประจำปี

พ.ศ. 2560 นิทรรศการวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ถ้อยคำพระราชาสู่ปัญญาของแผ่นดิน

มิถุนายน 11, 2020

พ.ศ. 2560 นิทรรศการวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ถ้อยคำพระราชาสู่ปัญญาของแผ่นดิน

พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

Museums & Exhibitions

[brizy_breadcrumbs ]

นิทรรศการวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ถ้อยคำพระราชาสู่ปัญญาของแผ่นดิน

จัดนิทรรศการ วันที่ ๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บอร์ดนิทรรศการ

[dflip id=”18351″][/dflip]
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-c17c76259a6a05d691ac0ab9c3b9aa94' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-643465ac5bc8d32ed1a0642df7b1f70d' }}
  • หน้าที่ 1
  • หน้าที่ 2
  • หน้าที่3
หน้าที่ 1

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แก่วงการการศึกษาไทย โดยทรงให้ความสำคัญแก่การพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อประโยชน์สุขและความก้าวหน้าของประเทศ อีกทั้งยังทรงเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ตลอดรัชสมัย พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาท เป็นแนวทางปฏิบัติตนของบัณฑิต อาทิ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-6e1179dfb164e7f75b280f622971904f' }}

รูปที่ ๑ พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ หอประชุมราชแพทยาลัย

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-22dba55970d00810c98815d28310675e' }}

รูปที่ ๒ พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค มาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัย ในพิธีประสาทปริญญาและอนุปริญญา ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ มีบัณฑิตผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จาก ๖ สาขาวิชา คือ สาขาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิชาพยาบาล-ผดุงครรภ์และอนามัย บัณฑิตแพทย์ คนแรกที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอื้อม ศิลาอ่อน แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-9478291266c3cbfba41d897545efa122' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-af293b3ced7f962574260c3a8f297a80' }}

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๐ เป็นครั้งสุดท้าย ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในปีนี้ มีผู้สำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น ๕,๒๖๔ คน จากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ สาขา

แพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประชากรศาสตร์

พระราชดำรัสในงานทรงดนตรี

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-c63ec9e09065023a8b1feecad6fdaef7' }}

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยและชาวต่างชาติ ดังเห็นได้จากบทเพลงพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าและพระราชจริยวัตรอันงดงามทางด้านดนตรี โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยมหิดลในการทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ พระราชทานแก่นักศึกษาครั้งแรกในวันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ณ สวนอัมพร พระราชวังดุสิต โดยทรงมีพระราชดำรัส ตอนหนึ่งที่สำคัญ ความว่า

“…ที่กล่าวถึงผู้ที่เป็นเจ้าของชื่อมหิดลว่า คือสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นก็เพราะท่านได้เป็นผู้ที่สนพระทัยและได้พยายามที่จะให้การศึกษาในด้านการแพทย์ก้าวหน้าทุกวิถีทาง จนกระทั่งได้รับพระนามว่าเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ในเมืองไทย มหาวิทยาลัยมหิดล และโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้ ก็ถือว่าต่างเป็นลูกของท่าน ก็นับว่าเรามีสิ่งที่ใกล้เคียงกันเพราะว่าเราเป็นลูกของท่านเหมือนกัน และนับได้ด้วยว่ามีพี่น้องจำนวนมากน่าชื่นใจ คนที่เป็นพี่น้องควรจะช่วยกันเสมอ มีความสามัคคีกันเพื่อที่จะให้วงศ์ตระกูลชื่อเสียงของตนดี สร้างสรรค์ให้ทำประโยชน์ให้ส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้า…”

ภายหลังงานดังกล่าว ได้เสด็จฯ มาทรงดนตรี อีก ๓ ครั้ง ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ดังนี้

วันเสาร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-8851a77caa485dec282eec7d366b7177' }}

วันเสาร์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-2b6021f2522a79f1f787f5463e6a0285' }}

วันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖

เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-b72f44f8988650a45ea3096286f9fa48' }}
หน้าที่ 2

พระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-3d6a696fa4b255369e398d2f6e161143' }}

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อเนื่องมาในสมัยมหาวิทยาลัยมหิดลในโอกาสต่างๆ พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอันทรงคุณค่า แก่คณะผู้ร่วมงาน อาทิ “…การที่ทางราชการพยายามขยายงานด้านการแพทย์ โดยเฉพาะพยายามเพิ่มจำนวนแพทย์และพยาบาล ให้เพียงพอกับความจำเป็น และความต้องการของประชาชนส่วนรวมทั้งประเทศนั้น เป็นการสมควรอย่างยิ่ง งานนี้เป็นงานใหญ่ที่ทำได้ด้วยยาก แต่ก็สำคัญ จำเป็นต้องรีบกระทำให้ดีที่สุด ขอให้ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาของแพทย์และพยาบาล ให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่แพทย์ และพยาบาล ให้ทุกคนมีความรู้อันแน่นแฟ้น ทั้งให้เป็นที่เชื่อถือได้ด้วยว่าทุกคนรู้จักหน้าที่ของตนๆ อย่างครบถ้วน เพราะผู้ที่มีความรู้ดีแต่ไม่รู้จักรักษาหน้าที่นั้นจะทำงานให้บังเกิดประโยชน์แท้จริงมิได้เลย…”

พระราชดำรัสในพิธีเปิดอาคารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีวันเสาร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-358be290a8c65f0c96d6ff4c6f55f499' }}

“…ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มีใจอันดีและเป็นกุศล กับขอให้ท่านทั้งหลายได้สำนึกว่า ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันนั้น ย่อมได้ประสบความสำเร็จสมความตั้งใจเสมอ การประกอบกรรมดีย่อมบังเกิดผลแห่งคุณงามความดีอันน่าสรรเสริญ…”


พระราชดำรัสในพิธีเปิด “ตึก ๗๒ ปี” และ ตึก “โกศล กันตะบุตร”

ณ โรงพยาบาลศิริราช

วันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-5ecdaf9a739fe42d1346b768962234db' }}

“…ทุกคนจะเป็นแพทย์หรือเป็นพยาบาลหรือมีอาชีพอื่น มีหน้าที่ทั้งนั้น และหน้าที่ในทางการรักษาและดูแลความเป็นสุขของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญทั้งเป็นไม่ใช่หน้าที่จะมานั่งรับราชการหรือเดินรับราชการเช่นเดิม หากแต่เป็นหน้าที่ในทางศีลธรรมไปแล้ว ฉะนั้น การที่แต่ละคนได้ทำหน้าที่ในด้านสาธารณสุข ในด้านการแพทย์และพยาบาล ก็นับว่าเป็นการสร้างกรรมที่ดี นับว่าเป็นการสร้างตัวเองให้เป็นคนที่ดี มีอนาคต มีความเจริญมีความสุขในใจได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสได้สร้างความดีก็ขออย่าละเลยความดีที่จะสร้างได้…”


พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะผู้แทนจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

วันศุกร์ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔


{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-3722f5ecd441e315a388ec6195c37d4c' }}

รวมพระบรมราโชวาท

ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชทานแก่ชาวมหิดล


พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-e491906d8a264be90c0ae490e9e2be71' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-cdfa2058a10111f0f38fddb030e0e698' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-0d9edd1f54d92abcb35ff87dc9ffbb63' }}

“…ขอขอบใจทุกท่านที่ร่วมมือร่วมใจช่วยงานพระบรมศพอย่างพร้อมเพรียง ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยนั้นมีจิตใจดี มีความกตัญญูกตเวที มีความเอื้ออารีต่อกัน มีความรักชาติรักแผ่นดินเป็นคุณสมบัติประจำชาติ และมีความรู้ความสามารถไม่แพ้ชนชาติอื่นใด ดังนั้นไม่ว่าจะมีอุปสรรคปัญหาหรือเหตุไม่ปกติใดๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา ก็เชื่อได้ว่าถ้าเราจะร่วมกันคิดอ่าน และช่วยกันปฏิบัติแก้ไข ทุกสิ่งทุกอย่างจะสามารถคลี่คลายลุล่วงไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน

ในปีใหม่นี้ ขอให้ชาวไทยทุกคนตั้งใจให้แน่วแน่ ที่จะรักษาคุณสมบัตินี้ให้เหนียวแน่น และทำความคิดจิตใจให้แจ่มใส ด้วยปัญญาที่กระจ่างพิจารณาทุกสิ่งที่เกิดมีขึ้นตามความเป็นจริง โดยปราศจากอคติ ให้มีความมุ่งมั่นมีกำลังใจในอันที่จะร่วมกันปฏิบัติสรรพกิจน้อยใหญ่ ในภาระหน้าที่ตามแนวพระบรมราโชบาย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ให้งานทุกอย่างสำเร็จผล เป็นความดีความเจริญทั้งแก่ตนเอง แก่ส่วนรวมและประเทศชาติเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

        ในการนี้ ข้าพเจ้าขอปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับประชาชนชาวไทยโดยเต็มกำลังความสามารถ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานเช่นกัน…”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-dd2a34930f33be97d0615e4710416eed' }}

พระราชดำรัสเนื่องในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตวันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-739167853c2289a6e917903514979eec' }}

“…ขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงคุ้มครอง ได้ทรงชี้แนะ และปกปักรักษาพวกท่าน เพราะว่าตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงปฏิบัติมามาก และหลายอย่างได้พระราชทานพระราชดำริ และพระราชทานแนวทางไว้ก็ขอฝากให้ท่านได้ศึกษาพระราชดำริ ศึกษาวิเคราะห์ พระราชปณิธานและศึกษาพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติมา อันนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นสิริมงคลและเป็นยิ่งกับพระที่คุ้มครองพวกเรา การปฏิบัติตามหรือการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ หรือระลึกถึงพระราชดำริหรือพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนี้จะเป็นพระ เป็นแสงสว่าง ที่คุ้มครองหรือแนะนำพวกเราต่อไป สุดท้ายก็ขอแสดงความปรารถนาดีด้วยตัวของข้าพเจ้าเอง และขอให้ทุกคนได้มีสติปัญญา มีกำลังใจ มีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป…”


พระราชดำรัสพระราชทานแก่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

วันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

หน้าที่3

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระราชประวัติ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-ee08b4bff0c90870da338f15253ba7f0' }}

ในวันมหิดล ๒๔ กันยายน ของทุกปี เพื่อการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงกตัญญูกตเวที ต่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ผู้ซึ่งเป็นดั่งพระประทีปแก้วของการพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวหน้าอย่างตะวันตก คำสอนของพระองค์ที่ว่า “…ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง…” นั้น มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดอัตลักษณ์หรือวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้านหนึ่ง คือ “การมุ่งผลเพื่อผู้อื่น (Altruism)” นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาชุมชนโดยจัดตั้ง “กลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการจากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยได้ใช้ความรู้ ความสามารถพัฒนาสังคม ร่วมกับชุมชน และมหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มการขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เพื่อการเชื่อมโยงภารกิจหลักทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย เข้าด้วยกันอย่างมี ยุทธศาสตร์และเป็นระบบ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยและระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนงานวิจัยชุมชน ดังปณิธาน “ปัญญาของแผ่นดิน” ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลจึงรับเป็นภาระหน้าที่หนึ่งในการยังวิชาการหลักของส่วนงานนั้น ๆ ประยุกต์พัฒนาก่อเกิดโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่สังคมร่วมกับชุมชนโครงการต่าง ๆ ที่มีต่อชุมชนของส่วนงานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในรอบปีงบประมาณ ที่แล้วมา มีดังต่อไปนี้

พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ ๑๔ และ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ตั้งถวายตามดวงพระชะตา ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”

กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ณ โรงเรียนจิตรลดาชั้นอนุบาล ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต

มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ทรงเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนคิงสมีด (King’s Mead School) เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ

กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ (Millfield School) เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ

สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ – พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ (The King’s School) เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. ๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหาร ดันทรูน (Royal Military College, Duntroon) กรุงเคนเบอร์รา และทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านการทหาร) คณะการศึกษาด้านการทหาร มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๙

พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจำชุดที่ ๕๖

พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๓๐ ทรงศึกษาด้านกฏหมาย และทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. ๒๕๓๓ ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักร Defence Academy of the United Kingdom)

นอกจากนี้พระองค์ท่านทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหารและการบิน

พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย

วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณให้ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ปรากฏพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรสิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์มหิตลพงศอดุลยเดชจักรีนเรศยุพราชวิสุทธสยามมกุฎราชกุมาร”

พระราชพิธีทรงผนวช

วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณให้ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ปรากฏพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรสิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์มหิตลพงศอดุลยเดชจักรีนเรศยุพราชวิสุทธสยามมกุฎราชกุมาร”

กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ สืบราชสันตติวงศ์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงผนวช เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จ

พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) เป็นพระราชอุปธยาจารย์ทรงได้รับการถวายพระสมณนามว่า “วชิราลงกรโณ”

ประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน

พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-b0a76e9926f6bf28a4b06cc85f447070' }}

๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มาในงานพิธี “วันมหิดล” ณ โรงพยาบาลศิริราช ทรงวางพวงมาลา และถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

จากนั้นประทานเข็มสมนาคุณแก่ผู้มีอุปการะคุณกิตติมศักดิ์ และรางวัลแก่นักศึกษาแพทย์ผู้ชนะการประกวดเรียงความเนื่องใน “วันมหิดล” โดยได้เสร็จพระราชดำเนินมาในพิธีวางพวงมาลา ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน (ในภาพคือ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยเสด็จฯ ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๐๘, ๒๕๒๑-๒๕๒๕, ๒๕๒๗-๒๕๒๘, ๒๕๓๑, ๒๕๓๔-๒๕๓๗ และพ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน)

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-44624af491550b9829d88f3e069d3c74' }}

๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ มาทรงประกอบพิธีเปิดตึก “พระยาและคุณหญิง หริศจันทร์ สุวิท” และตึก“ยากัตตราม วิตตา วันดี ปาวา”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-f03e9c155eb171c7709cda7bba035700' }}

๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ณ สวนอัมพร ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-5241e92b3dee6c0e77f2dcc92ad2dd86' }}

๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิตติคุณ มาในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ในโอกาสนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อินทรียเคมี) ด้วย

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-3a247fc50826289d24484fec16d4f332' }}

๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-63920d8af5f561b7490eed902ee14a8f' }}

๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์กลุ่มอาคารอำนวยการ (อาคาร ๑) อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (อาคาร ๒) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-7df8784c0c77a79dc558e4ff6754310f' }}

๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ” ณ โรงพยาบาลศิริราช

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-1e482c9e377b76f3e01bfd1668326806' }}

๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาในพิธีเปิดตึกหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย “มหิตลาคารสมเด็จพระราชปิตุจฉา” ณ โรงพยาบาลศิริราช

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-06bfeb44aff289a8f9c87cbd10d59702' }}

๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ปีการศึกษา ๒๕๒๓

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ปีการศึกษา ๒๕๔๓

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ปีการศึกษา ๒๕๕๔

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารสาธารณสุขแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร


บรรณานุกรม

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๘). จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร.

        นครปฐม : กรม. (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕).

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ. (๒๕๕๐). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๘. 

        พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัทเกรย์ แมทเทอร์ จำกัด.

กัลยา แสงเรือง และคนอื่นๆ. (๒๕๔๕). ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มหาวิทยาลัยมหิดล. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล. (ตั้งแต่เล่มปีการศึกษา ๒๕๒๓-๒๕๕๔).

มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๔๑). หนังสือที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์

        มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. (พิมพ์เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

        เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 

        วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๑)

สถาบันพระปกเกล้าและสถาบันราชภัฏธนบุรี. (๒๕๔๕). หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ 

        สยามมกุฎราชกุมาร ครบ ๕๐ พรรษา. กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันราชภัฏธนบุรี

สุขใจ พนิชศักดิ์พัฒนา และคนอื่นๆ. (๒๕๔๕). ๔๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิกาญจนบารมี.

สำนักราชเลขาธิการ. (๒๕๑๒) พระราชกรณียกิจระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๑๑ – กันยายน ๒๕๑๒. กรุงเทพฯ.

สำนักราชเลขาธิการ. (๒๕๑๔) พระราชกรณียกิจระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๑๓ – กันยายน ๒๕๑๔. กรุงเทพฯ.

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๕๔). ความทรงจำแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

อนันต์พัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์ และสุรางค์ วิเศษมณี. (๒๕๓๙). ๕๐ ปี ในหลวงกับศิริราช. กรุงเทพฯ : ทรี-ดี สแกน.

ขอบคุณภาพและข้อมูล

– สำนักราชเลขาธิการ

– หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ศิริราช

– สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

– กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี

– ดร.สัณห์ พันธ์อุไร หัวหน้าแผนกกองบำรุงรักษาทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

– ผศ.ดร.วรรณสิริ พันธ์อุไร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– นายแดง ลมสูงเนิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.