มรดกความทรงจำ

The Memories

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล


ลายพระหัตถ์ต้นฉบับ สมเด็จพระเทพฯ ในด้านเพลงไทย จำนวน 2 เนื้อเพลง

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ขณะทรงเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พระราชทานกาพย์บทเห่กล่อมบทหนึ่งคัดด้วยลายพระหัตถ์งดงามแก่นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล

นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล จึงนำมาปรึกษาอาจารย์เจริญใจ  สุนทรวาทิน ว่าควรจะใช้เพลงใดขับร้อง อาจารย์เลือกทำนองเพลงเต่าเห่ 2 ชั้น แต่เมื่อนำมาขับร้องแล้ว ปรากฏว่า ยังมีพระราชนิพนธ์เหลืออยู่อีก 2 คำ จึงได้ทดลองร้องด้วยเพลงเต่าเห่ แล้วมอบให้นายประพจน์ อัศววิรุฬหการ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและขอพระราชทานตัด 2 คำสุดท้ายออก ซึ่งเมื่อฟังเป็นเพลงแล้วรู้สึกว่า เพลงจบลงพอดีตรงคำว่า “นิทราให้สำราญ” ก็ทรงพระกรุณาให้ตัดได้ และในการพิมพ์บทร้องได้รับสั่งให้ใส่บทเดิมที่ถูกตัดออกนั้นไว้ด้วย โดยใส่ไว้ในวงเล็บ หากจะมีผู้นำไปใช้ขับร้องในแนวอื่น อาจจะใช้ได้ครบทั้งหมดตามที่พระราชนิพนธ์ไว้ในรูปแบบเดิม บทพระราชนิพนธ์นี้มีชื่อเสียงมากกว่าเป็นเพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อความไพเราะสอนใจได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะเนื้อความเป็นการกล่อมเด็กให้นอน และสอนให้เป็นคนดี เมื่อเติบโตจะได้เป็นกำลังและพลเมืองดีของชาติ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงขอพระราชทานไปตีพิมพ์ในหนังสือเพื่อเผยแพร่ไปยังแม่และเด็ก เดิมทีเดียว เพลงนี้อาจารย์เจริญใจเป็นผู้ขับร้องออกอากาศทางสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 เป็นครั้งแรก และคณะเสริมมิตรบรรเลง ได้นำไปบันทึกเสียงอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีพ.ศ. 2520 เป็นการขับร้องหมู่ประสานเสียง ท้ายสุดได้มีการบันทึกเสียงเผยแพร่โดยมีวงปี่พาทย์ไม้นวม ร้อยเอกเสนาะ  หลวงสุนทร เป็นผู้บรรเลง และคณะของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นผู้ขับร้อง

เพลงเต่าเห่

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ขณะทรงเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พระราชทานกาพย์บทเห่กล่อมบทหนึ่งคัดด้วยลายพระหัตถ์งดงามแก่นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล

นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล จึงนำมาปรึกษาอาจารย์เจริญใจ  สุนทรวาทิน ว่าควรจะใช้เพลงใดขับร้อง อาจารย์เลือกทำนองเพลงเต่าเห่ 2 ชั้น แต่เมื่อนำมาขับร้องแล้ว ปรากฏว่า ยังมีพระราชนิพนธ์เหลืออยู่อีก 2 คำ จึงได้ทดลองร้องด้วยเพลงเต่าเห่ แล้วมอบให้นายประพจน์ อัศววิรุฬหการ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและขอพระราชทานตัด 2 คำสุดท้ายออก ซึ่งเมื่อฟังเป็นเพลงแล้วรู้สึกว่า เพลงจบลงพอดีตรงคำว่า “นิทราให้สำราญ” ก็ทรงพระกรุณาให้ตัดได้ และในการพิมพ์บทร้องได้รับสั่งให้ใส่บทเดิมที่ถูกตัดออกนั้นไว้ด้วย โดยใส่ไว้ในวงเล็บ หากจะมีผู้นำไปใช้ขับร้องในแนวอื่น อาจจะใช้ได้ครบทั้งหมดตามที่พระราชนิพนธ์ไว้ในรูปแบบเดิม บทพระราชนิพนธ์นี้มีชื่อเสียงมากกว่าเป็นเพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อความไพเราะสอนใจได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะเนื้อความเป็นการกล่อมเด็กให้นอน และสอนให้เป็นคนดี เมื่อเติบโตจะได้เป็นกำลังและพลเมืองดีของชาติ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงขอพระราชทานไปตีพิมพ์ในหนังสือเพื่อเผยแพร่ไปยังแม่และเด็ก เดิมทีเดียว เพลงนี้อาจารย์เจริญใจเป็นผู้ขับร้องออกอากาศทางสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 เป็นครั้งแรก และคณะเสริมมิตรบรรเลง ได้นำไปบันทึกเสียงอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีพ.ศ. 2520 เป็นการขับร้องหมู่ประสานเสียง ท้ายสุดได้มีการบันทึกเสียงเผยแพร่โดยมีวงปี่พาทย์ไม้นวม ร้อยเอกเสนาะ  หลวงสุนทร เป็นผู้บรรเลง และคณะของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นผู้ขับร้อง

ไทยดำเนินดอย

ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปทอดพระเนตรโครงการชลประทาน เนื่องจากต้องเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทขึ้นภูเขาน้อยใหญ่หลายแห่ง จนมีรับสั่งว่า “เดินขึ้นเขาเหนื่อยหนักหนา” จึงพระราชนิพนธ์บทเพลงพระราชทานชื่อว่า ไทยดำเนินดอย เพื่อล้อเพลงลาวดำเนินทรายและลาวดำเนินเกวียน ของเก่า ได้พระราชทานมายังนายแพทย์พูนพิศอมาตยกุล ให้เป็นผู้ขับร้องคนแรก โดยมีพระบัญชาให้ใช้ทำนองเพลงลาวดำเนินทรายขับร้องสองเที่ยว ในเที่ยวกลับนั้น โปรดให้ใช้เพลงลาวดำเนินทรายทางเปลี่ยนของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) คณะเสริมมิตรบรรเลง บันทึกเสียงด้วยวงปี่พาบย์ไม้นวม ออกอากาศครั้งแรกในรายการสังคีตสยาม ณ สถานีวิทยุ จ.ส.เอฟเอ็ม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2523 และออกซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามคำร้องของผู้ฟัง ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ต่อมาได้มีผู้นำไปขับร้องในโอกาสต่างๆ จนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย รวมทั้งในการแสดงมหกรรมดนตรีประถมศึกษา ซึ่งมีนักเรียนแต่งตัวเป็นชาวเขา แสดงท่าประกอบเพลงนี้เป็นจำนวนมาก และได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรด้วย ต่อมาได้บันทึกเสียงเผยแพร่โดยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง นายแพทย์พูน อมาตยกุล เป็นผู้ขับร้อง

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.