Digital Museum

กับการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้

“Digital Museum กับการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้”


โดย

คุณวิรยาร์ ชำนาญพล ผู้อำนวยการกลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

คุณกฤชณรัตน สิริธนาโชติ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลมิวเซียม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

และผู้ดำเนินรายการคือ คุณประชา สุขสบาย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์


คุณประชาได้พูดถึงประเด็น Digital Museum กับการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ โดยต้องการให้วิทยากรได้อธิบายความหมายของ Digital Museum ในมุมมองและความคิดของทั้งสองท่านว่ามีความเห็นอย่างไรบ้าง

คุณวิรยาร์ได้อธิบายว่า Digital Museum ของกรมศิลปากรหมายถึง การพัฒนาประยุกต์ให้นำเอาดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อให้มิวเซียมสามารถทำงานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คุณกฤชณรัตนได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่สามารถให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น โดยที่ ไม่ต้องเดินทาง อยู่บ้านดูได้ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีเช่น ทางกรมและมิวเซียมสยามมีเว็บไซต์ก็สามารถหาสาระต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้นถือว่าเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก

ช่วงสถานการณ์โควิด 19 พิพิธภัณฑ์ต่างประเทศมี 500 กว่าแห่ง เปิดให้เข้าถึงทางออนไลน์ดังนั้นแล้ว Digital Museum กับโลกออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างไร คุณกฤชณรัตนได้อธิบายว่า ดิจิทัลกับออนไลน์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากดิจิทัลมาหลังคำว่าออนไลน์ ออนไลน์เป็นเรื่องของอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ เมื่อคนให้คำจำกัดความคำว่าดิจิทัล ดิจิทัลเลยรวมเรื่องของมีเดียเข้าไปไม่ใช้แค่ เทคโนโลยี เรื่องของเว็บ เรื่องของเทคนิคนำเสนอ แต่เป็นเรื่องของมีเดียต่าง ๆ ที่นำมาสอดแทรก เพื่อให้เพิ่มประสบการณ์และเพิ่มอรรถรสในการใช้งาน


คุณวิรยาร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นคนที่เล่นเทคโนโลยีหรือเป็นคนที่ใส่ใจการเล่นอินเทอร์เน็ตจะไม่แยกคำว่าออนไลน์กับคำว่าดิจิทัล เพราะสิ่งที่มันออนไลน์อยู่ได้มันจะต้องเป็นดิจิทัล

คุณประชาได้สอบถามเกี่ยวกับดิจิทัลจะมีศัพท์เกี่ยวกับมิวเซียมเยอะเช่น ที่ญี่ปุ่นเราก็จะเห็นมิวเซียมที่เป็น Digital Art Museum ปัจจุบันในประเทศไทยก็เริ่มมีลักษณะของมิวเซียมที่เป็น Digital Art เข้ามาสิ่งนี้เป็นพัฒนาการของคำเรียกหรือว่าเป็นวิธีการจัดแสดง

วิทยากรทั้งสองท่านได้มีความเห็นที่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าน่าจะเป็นประเภทของมิวเซียมที่ใช้แตกต่างกันออกไปในแต่ละรูปแบบ คุณวิรยาร์อธิบายว่า หากพูดถึงมิวเซียมธรรมดาจะมีพิพิธภัณฑ์หลากหลายเช่น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ดังนั้น Digital Art Museum น่าจะหมายถึงการ เอางานอาร์ตที่เป็นดิจิทัลขึ้นมาทำในรูปแบบมิวเซียม

ปัจจุบันจะเห็นแกลลอรี่ หรือพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการหมุนเวียนนิทรรศการที่สร้างแรงบรรดาลใจจากงานศิลปะผสมผสานกับเพลง และสื่อต่าง ๆ เทคนิคในการนำเสนอคอนเทนต์ให้ดูน่าสนใจมากกว่าการฟังหรือการดูอย่างอย่างเดียว ในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับ Digital Museum ของมิวเซียมสยาม คุณกฤชณรัตนได้อธิบายว่า ส่วนมากมิวเซียมสยามมีนิทรรศการถาวรและมี Virtual Museum ซึ่ง Virtual Museum เป็นการจำลองหรือปั้นโมเดลขึ้นมาให้ความรู้สึกเหมือนการเล่นเกมส์เช่น เกมส์ Minecraft ตัวละครสามารถเข้าไปเดินเล่นและดูเนื้อหานิทรรศการได้ทั้งหมด อีกรูปแบบหนึ่งคือรูปแบบ 360 องศา เป็นการถ่ายภาพและเอาคอนเทนต์ไปแปะไว้บนภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พิพิธภัณฑ์อื่นสามารถทำได้เนื่องจากมีเครื่องมือเข้ามาช่วย อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด มิวเซียมสยามมีการทำ AR (Augmented reality) และมีอุปกรณ์ช่วยเล่นผู้เข้าชมสามารถโหลดแอปพลิเคชันและใช้โทรศัพท์ของตัวเองในการเดินดูเนื่องจาก พอเอากล้องไปส่องก็จะเห็นข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นมา รวมถึงมีการนำ Virtual เข้าไปทำไซต์มิวเซียมซึ่งเป็นมิวเซียมใต้ดินที่ไม่มีอยู่แล้วเพื่อจำลองให้ผู้คนได้เห็น

ซึ่งความแตกต่างของ AR (Augmented reality) และ VR (Virtual reality) วิทยากรทั้ง 2 ท่านได้อธิบายเอาไว้ว่า คุณกฤชณรัตนอธิบายว่า AR (Augmented reality) จะพูดถึงวัตถุเป็นหลักเทคนิคนี้จะต้องมีวัตถุหรือจุดที่เรียกว่าจุดมาร์ค และคุณวิรยาร์อธิบายเพิ่มเติมว่า VR (Virtual reality) มาจากคำว่า Virtual reality คือการทำให้เราเสมือนไปที่นั้นจริงยกตัวอย่างเช่น ห้อง 1 ห้อง ถูกถ่ายรูปให้มีแนวลึกและแนวกว้างซึ่งจะนำเอา AR (Augmented reality) เข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มความเสมือนนั้น


ในส่วนของ Digital Museum ที่ทางกรมศิลปากรได้ทำขึ้นมานั้นคุณวิรยาร์ได้อธิบายว่า ประมาณ 20 ปีที่แล้วยังไม่มีดิจิทัลข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บด้วยกระดาษจึงมีฐานข้อมูล ในช่วงนั้นกรมศิลปากรหาวิธีนำข้อมูลโบราณวัตถุทั่วประเทศที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออกแสดงให้ผู้คนสืบค้นได้ง่ายที่สุด โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลด้วยภาพถ่ายเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน กรมศิลปากรจึงนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เริ่มต้นจากการถ่ายภาพสามมิติโบราณวัตถุและถ่ายทำเป็น virtual Museum หรือพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ซึ่งทำมาตั้งแต่ช่วงยังไม่มีสถานการณ์โควิดเมื่อถ่ายทำเสร็จพิพิธภัณฑ์ 40 แห่งถูกปิด กรมศิลปากรจึงได้เปิดให้เที่ยวพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกแบบออนไลน์

ขั้นตอนในการทำจะเริ่มต้นด้วยการคิดคอนเทนต์ ซึ่งคอนเทนต์ของกรมศิลปากรคือ ชิ้นเด่น ชิ้นเยี่ยมของชาติ จากนั้นนำเอาโบราณวัตถุมาใช้เทคนิคในการถ่ายทำ ในช่วงแรกจะถ่ายภาพด้วยกล้องและนำมาปั้นภายหลังมีเทคโนโลยี 3D สแกนทำให้สร้างโมเดลได้ง่ายขึ้น เป็น digital conservation โดยการนำเอานิทรรศการที่ปิดตัวไปแล้วมาทำเป็นนิทรรศการเสมือนจริงเข้าไปไว้ในระบบออนไลน์ และหลังจากนั้นได้พัฒนาเป็น Smart Museum ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสามารถส่อง AR (Augmented reality) QR เพื่อเก็บข้อมูลกลับไปอ่านบนมือถือหรือที่บ้านโดยแอปพลิเคชันจะทำหน้าที่เป็นเหมือนไกด์ส่วนตัว กรมศิลปากรได้เก็บข้อมูลซึ่งแสดงให้เห็นว่า Digital Museum ไม่ได้เข้ามาแทนที่มิวเซียมที่แท้จริง มิวเซียมจริงยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งที่ผู้คนเข้าไปใช้ไปเยี่ยมชมผลงานศิลปะ โบราณวัตถุ ยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์ของกรมศิลปากรเราไม่เป็นเพียงแค่พิพิธภัณฑ์แต่ยังเป็นโบราณสถานอีกด้วยเราเก็บข้อมูลช่วงโควิด ประชาชนที่ดูพิพิธภัณฑ์ออนไลน์เมื่อพิพิธภัณฑ์จริงกลับมาเปิด ประชาชนก็กลับเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ของจริงมากขึ้นสะท้อนว่า Digital Museum เป็นส่วนเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวอยากไปดูของจริง

กรมศิลปากรเห็นว่าประชาชนเวลาสนใจมิวเซียมหรือสนใจมรดกวัฒนธรรมมักจะเป็นกลุ่มๆเล็กเราต้องเปิดให้คนรุ่นใหม่ เด็ก เยาวชน หรือว่า นักcreateคอนเทนต์ต่าง ๆ เข้าถึงกรมศิลปากรหรือเข้าถึงข้อมูลของเรามากขึ้นหลังจากที่เปิดพิพิธภัณฑ์ได้มีการแข่งขันการผลิตเกมส์สร้างสรรค์แต่เกมส์นี้ต้องมาจากพิพิธภัณฑ์ ชื่อว่า fit game jam ให้โจทย์ว่าดึงข้อมูลในพิพิธภัณฑ์มาสร้างเกมส์ได้ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมก็ได้นำโบราณวัตถุมาคิดเป็นแบบเกมส์ยกตัวอย่าง เกมส์นำธรรมจักรมาสร้างเป็นเกมส์ โดยการตามหาธรรมจักรเพื่อรวบรวมให้ครบแล้วจะได้รับพลังตรงกับรูปแบบของโบราณวัตถุที่แตกหักหรือชำรุด อีกหนึ่งโครงการคือ โครงการพิพิธภัณฑ์บันดาลใจ ซึ่งเป็นการเชิญเด็กสายcreate ที่ทำงานผลิตภัณฑ์ให้เข้ามาในพิพิธภัณฑ์เพื่อนำเอาลวดลายไปเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างสินค้า เป้าหมายคืออยากให้ประชาชนได้นำข้อมูลไปสร้างสรรค์ต่อยอดเพิ่มมูลค่าเพื่อให้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืนจากรากฐานวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

คุณกฤชณรัตนอธิบายเพิ่มเติมว่า เหมือนกับการทำ Marketing เป็นการโฆษณาทำให้คนสนใจ

ประเด็นคำถามที่มีความน่าสนใจของผู้เข้าร่วมสัมมนาและถูกนำมาสอบถามวิทยากรทั้ง 2 ท่านคือ พิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีวัตถุโบราณสำคัญถ้าจะทำมิวเซียมออนไลน์จะน่าสนใจมั้ย ทำยังไงให้น่าสนใจ

คุณกฤชณรัตนได้อธิบายว่า หัวข้อคอนเทนต์ พิพิธภัณฑ์ต้องการสื่อสารอะไร ทำคอนเทนต์ให้ดูน่าสนใจและก็ทำให้เป็นออนไลน์ มิวเซียมสยามไม่ได้มีโบราณวัตถุ แต่เราเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่อง ผูกเรื่องขึ้นมาเล่าเขียน เหมือนการเขียนนิยายรูปแบบ virtual หรือรูปแบบ 360 องศา ไม่จำเป็นต้องมีวัตถุก็ทำงาน ออนไลน์ได้

คุณวิรยาร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า โบราณวัตถุนั้นจะมีหรือไม่มีไม่ได้เกี่ยวกับการจะสร้าง virtual Museum หรือว่าทำดิจิทัลออนไลน์คอนเทนต์ที่คุณต้องการสื่อสารคืออะไร เช่น มีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ เกี่ยวกับพรรณพืชคุณสามารถถ่ายรูปหรือถ่ายเป็น virtual ของตัวพรรณพืชออกมาแล้วสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ กรมศิลปากรได้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับ Digital Museum ก็ได้พบว่าประชาชนได้เข้ามาพิพิธภัณฑ์มากขึ้นจากการดู Digital Museum และได้พัฒนาเป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลประชาชนที่ได้เข้ามาพิพิธภัณฑ์พระนครจะได้รับริสแบนด์เพื่อ เก็บข้อมูล เมื่อหยุดอ่านป้ายก็จะเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาแนะนำเส้นทางการเดินชมได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่น FADiscovery ที่จะสามารถแนะนำเส้นทาง แนะนำเนื้อหา และสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังผู้เข้าชมได้ว่าสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ

คุณกฤชณรัตนได้อธิบายเสริมว่า สิ่งที่ทางกรมศิลปากรทำคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่มิวเซียมไทยแลนด์มีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านด้วยหากอยากเก็บข้อมูลแบบนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เทคโลยีเข้ามาช่วยก็ได้แต่ใช้การสังเกตว่าคนไปอยู่ที่จุดไหนเยอะ เขาอาจจะสนใจหรือเขาอาจจะไม่เข้าใจกับข้อมูล เราก็นำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุง

อีกหนึ่งคำถามที่ถูกเลือกขึ้นมาสอบถามวิทยากรทั้ง 2 ท่านคือ มีวิธีการอย่างไรให้เยาวชนในต่างจังหวัดได้มีส่วนร่วมทั้งออนไลน์และออนไซต์

คุณกฤชณรัตนได้อธิบายว่า การเข้าถึงของอินเทอร์เน็ตไม่เท่ากันบางพิพิธภัณฑ์ใช้ความละเอียดค่อนข้างสูงในการนำเสนอข้อมูล บางคนอาจจะเข้าถึงได้บางคนเข้าถึงไม่ได้ แต่การเข้าถึงข้อมูลเข้าถึงได้ไม่ยากเนื่องจากรัฐบาลได้มีการสนับสนุนเรื่องอินเทอร์เน็ตของหมู่บ้าน ส่วนเรื่องไปสถานที่จริงต้องมองว่าเกี่ยวกับสถานศึกษาที่จะสามารถจัดเป็นทริปในการไปเป็นหลักสูตร

คุณวิรยาร์ได้อธิบายเสริมว่า กรมศิลปากรก็ใช้สถานศึกษาเหมือนกันแต่เป็นลักษณะของ virtual Museum กับออนไลน์ไปให้อาจารย์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ Metaverse เป็นโลกแห่งความเสมือนจริงอีกหนึ่งโลก ต่อไปประชาชนจะเข้าถึงทุกอย่างบนโลกใบนี้ได้ งานพิพิธภัณฑ์ งานมรดกและวัฒนธรรม ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ เราอาจจะเปิด ให้ผู้คนสร้างเป็นนิทรรศการออนไลน์ได้ในอนาคต กรมศิลปากรทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับมรดก และวัฒนธรรมอยากให้ประชาชนสามารถใช้ข้อมูล มรดก และวัฒนธรรม มาสร้างสรรค์ต่อยอดมูลค่าเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ ยกระดับการศึกษา พัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

บทความโดย 

จีระศักดิ์ มาจันทร์

นลินทิพย์ ธงชัย

สิทธิชัย สระขุนทด

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

งานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-2

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.