จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

การขอพระราชทานที่ดิน ณ ศาลายา

ตุลาคม 2, 2020

การขอพระราชทานที่ดิน ณ ศาลายา

จดหมายเหตุ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดฃ

[brizy_breadcrumbs ]

การขอพระราชทานที่ดิน ณ ศาลายา


{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-c2c6b06688be102a33e794426748cdac' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-5ba229a358f39e3adab944ed3a915079' }}

พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขายที่ดิน ที่ตำบลศาลายาให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล

“… ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน ได้ทราบจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ว่ามีที่ว่างอยู่ที่ศาลายา ประมาณ ๑,๒๔๑ ไร่เศษ เป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะขายตารางวาละ ๓๐,๐๐๐ บาท ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าเหมาะ สำหรับจะขยายกิจการของมหาวิทยาลัยออกไปในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า แต่เพื่อประโยชน์ของการศึกษา น่าจะลดลง เหลือไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาทได้

ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๒ จึงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนนีที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน พร้อมกับรองอธิการบดี และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เพื่ออัญเชิญพระองค์ท่านเป็นประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยมหิดล มี ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์ และ ฯพณฯ พจน์ สารสิน เป็นรองประธาน พร้อมด้วยกรรมการประมาณ ๓๕ คน กรรมการท่านหนึ่ง คือ หม่อมทวีวงศ์ ถวัลยศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พระองค์ได้พระราชทานพระมหากรุณา จัดให้มีการประชุมครั้งแรกที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ และจัดให้หม่อมทวีวงศ์ฯ นั่งชิดพระองค์ท่านทางด้านซ้าย ในระหว่างเจรจากันถึงเรื่องมหาวิทยาลัยมหิดลอยากได้ที่ชิ้นนี้เพื่อขยายกิจการออกไป ฯลฯ หม่อมทวีวงศ์ฯ ก็กราบทูลว่าทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ตั้งราคาไว้ ไร่ละ ๓๐,๐๐๐ บาท พระองค์ท่านก็เอาพระหัตถ์โอบที่ไหล่ แล้วค่อยๆ ต่อราคาลดลงจนเหลือ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ก็อ้างว่ายังจะต้องนำเข้าเสนอกรรมการทรัพย์สินฯ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอีกด้วย พระองค์ท่านรับสั่งว่า เรื่องนี้ไม่เป็นไร หมอชัชวาลคงจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยได้

ตกลงมหาวิทยาลัย จะต้องจ่ายทั้งหมด ๑๒,๔๒๐,๔๗๕ บาท เมื่อจ่ายครึ่งหนึ่งของราคาแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้โอนให้ได้ ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง ให้ชำระให้หมดภายใน ๕ ปี คิดดอกเบี้ย ๗% ในปีต่อมาทางสำนักงบประมาณก็กรุณาจัดสรรเงินให้ทั้งหมด โดยมิต้องเสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด …”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-ff0637eda84db121890f5e052c1c45ab' }}
{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-b49723c7a5c23bcfb3756cab46d00a48' }}

มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา : ปฐมบท และปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนามาจากโรงศิริราชพยาบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๙) โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาราษฎร์ อาศัยพื้นที่บริเวณวังหลังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาล ดำเนินการดูแลรักษาประชาราษฎร์เรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๓๒ โรงศิริราชพยาบาลกลายมาเป็น โรงเรียนแพทยากร เพื่อผลิตแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถในการรักษาผู้ป่วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่แก่โรงเรียนแพทยากร ว่าโรงเรียนราชแพทยาลัย การผลิตแพทย์ยังคงเป็นเป้าหมายหลัก และมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จนต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงมีการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งมีการพัฒนา และดำเนินกิจการเรื่อยมาจนได้รับพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒

…มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายที่จะดำเนินการพัฒนางานต่าง ๆ อันเป็นภารกิจ ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้แก่ การผลิตบุคลากรที่จะไปประกอบวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ การให้บริการทางวิชาการและสุขภาพต่อสังคม การวิจัยและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยสรรสร้างสังคมไทยให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป…”

พ.ศ. ๒๕๑๓ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายพื้นที่การศึกษา โดยขอซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ติดกับทางรถไฟสายใต้ ตรงข้ามกับสถานีรถไฟศาลายา เนื้อที่ ๑,๒๔๐ ไร่ ๓ งาน ๖๙ ตารางวา เพื่อรองรับนักศึกษาได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ และ ๒ ของมหาวิทยาลัย และนักศึกษาชั้นปีดังกล่าวจะถูกกำหนดให้เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ส่งผลให้สถานที่เรียนเดิมจะมีพื้นที่ว่างมากพอสำหรับรองรับนักศึกษาปีที่ ๓ ปีที่ ๔ และนักศึกษาปริญญาโทเอก นอกจากนี้ยังปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงการเพิ่มเติมสาขาที่จำเป็น โดยทางมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายในการเปิดการเรียนการสอนวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ และ ๒ เพิ่มเติม จากวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย สำหรับในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ศาลายา การวางแผนก่อสร้างอาคารยึดถือเป้าหมายของการจัดการศึกษา และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก โดย การออกแบบอาคารจึงเป็นแบบที่มีระเบียบเดียวกัน และสามารถดัดแปลงได้เต็มที่เหมาะสมกับประโยชน์ของการศึกษา ตัวอาคารที่สร้างไม่ใช่เพียงเพื่อรองรับนักศึกษาจำนวน ๓,๐๐๐ คน ในระยะแรกเท่านั้น แต่สามารถจุนักศึกษาได้ถึง ๑๕,๐๐๐ คน หากมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นในระยะเวลาต่อไป

การขอพระราชทานตราและสีประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-8ca242d58ff2b455a12b9849f058e254' }}

ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ  มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-3f3ebf90689f905cb6a3b1923a2de45b' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖

        วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ภายหลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารอื่น ๆ ตามมา ประกอบด้วย อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ อาคารพลศึกษา หอพักนักศึกษา หอพักอาจารย์ อาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร อาคารหอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาจึงเริ่มรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๕ จำนวน ๑,๐๐๐ คน เข้าเรียนและพักอาศัยภายในหอพักนักศึกษา นับเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่ได้เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันในมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ประกอบด้วยหน่วยงาน ๒๘ หน่วยงาน

(ข้อมูล ณ มีนาคม ๒๕๕๙)

“มหาวิทยาลัยมหิดล” ดำเนินกิจการมากว่า ๑๐๐ ปี มอบวิชาความรู้และให้บริการทางการแพทย์ต่อสังคมมาตั้งแต่ยุคโรงศิริราชพยาบาล จนกระทั่งกลายมาเป็น หาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นทั้งสถานศึกษาที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัยต่าง ๆ และเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการแก่สังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยพัฒนาและปรับปรุงสิ่งเหล่านี้อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สมดั่ง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีแก่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ครั้งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมชนกนาถให้เป็นนามของมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ความว่า

“…ให้พัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ตามความหมายและเพิ่มเติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์อีกด้วย…”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-1dd5eb270d5f6fb0bada9214c18ed3d4' }}

อาคารวิทยาศาสตร์

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-b883406192d3cbdbecfb49ddcd72fc5e' }}

อาคารอำนวยการ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-52511dab5b51169e6900dca065ff732e' }}

อาคารบรรยายรวม

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-d61c7a43731d27fa11854f086a8b45bf' }}

อาคารหอสมุด

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-e9a18a832bf2fee3786c7930afc6eb34' }}

อาคารเรียนสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

เปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๖

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-b7e10d86b4832236644bc2b97ac7130f' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินถึงมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น.

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-cb5b22dc87a1fed26e7651f5aad6b6d3' }}

ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากวันสถาปนาสู่วันพระราชทานนาม

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-9a094e46c4bc58d8c754801ca6e64b85' }}

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิบการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลรายงานและขอพระราชทานเชิญเสด็จ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดลขยายพื้นที่มา ณ ศาลายา ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มหาวิทยาลัยดำเนินการเรื่อยมา แม้จะพบปัญหาหลายประการระหว่างการดำเนินงาน แต่ด้วยความสำนึกในประวัติศาสตร์ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่มีมากว่า ๑๐๐ ปี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับผิดชอบในกิจการของมหาวิทยาลัยทุกระดับ และทุกสมัยพยายามเอาชนะอุปสรรคนานัปการ เพื่อให้การก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ดำเนินไปด้วยความถูกต้อง และเรียบร้อย

กระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา นับเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอย่างยิ่งและในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงร่วมงานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทรงดนตรี ณ อาคารพลศึกษา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยังความปลื้มปิติโสมนัสอันหาที่สุดมิได้

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-d2f7a402bce4803c9c496392c5a7a923' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-11d6f428dcf4c88ff684926740c08105' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ อาคารพลศึกษา โดยมีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและประชาชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-5eb6171f6f8426443f37c1716e4f53e0' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ อาคารพลศึกษา โดยมีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและประชาชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-efc2a9e1c5db1955c0aea69c427e66e7' }}

นักศึกษา และประชาชนถวายการแสดง ต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-f65c90eb858d8964a601e47d257a6bc3' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดนตรีเพลง “เต่าเห่” (ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง พ.ศ. ๒๕๑๙)

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-241d02e1d0ad60a2bb87e5235221a25c' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” บริเวณด้านหน้าอาคารพลศึกษา

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-9ff2bae4907eca209682e4c723cee94e' }}

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” บริเวณด้านหน้าอาคารพลศึกษา


อ้างอิง

มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๓๗). ๒๕ ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. กองแผนงาน. งานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. (๒๕๓๔). มหาวิทยาลัยมหิดล…ศาลายา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลินดา วงศานุพันธ์. (๒๕๒๖). รายงานการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ระยะที่ ๑ พ.ศ ๒๕๑๘-๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลินดา วงศานุพันธ์ (๒๕๒๘). รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างศาลายา ภายหลังระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์. (บรรณาธิการ). (๒๕๕๒). เทิดพระนาม มหิดล. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๑๕). แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ ๓ (๒๕๑๕-๒๕๑๙). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๒๖, ๗ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓. หน้า ๖.

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.