ประวัติและพัฒนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติและพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล : สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหิดลมีพัฒนาการจากโรงเรียนแพทย์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น และเริ่มเปิดการสอนใน พ.ศ. 2432 โดยให้อยู่ในโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นและเปิดทำการเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2431 ซึ่งประวัติและพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหิดลมีการแบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้
เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้น เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย
22 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มดำเนินการ ก่อสร้าง ณ บริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)
31 พฤษภาคม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสได้ประชวรด้วยโรคบิดสิ้นพระชนม์ ทำให้ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าให้มีโรงพยาบาล ด้วยพระราชทานสิ่งของ และเงินพระมรดกของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ แก่โรงพยาบาล
1 มกราคม นพ. ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์
นักเรียนแพทย์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์จำนวน 9 คน
31 พฤษภาคม ตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5) พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้าง โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย
3 มกราคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนราชแพทยาลัย”
นพ. ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการทั้งฝ่ายโรงพยาบาล และฝ่ายโรงเรียนแพทย์
โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาแพทย์โดยเพิ่มวิชาทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ขยายหลักสูตรแพทย์เป็น 5 ปี และรับนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นผู้บัญชาการราชแพทยาลัย เลิกการสอนวิชาแพทย์ไทยในหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร และให้เปิดสอนประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา (เภสัชศาสตร์) หลักสูตร 3 ปี
26 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็น "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
6 เมษายน รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"
ขยายหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตรเป็น 6 ปี โดย 4 ปีแรกเรียนวิชาเตรียมแพทย์และปรีคลินิกที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ 2 ปีหลังเรียนวิชาคลินิกที่ศิริราช
ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ชาวอเมริกันที่เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2462-2464 และ 2466-2471
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ ซึ่งมูลนิธิฯ ส่งนายแพทย์ ริชาร์ด เอม เพียร์ส เข้ามาเจรจากับกระทรวงธรรมการ โดยกราบทูลเชิญสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเพื่อตกลงในหลักการ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช พระราชทานเงินค่าก่อสร้าง “ตึกศัลยกรรมชาย” ภายหลังเสด็จสวรรคตแล้วจึงได้ใช้ชื่อว่า “มหิดลบำเพ็ญ” เพื่อเป็นอนุสรณ์ และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
รับนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกจากนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และขยายความช่วยเหลือไปถึงโรงเรียนพยาบาล และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย
21 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้างตึกต่างๆ และกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
นิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
24 กันยายน ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง สมเด็จฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) นิสิตแพทย์ได้รับเกียรติฯ ให้อัญเชิญเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในริ้วขบวน
25 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตให้แพทย์ปริญญารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานเหรียญรางวัลให้ผู้ที่ได้คะแนนเป็นเยี่ยม เป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของไทย
คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัดกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยขึ้นครั้งแรก จนเป็น “ประเพณีข้ามฟาก” มาถึงปัจจุบัน
ศ. นพ. หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (17 เมษายน 2488 - 15 กันยายน 2500)
25 พฤษภาคม จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตามพระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2491 และจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มระบบแพทย์ฝึกหัดซึ่งกำหนดให้แพทย์จบการศึกษาใหม่ต้องไปฝึกหัดในโรงพยาบาลที่ทางการรับรองเป็นเวลา 1 ปี จึงขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบันได้ ระหว่างฝึกหัดได้รับเงินเดือนและสวัสดิการด้านที่พักอาศัยและอาหาร
จัดตั้งศูนย์วิจัยประชากรและสังคม
7 มิถุนายน จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท
11 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดประชุม ครั้งแรก ณ วังสระประทุม มีการพิจารณาเรื่องขอซื้อที่ดินที่ ต. ศาลายา จ. นครปฐม เพื่อขยายกิจการของมหาวิทยาลัยมหิดล
30 มกราคม ยกฐานะโครงการการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน
18 ธันวาคม จัดตั้งศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบการขยายพื้นที่ทำการของมหาวิทยาลัย ไปยัง ต. ศาลายา อ. นครชัยศรี (ปัจจุบันคือ อ. พุทธมณฑล) จ. นครปฐม
18 สิงหาคม จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
ศ. เกียรติคุณ นพ. นที รักษ์พลเมือง ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ.2535-2549)
21 กันยายน จัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
27 มิถุนายน จัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
14 ตุลาคม จัดตั้งโครงการจัดตั้งสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม
25 สิงหาคม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์กรมหาชน
17 ธันวาคม จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์
1 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี
1. สำนักคอมพิวเตอร์ มาเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท เป็น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
3. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน เป็น สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
4. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ รวมเป็น สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
5. สถาบันวิจัยโภชนาการ เป็น สถาบันโภชนาการ
6. สำนักหอสมุด เป็น หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
7. โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล กาญจนบุรี เป็น วิทยาเขตกาญจนบุรี
8. โครงการจัดตั้งคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ เป็น คณะกายภาพบำบัด
9. โครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ เป็น คณะศิลปศาสตร์
10. โครงการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็น สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
11. โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น วิทยาลัยนานาชาติ
12. โครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.