พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558
จัดนิทรรศการ วันที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติขึ้น ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อมหาวิทยาลัยมหิดล นานัปการ โดยนำเสนอเรื่องราวอันทรงคุณค่า ที่อยู่ในความทรงจำของชาวมหิดล ในการเสด็จ พระราชดำเนินในพิธีการสำคัญของมหาวิทยาลัย เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และการถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พิธีเปิดอาคาร โครงการในพระราชดำริ ตลอดจนการพระราชทานชื่ออาคารต่างๆ ยังความปลาบปลื้มมายัง ชาวมหิดลในน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้น
อนึ่ง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้ดำเนินการรวบรวมพระราชกรณียกิจ และมหากรุณาธิคุณ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล และบันทึกเป็นความทรงจำร่วมของมหาวิทยาลัยสืบไป
อาคารระเบียบ คุณะเกษม
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
อาคารระเบียบ คุณะเกษม เป็นเรือนไทยของศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เริ่มสร้างวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ แล้วเสร็จในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ โดยใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีคุณระเบียบ คุณะเกษม เป็นผู้บริจาคเงินทุนให้ จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และทางมหาวิทยาลัยสมบทให้อีก ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้สร้าง ตามแบบอาคารพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้าฯ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยทางมหาวิทยาลัย มีความประสงค์ให้อาคารดังกล่าวเป็นแบบฉบับของเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย จึงได้เชิญ ทีมงานที่สร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้าฯ มาเป็นผู้สร้างอาคารหลังนี้ โดยมีวัตถุประสงค์จะใช้เป็น ที่เก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและพัฒนาชนบท และเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ และ การแสดงทางวัฒนธรรม
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “อาคารระเบียบ คุณะเกษม” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อาคารเรือนไทยดังกล่าวเป็นเรือนหมู่ ๕ หลัง มีชานแล่นถึงกันตลอด และมีศาลาริมน้ำอีก ๑ หลัง ได้ปลูกตามแบบแผนของเรือนคหบดีภาคกลาง ตัวอาคารได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ มากขึ้น ในห้องโถงของเรือนประธาน ใช้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ ห้องบรรยาย เสวนา หรือเป็น ห้องจัดพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนบริเวณชานและเรือนขวาง ใช้เป็นที่แสดงศิลปวัฒธรรม
อาคารระเบียบ คุณะเกษม จึงเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวมหิดล สมดังคำของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวว่า “ก็ดีแล้ว แม้ไม่คิดใช้ประโยชน์อะไร ก็ยังสมควรสร้างไว้ ต่อไปจะไม่มีคนสร้างได้”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ร่วมเป็นผู้บอกสักวากลอนสด
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ร่วมเป็นผู้บอกสักวากลอนสด
การเสด็จพระราชดำเนินเปิด “ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์” (อาคารระเบียบ คุณะเกษม) เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๐ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการแสดง สักวาหน้าพระที่นั่ง เรื่อง สังข์ทองตอนเลือกคู่ครั้งแรก และในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมเป็นผู้บอกสักวากลอนสดครั้งนี้ด้วย โดยพระองค์รับบทเป็น “รจนา”
ตัวอย่างสักวา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“…คุณสมชายร้อง เพลงตวงพระธาตุ ในบทนี้จบลงไม่เท่าไร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงย้ำถึงเหตุผลที่ไม่ยอมเลือกคู่ ซึ่งบทนี้แสดงทั้งอารมณ์ขันและ พระปฏิภาณในการหาข้อแก้ตัวได้อย่างน่าชื่นชม”
ลายพระหัตถ์พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บทรจนา (ตอบท้าวสามล – เหตุที่ไม่เลือกคู่)
บทนี้ทำให้ผู้คนปรบมือดังกึกก้องอีกครั้ง ด้วยทั้งขำและทั้งเห็นว่าเหตุผลที่ไม่ทรง เลือกคู่ครองนั้นน่าฟังนัก ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทเล่าว่า สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปรารภหลังจากทรงบทสักว่าบทนี้ว่า “ความจริงยังมีเหตุผล อีกตั้งมากมาย แต่กลอนมันบังคับให้เขียนได้เพียงแค่นี้” บทนี้คุณดวงเนตรขับร้องด้วย เพลงอัปสรสำอาง ซึ่งเหมาะทั้งชื่อเพลง ลีลาเพลง และทำนองอันไพเราะยิ่ง…”
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิราชสุดา เกิดขึ้นจากน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงทราบด้วยพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลในความจำเป็นที่คนพิการไทยจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทรงเชื่อในศักยภาพของคนพิการ ในอันที่จะศึกษาเล่าเรียนพัฒนาด้านอาชีพ และด้านอื่นๆ จนมีความพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข สามารถพึ่งตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ แต่สิ่งที่คนพิการส่วนใหญ่ยังขาดก็คือ โอกาส และที่สำคัญ ที่สุดก็คือ โอกาสทางการศึกษา
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ การจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่จะให้การสนับสนุนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ในการพัฒนาศักยภาพความพร้อมทางการศึกษา โอกาสในด้านการประกอบอาชีพ ตลอดจน คุณภาพชีวิตของคนพิการ พร้อมกันนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิราชสุดาขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยทรงเป็นสมเด็จองค์ประธาน มูลนิธิ เพื่อให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ที่จะเป็นการพัฒนาศักยภาพคนพิการ
ในวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน สร้อยพระนาม “ราชสุดา” อันเป็นมงคลนามสำหรับชื่อวิทยาลัยและมูลนิธิ ดังนั้น วิทยาลัยราชสุดา จึงถือเอาวันนี้เป็นฤกษ์กำเนิดของวิทยาลัย และกำหนดสีประจำวิทยาลัยเป็นสีชมพูอ่อน ตามสี ประจำวันอังคาร มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ในวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ตรงกับวันที่ระลึกมหาจักรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารอำนวยการวิทยาลัยราชสุดาอีกด้วย
ศ.เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ดำรงตำแหน่ง : ๒๖ ก.ย. ๒๕๓๖ – ๒๕ ก.ย. ๒๕๔๐
ต่อมา สภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๒๓๕ ได้มีมติแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยาลัยราชสุดาท่านแรก เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นไป และจากนั้นเป็นต้นมา วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดเตรียมอาคาร สถานที่ บุคลากร หลักสูตร การวิจัย และบริการวิชาการต่างๆ เพื่อให้บริการ แก่ผู้พิการ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงพร้อมดำเนินการเปิดหลักสูตรแรก และขยายบริการวิชาการอย่างกว้างขวางขึ้น กิจการของวิทยาลัยจึงได้ พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เกิดขึ้นเนื่องจากพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่ห่างไกลให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์ทรงมี พระราชดำริให้มีการจัดทำโครงการต่างๆ ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยโรงเรียน เช่น โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการ และโครงการควบคุม โรคขาดสารอาหารโปรตีน ซึ่งโครงการเหล่านี้ เป็นโครงการที่ปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสม นอกจากนี้แล้ว พระองค์ท่านยังมีพระราชดำริให้จัดงานวันแพทย์พระราชทานขึ้น เพื่อให้การตรวจรักษาแก่ราษฎรและการจัดหน่วยแพทย์พระราชทาน ในขณะที่พระองค์ ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรท้องถิ่นชนบท
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นว่าสุขภาพอนามัยช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ อย่างหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในชนบทที่ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริม ให้เกิดสุขภาพอนามัยที่ดีแก่นักเรียน ดังนั้น เพื่อสนองตามพระราชประสงค์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จึงได้จัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้การรักษาแก่นักเรียนและประชาชนตามพื้นที่ที่อยู่ใน โครงการพระราชดำริของพระองค์ท่าน กิจกรรมดังกล่าวได้จัดทำเป็นครั้งคราว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล ได้จัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ รับอาสาสมัครจากอาจารย์ ข้าราชการ และศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ออกให้บริการทันตกรรมแก่ นักเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ณ จังหวัดนครนายก เป็นจำนวน ๓ ครั้ง และในปี ๒๕๓๘ เป็นต้นมา คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้จัดให้มีการออกหน่วยทันตกรรมป้องกันให้แก่นักเรียน พระตำหนักสวนกุหลาบเป็นประจำ สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง
ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โดยได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล มีวัตถุประสงค์ให้บริการทันตกรรมตามโครงการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ และโครงการเกษตรเพื่อ อาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งหน่วยนี้ออกปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ถึงเดือนเมษายน ๒๕๔๑ รวม ๘ ครั้ง
ในการออกปฏิบัติงานหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ตามการเสด็จทรงเยี่ยมราษฎร ณ โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านเรดาร์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในนามของคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้กราบบังคมทูล รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมกับได้ถวายหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ของคณะฯ เพื่อถวายงาน ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านสืบไป และต่อมาในการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ตามการเสด็จทรงเยี่ยมราษฎร ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกป่าจิก จังหวัดสุรินทร์ ท่านคณบดีได้กราบบังคมทูลขอพระราชวินิจฉัยจัดตั้งหน่วยทันตกรรมพระราชทาน
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ พระองค์ท่านได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นตามคำสั่ง สำนักพระราชวัง ที่ ๑๒๕/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๑ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ตราสัญลักษณ์สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยทันตกรรม พระราชทานฯ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดแก่ชาวคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงถือได้ว่า วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เป็นวันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อมาหน่วยทันตกรรมพระราชทานและทันตกรรมเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใน คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับการยกระดับขึ้นเป็น “ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานและ ทันตกรรมเคลื่อนที่” จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๔๔๑ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ และได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็น “ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓
ศูนย์ทันตกรรมพระราชทาน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น ศูนย์ปฏิบัติการหลักตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและท้องถิ่น โดยร่วมกับ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดน กระทรวงสาธารณสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดช่วงเวลาระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม เป็นเวลาการปฏิบัติ ของศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ โดยถือวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (วันที่ ๒ เมษายน) เป็นปีที่เริ่มดำเนินการ มาจนถึงปัจจุบัน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและ ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ดำเนินการ อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ เพื่อเป็นการสืบสานงานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่างๆ และดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อ พัฒนาบุคลากร อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
โดยในปี ๒๕๔๙ โครงการ อพ.สธ. ได้เชิญให้มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอโครงการเข้าร่วมใน แผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ ๔ (ตุลาคม ๒๕๔๙ – กันยายน ๒๕๕๔) และให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินงานร่วมในโครงการ อพ.สธ. โดยมีอธิการบดี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางพันธุกรรมพืช เข้าร่วมในการจัดทำแผนแม่บท ๑๖ โครงการ อันเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมหลัก ๘ กิจกรรม คือ
กิจกรรมที่ ๑ : กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมที่ ๒ : กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ ๓ : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ ๔ : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ ๕ : กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ ๖ : กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
กิจกรรมที่ ๗ : กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
กิจกรรมที่ ๘ : กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ด้วยเจตนารมย์และความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล อันประกอบด้วยนักวิชาการจากหลากหลาย สาขาวิชาจึงเข้าร่วมเป็นทีมสำรวจพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และดำเนินการจัดทำโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. “ทรัพยากรไทย : นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก”
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. “ทรัพยากรไทย : นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก” ณ เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี จัดโดยคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมวิชาการนิทรรศการ อพ.สธ. ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสืบสานพระราชปณิธาณในงานอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้เยาวชน ประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชน และผู้กำหนดนโยบาย ได้เห็นความหลากหลาย แห่งศักยภาพของทรัพยากรไทย การอนุรักษ์พัฒนา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ซึ่งเป็น คณาจารย์และนักวิจัยจากหน่วยงาน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็น
สำหรับนิทรรศการผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยความร่วมมือของกองบริหารงานวิจัย และฝ่ายประชาสัมพันธ์ วิทยาเขตกาญจนบุรี มี ผศ.ดร.เกษม กุลประดิษฐ์ คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ และคณะนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันโภชนาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล วิทยาเขตกาญจนบุรี และวิทยาเขตอำนาจเจริญ นำมาผลงานวิจัยมาจัดแสดงในหัวข้อต่างๆ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างมาก ดังนี้
๑. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากผักและผลไม้พื้นบ้าน
๒. โมเลกุลของพืชสมุนไพร พืชใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย
๓. ความหลากหลายของทุเรียนในประเทศไทย
๔. ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในถ้ำที่เป็นแหล่งอาศัยของค้างคาวคุณกิตติ
๕. ความหลากหลายทางชีวภาพป่าชุมชนแบบชุมชนมีส่วนร่วม จ.อำนาจเจริญ
๖. พันธุ์ไม้เด่น สัตว์เฉพาะถิ่น ที่โดดเด่นในวิทยาเขตกาญจนบุรี
๗. หนังสือพรรณไม้เขื่อนศรีนครินทร์ และพรรณไม้เขาวังเขมร จ.กาญจนบุรี
ประติมากร : วัชระ ประยูรคำ (ผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ) ช่างหล่อคือ Armando Beneto ช่างหล่อชาวอิตาเลียนที่ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศไทย
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๑ เป็นครั้งแรก และในการนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาเภสัชศาสตร- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ เวทีใหม่สวนอัมพร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ จวบจนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง (พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๕๗)
พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๒
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติ พระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดลในวันนี้. ขอแสดงความชื่นชมกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทรงกิตติคุณ ตลอดจนบัณฑิตทุกคน ที่ได้รับเกียรติและ ความสำเร็จ ทั้งขอขอบใจมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ที่มอบปริญญาเภสัชศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ข้าพเจ้า
บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรต่างๆ จากสถาบันแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาอบรม มาแล้วเป็นอย่างดี ทำให้แต่ละคนมีพื้นฐานอันมั่นคงที่จะสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ไม่มีสิ้นสุด และทำให้มีโอกาสอันงดงามที่จะทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้อย่างกว้างขว้าง. จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องตั้งใจให้ดี และเตรียมตัวให้พร้อม ที่จะนำเอาความรู้ ความคิด ความฉลาด ไปใช้ปฏิบัติงานในสาขาวิชาของตนโดยเต็มกำลังความสามารถ. พร้อมกันนั้น ก็ต้องพยายามศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติฝึกฝนให้ยิ่งจัดเจนชำนาญ ทั้งในทางวิชาการและในการปฏิบัติ บริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่เฉพาะตัวหรืองานที่จะต้องปฏิบัติให้ประสานสอดคล้องกับผู้อื่น เพื่อให้งานที่ปฏิบัติอำนวยผลอันสมบูรณ์ยืนยง คือความเจริญมั่นคงแก่ตนแก่ชาติบ้านเมือง ได้ครบถ้วนเต็มภาคภูมิ.
ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ทุกคนประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิต มีความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และขอให้ทุกท่านที่มาร่วมประชุมในพิธีนี้ มีความผาสุกสวัสดีจงทั่วกัน.”
ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาทันตแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์์ ปีการศึกษา ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในหลายสาขาด้วยกัน เพื่อเป็นการเทินทูน และถวายพระเกียรติในพระปรีชาสามารถ ที่ทรงเป็นนักพัฒนา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อการพัฒนาประเทศและประโยชน์สุขของประชาราษฎร์หลากหลายด้าน โดยสภามหาวิทยาลัยมหิดล ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แด่พระองค์รวมทั้งสิ้น ๑๐ สาขาวิชา
ชื่อปริญญา สาธารณสุขศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะสาธารณสุขศาสตร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (โภชนศาสตร์)
ผู้เสนอขอ
สถาบันวิจัยโภชนาการ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม)
ผู้เสนอขอ
คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(วัฒนธรรมศึกษา)
ผู้เสนอขอ
สถาบันวิจัยภาษาและ วัฒนธรรมฯ
ชื่อปริญญา ทันตแพทยศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะทันตแพทยศาสตร์
ชื่อปริญญา เภสัชศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะเภสัชศาสตร์
ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ชื่อปริญญา แพทยศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคนิคการแพทย์)
ผู้เสนอขอ
คณะเทคนิคการแพทย์
ชื่อปริญญา พยาบาลศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ผู้เสนอขอ
คณะพยาบาลศาสตร์
อาคารในพระนามสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมชกุมารี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี “อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์”
อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บริเวณแยกตึกชัย บนถนนพระรามที่ ๖ ตัดกับถนนราชวิถี บนเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๙๙.๘๖ ตารางวา เป็นอาคารสูง ๙ ชั้น ชั้นใต้ดิน ๓ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่ประกอบอาคาร รวม ๙๙,๕๕๓ ตารางเมตร เป็นอาคารที่มุ่งเน้นการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก มีห้องตรวจรักษา ผู้ป่วยนอกจำนวน ๒๘๐ ห้อง ห้องพักผู้ป่วยใน ๒๘๓ ห้อง ห้องผ่าตัด ๑๒ ห้อง ห้องรักษาผู้ป่วยวิกฤต ๒๒ ห้อง เตียงรักษาทารกแรกเกิดวิกฤต ๓๒ เตียง เตียงบำบัดระยะสั้นและเคมีบำบัดรวม ๔๐ เตียง และส่วนบริการอื่นๆ จัดสร้างเพื่อบรรเทาปัญหาการทดแคลนพื้นที่ โดยได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ก่อสร้างอาคาร ๙ ชั้น สูงกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้เพียง ๔ ชั้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทาน นามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์” เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๔๘ และเปิดให้บริการใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
คณะเภสัชศาสตร์ “อาคารเทพรัตน์”
อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ในบริเวณของคณะเภสัชศาสตร์ ด้านติดโรงพยาบาลสงฆ์ ถนนศรีอยุธยา พญาไท มีพื้นที่ใช้ประมาณ ๑๖,๙๐๐ ตารางเมตร ด้านหน้า สูง ๓ ชั้น ด้านหลังสูง ๗ ชั้น สร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อาคารในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารเทพรัตน์”
อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นอาคาร ค.ส.ล. ขนาด ๕ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม ๒๘,๔๗๐ ตารางเมตร จัดสร้าง ณ บริเวณพื้นที่ใกล้กับตึกอำนวยการ ศูนย์ศาลายาเดิม ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งถาวรในปัจจุบันของสถาบันฯ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามอาคารหลังนี้ ว่า “อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี”
ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี ตั้งอยู่บริเวณคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๙ และเปิดใช้เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นอาคารสูง ๑๓ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย ๑๓,๐๐๐ ตารางเมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔๐ พรรษา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระองค์ท่าน ทรงพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “ตึกเจ้าฟ้ามหาจักรี”
อ้างอิง
ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์: มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐.
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. เรือนไทยมหิดล (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.arts.lc.mahidol.ac.th/index.php/2015-01-19-10-11-9/2015-01-20-03-58-16. [23 มีนาคม 2558].
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์: มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐.
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
งานประชาสัมพันธ์และธุรกิจ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
คณะเภสัชศาสตร์. ๒๕ ปี เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. รายงานประจำปี ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ 20 ปี รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
จัดนิทรรศการ วันที่ 31 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 – 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 (Art Gallery) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
Winners of Prince Mahidol Award 2011
Announcement of the winners of the Prince Mahidol Award 2011 was made on 14 December 2011 at Siriraj Hospital, naming two American professors and one Australian as winners of the award.
Developed in the early 1960s by Professor Beck, CBT has been widely used by psychiatrists and psychotherapists to treat depression.
CBT has been used on over 120 million people suffering from major depression and has helped reduce suicide rates. Professor Beck has become recognised as the father of CBT.
Professor Aaron T. Beck Professor Emeritus of Psychiatry at the University of Pennsylvania, and David T.Wong, Adjunctive Professor of Neurobiology at the Department of Psychiatry of Indiana University School of Medicine are the co-winners in the field of medicine.
In the field of public health, the sole winner is Ruth F.Bishop, Professorial Fellow at the Department of Paediatrics at the University of Melbourne.Professor Beck has been recognised by the Prince Mahidol Award judging committee for his outstanding contribution in the development of cognitive behavioural therapy (CBT).Professor Beck was the first person to successfully develop CBT and treat patients suffering from depression, according to Clinical Professor Udom Kachintorn, Dean of the Faculty of Medicine of Siriraj Hospital, who is Vice President of the Prince Mahidol Award Foundation.
Professor David T. Wong has been selected a co-winner for his outstanding contribution in the discovery of fluoxetine, an antidepressant approved by the US Food and Drug Administration under the trade name Prozac in January 1988.
The drug has cured hundreds of millions of patients with depression around the world Fluoxetine has also become the basic model in the development of many antidepressants.
Professor Ruth F. Bishop meanwhile, won the award for her outstanding work on Rotavirus and a vaccine against Rotavirus diarrhea.
She discovered in 1973, that diarrhea in children younger than six years old around the world is mainly caused by Rotavirus.
ปี 1992
William Richard Shaboe Doll
United Kingdom
Outstanding research on the relations between smoking and disease.
William Richard Shaboe Doll
United Kingdom
Outstanding research on the relations between smoking and disease.
ปี 1993
John B. Stanbury
USA
Contribution on iodine deficiency and disease.
Ciro de Quadros
Brazil
Roles in the eradication of polio from South America.
ปี 1994
William Trager
USA
Outstandng work in the cultivation of Malaria in vitro.
Ho Wang Lee
Republic of Korea
Successful isolation of the Hanta virus and the study of etiologic of the Hanta viral infection.
ปี 1995
Egon Diczfalusy
Sweden
Work on the use of steroid hormones in controlling the reproductive system.
Carl Djerassi
USA
Synthesis of the first contraceptive hormone.
Frederick T. Sai
Ghana
Leading role in developing family planning in Ghana and other African countries.
Nafis Sadik
Pakistan
Family planning policies and improving women’s health and well-being.
ปี 1996
Prasong Tuchinda
Thailand
Contribution towards finding an effective treatment of Dengue Haemorrhagic Fever.
Suchitra Nimmannitya
Thailand
Contribution towards finding an effective treatment of Dengue Haemorrhagic Fever.
Vincent P. Dole
USA
Pioneering work on the rehabilitation of people addicted to morphine and heroin, by using a chemical opium analogue.
ปี 1997
Satoshi Omura
Japan
Isolating of Streptomyces avermitilis, leading to the discovery of Avermectin and Ivermectin.
P. Roy Vagelos
USA
Role in the discovery of Ivermectin and for the free contribution of ivermectin to treat blindness in Africa and Central America.
Alfred Sommer
USA
Supplementation of Vitamin A, leading to a reduced child mortality in Indonesia.
Guillermo Arroyave
Guatemala
Supplementation of Vitamin A, leading to a reduction in child mortality in Guatemala and other Central American countries.
ปี 1998
Rene G. Favaloro
Argentina
Pioneering role in the development of coronary artery bypass surgery.
Harvey D. White
New Zealand
Non-invasive thrombolytic treatment of the coronary artery of the heart.
Kennedy F. Shortridge
Australia
Rapid identification and understanding of the biology of the influenza virus H5N1, following the outbreak of the influenza in children in Hong Kong.
Magaret Chen
Hong Kong
Leadership in the control of the outbreak of H5N1 influenza in Hong Kong.
ปี 1999
Palmer Beasley
USA
Recognised contribution to the understanding of the pathogenesis of the HBV infection, a major viral infection of the liver in hundreds of million of people in different parts of the world.
Adetokunbo O. Lucas
Nigeria
In recognition of outstanding research, leading to the improvement of health in tropical countries.
Tore Godal
Norway
For his strong commitment and selfless dedication to a special programme for research and training in tropical disease, which became the embodiment for the hopes and survival of millions of people in tropical areas.
ปี 2000
Ernesto Pollitt
Peru
The first to demonstrate the effect of sub-clinical iron deficiency on the cognitive performance of young children.
David J.P. Barker
United Kingdom
Showed that people who have a low birth weight or who are thin or stunted at birth, have a high rate of coronary diseases and related disorders of strokes diabetes and hypertension in adult life.
Richard Peto
United Kingdom
His work persuaded doctors to use tamoxifen in the treatment of breast cancer. His work also influenced national policies against tobacco by demonstrating its harmful effects in China and many other countries.
Iain Geoffrey Chalmers
United Kingdom
Founder of Cochrane Collaboration that aims to help people by preparing, maintaining, and promoting the accessibility of systematic review of healthcare intervention.
ปี 2001
David John Weathrerall
United Kingdom
Contribution towards finding an effective treatment of Dengue Haemorrhagic Fever.
Suchitra Nimmannitya
Thailand
Contribution towards finding an effective treatment of Dengue Haemorrhagic Fever.
Vincent P. Dole
USA
Pioneering work on the rehabilitation of people addicted to morphine and heroin, by using a chemical opium analogue.
ปี 2002
Roy Calne
United Kingdom
Pioneer of organ transplantation and the development of immunosuppressive drugs used in organ transplantation.
Thomas E. Starzl
USA
Pioneer organ transplantation including liver, kidney, pancreas, small intestine, heart and lung, leading to worldwide improvement of personal health service.
Maurice R. Hilleman
USA
Leading scientist who developed numerous live, killed, and combined vaccines including measles, mumps, rubella, varicella, hepatitis A/B, which have been effective in preventing diseases among young children.
P. Helena Mäkelä
Finland
Her work contributed to the development of a Hermophilus influenza type B conjugated vaccine and pneumococcal vaccine.
ปี 2003
China Cooperative Research Group on Qinghaosu and its Derivatives as Antimalarials
China
Pioneering role in the development of coronary artery bypass surgery.
Harvey D. White
New Zealand
Non-invasive thrombolytic treatment of the coronary artery of the heart.
ปี 2004
Norman Sartorius
Germany
His contribution in international mental health is important for the diagnosis, treatment, and research of psychiatric disorders.
Jonathan M. Samet
USA
His contribution to work on air pollution has led to great public health effects around the world.
ปี 2005
Eugene Goldwasser
USA
Recognised for his role in the discovery and purification of erythropoietin, a hormone that stimulates the human body to make red blood cells.
Harald zur Hausen
Germany
Discovery of human papilloma virus HPV 16 and HPV 18 and contribution to the development of vaccines against cervical cancer. He later received a Nobel Prize in medicine in 2008.
ปี 2006
Stanley George Schultz
USA
Conduct research on sodium absorption by mammalian intestine and epithelial transport which led to the discovery of Oral Rehydration Therapy.
David R. Nalin
USA
Successful test of efficacy of an oral glucose-electrolyte solution, later known as oral rehydration solution (ORS), to be used instead of intravenous fluid for the treatment of patients with severe cholera.
Richard A. Cash
USA
Contribution to work on the application of oral rehydration solutions in the treatment of severe diarrhea worldwide.
Dilip Mahalanabis
India
Contributions to work on the application of oral rehydration solutions in the treatment of severe diarrhea worldwide.
ปี 2007
Axel Ullrich
Germany
The new concept of targeted cancer therapy offers better efficacy in killing cancer cells while doing less harm to normal cells and therefore, reducing the side effects of cancer chemotherapy.
Basil Stuart Hetzel
Australia
Recognised for the role in increasing awareness of “lodine Deficiency Disorders” by demonstrating harmful effects of iodine deficiency on brain function rather than endemic goiter. He is also a key figure in promulgating global action to control of iodine deficiency disorders.
anduk Ruit
Nepal
Outstanding works in development of an effective suture-less operation technique that allows operations to be performed in a large number of underprivileged patients in remote locations.
ปี 2008
Sergio Henrique Ferreira
Brazil
Discovery of a peptic found in the venom of Brazilian snake which led to development of the drug “captopril”, widely recognized for its antihypertensive efficacy, especially in diabetic patients with inflammatory and kidney diseases.
Michiaki Takahashi
Japan
Discovery of the varicella vaccine led to its worldwide use of the vaccine to prevent chicken pox.
Yu Yongxin
China
Contribution to research and development of the JE encephalitis vaccine, an effective prevention of a diseases with no cure.ปี 2009
ปี 2009
Anne Mills
United Kingdom
Outstanding role in the development and application of economic tools to improve policy-making and practices in healthcare systems.
Wiwat Rojanapithayakorn
Thailand
Initiator of the “100% Condom Use Programme” which has been recognized worldwide as one of the most successful HIV/AIDS prevention tools.
Mechai Viravaidya
Thailand
Tireless proponent of the use of condoms to prevent pregnancy through unique communication campaigns, demystifyinh condoms, previously a taboo subject, to become a commonly-used item.
ปี 2010
Nicholas J. White
United Kingdom
Discovery of the treatment of malaria, especially on the use of artemisinin- based combination therapies.
Kevin Marsh
United Kingdom
Pioneer in the study of immune epidemiology of malaria that showed the importance of strain-specific immunity in malaria, thereby providing the basis for the development of vaccines for malaria to cover various strain variations.
Ananda S. Prasad
USA
Discovery of human zinc deficiency syndrome led to public attention to the importance of zinc in improving health conditions around the world.
Kenneth H. Brown
USA
Devotion to studies showing that additional zinc supplementation helps decrease the incidence and severity of diarrhea and pneumonia, especially in children.
Robert E. Black
USA
Long-standing works on the importance of childhood nutrition significantly contributing to the wide application of zinc supplementation.
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 150 ปี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จัดนิทรรศการ วันที่ 10 เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 (Art Gallery) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
เนื่องในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นวโรกาสสำคัญ ๑๕๐ ปี
วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ได้ประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็น
“บุคคลสำคัญของโลก”
ในฐานะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและแสดงบทบาทเป็นที่ประจักษ์
ในการพัฒนาและบำรุงบ้านเมือง ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข)
วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
พระองค์ทรงเป็นขัตติยราชนารีแห่งสยามโดยแท้ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ
เพื่อประโยชน์สุขของมนุษยชาติและสังคมทุกชนชั้นทั้งระดับประเทศชาติและสากล
ทรงเป็นสุภาพสตรีที่ประณีตอ่อนโยน แต่เปี่ยมด้วยความเข้มแข็ง และทรงมีสายพระเนตรล้ำสมัย
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นรัตตัญญูนำทาง “สว่างวัฒนา”
ดุจคลังความรู้ของคนรุ่นใหม่ พสกนิกรชาวไทยซาบซึ้งยิ่งในน้ำพระราชหฤทัย
และพระราชกิจต่างๆ ที่ทรงริเริ่มและพัฒนาไว้
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562
ครบรอบ 50 ปี วันพระราชทานนาม 133 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
ไฟล์สูจิบัตรนิทรรศการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดสร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาผู้ป่วยในทุกชนชั้น และในปี พ.ศ.2429 ได้พระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนั้นว่า “โรงศิริราชพยาบาล” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน เมื่อมีโรงพยาบาลแล้วจึงจำเป็นจะต้องผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นกำลังในการรักษาผู้ป่วย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในปี พ.ศ.2432 และพัฒนาเป็น “โรงเรียนแพทยากร” (พ.ศ.2436) และ “ราชแพทยาลัย” (พ.ศ.2443) ตามลำดับ จากนั้นเมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 จึงได้รวมราชแพทยาลัยเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
ต่อมาในปี พ.ศ.2486 ได้สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็น 4 คณะแรก โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) เป็นอธิการบดีท่านแรกของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2507 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และในโอกาสนั้นได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ไม่ขัดข้อง แต่ขอให้ปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์เสียก่อน เพื่อให้สมพระเกียรติ แต่ขอให้เป็นไปในทางประหยัด” ซึ่งมหาวิทยาลัยได้น้อมรับนำพระราชกระแสมาดำเนินการ โดยยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่พร้อมกับจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ขึ้น
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2512 มีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ เป็นอธิการบดีท่านแรก และเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่เพียงพอต่อการขยายหลักสูตรการเรียนการสอน จึงได้ประสานงานกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพื่อทำการซื้อที่ดินในตำบลศาลายา และในปี พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สำนักงานฯ ขายโอนที่ดินในตำบลศาลายา เนื้อที่ 1,242 ไร่ 20 ตารางวา กับมหาวิทยาลัยมหิดลในราคาไร่ละ 10,000 บาท หลังจากนั้นปรับพื้นที่และสร้างอาคารสำหรับรองรับนักศึกษาได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงได้เริ่มเปิดการเรียนการสอน ณ พื้นที่ศาลายาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2525 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2526 เพื่อเป็นเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลา 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินกิจการเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ โดยการจัดตั้งส่วนงานต่าง ๆ ให้ครอบคลุมในศาสตร์ความรู้ในทุกแขนง ทั้งยังมีการขยายวิทยาเขต เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย และในปัจจุบันยังดำเนินภารกิจ เพื่อพัฒนามาตรฐานของมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกด้วย
ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดนิทรรศการ “Timeline of Mahidol University เส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน” เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์และเกียรติประวัติสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกผู้ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงการอุดมศึกษาของประเทศไทย ให้เป็นนามแห่งมหาวิทยาลัยของเรา ซึ่งถือเป็นเกียรติอันสูงสุด และเพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามมหาวิทยาลัย “มหิดล” รวมทั้งเป็นการแสดงกตัญญุตาที่จะสืบสานพระราชปณิธาน ในสมเด็จพระบรมราชชนก เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติสืบไป
ยุคโรงศิริราชพยาบาล 2424-2431
เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว
22 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้าง โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศ
31 พฤษภาคม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคบิด
26 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดโรงพยาบาล
25 ธันวาคม พระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “โรงศิริราชพยาบาล”
ยุคโรงเรียนแพทยากร 2432-2443
มีนาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์
5 กันยายน เริ่มเปิดการเรียนการสอน มีนักเรียน 15 คน
1 มกราคม นพ.ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์ จนถึง พ.ศ. 2468
มีนาคม นักเรียนแพทย์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรแพทย์จำนวน 9 คน
1 พฤษภาคม ประกาศรับสมัครเข้าเรียนวิชาแพย์ใน “โรงเรียนแพทยากร”
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้าง โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล
ยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย 2443-2460
3 มกราคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนราชแพทยาลัย”
นพ.ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการทั้งฝ่ายโรงพยาบาล และฝ่ายโรงเรียนแพทย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นผู้บัญชาการราชแพทยาลัย
26 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย”
ยุคคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2460-2485
6 เมษายน รวมโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็น “คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล”
ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส ชาวอเมริกัน เข้ามาเป็นอาจารย์สอนวิชาพยาธิวิทยา และช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการ ทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นผู้แทนฝ่ายไทย
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช พระราชทานเงินค่าก่อสร้าง “ตึกศัลยกรรมชาย” ภายหลังเสด็จสวรรคตแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “มหิดลบำเพ็ญ”
นิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
24 กันยายน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สวรรคต
25 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตให้แพทย์ปริญญารุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุมตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัด “ประเพณีข้ามฟาก” ถือเป็นกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยครั้งแรก
สถาปนากรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ยุคมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2486-2511
7 กุมภาพันธ์ สถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น เริ่มต้นมี 4 คณะ
12 มีนาคม ศ.นพ.พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกรู) เป็นผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ท่านแรก (ดำรงตำแหน่งถึง 16 เมษายน 2488)
17 เมษายน ศ.นพ.หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 15 กันยายน 2500)
23 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในรัชกาล
25 พฤษภาคม จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
3 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรกในรัชกาล
27 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช
16 กันยายน ศ.นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 15 สิงหาคม 2501)
10 กรกฎาคม จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์
16 สิงหาคม ศ.นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 2 มิถุนายน 2507)
21 ตุลาคม จัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์
28 ตุลาคม จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
28 มีนาคม จัดตั้งคณะอายุรศาสตร์เขตร้อน และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
3 มิถุนายน ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2512) ขอพระราชทานพระนาม “มหิดล” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว- ภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่าไม่ขัดข้อง แต่สมควรปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์
4 กุมภาพันธ์ จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
16 มีนาคม โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 กรกฏาคม จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
12 กรกฎาคม จัดตั้งศูนย์วิจัยประชากรและสังคม
25 ตุลาคม โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7 มิถุนายน จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์พญาไท
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2512-2531
2 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนาม “มหิดล” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย
9 ธันวาคม ศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 30 พฤศจิกายน 2514)
14 ธันวาคม จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
17 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ ให้สำนักงานทรัพย์สิน พระมหากษัตริย์จำหน่ายที่ดิน ณ ตำบลศาลายา แก่มหาวิทยาลัยมหิดล
14 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
9 ธันวาคม ศ.นพ.กษาน จาติกวนิช ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2522)
23 มิถุนายน ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นคณะพยาบาลศาสตร์
26 กันยายน จัดตั้งโครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม
พฤษภาคม จัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเชียอาคเนย์
เริ่มดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
13 มกราคม จัดตั้งสถาบันวิจัยโภชนาการ
30 มกราคม ยกฐานะโครงการการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2534)
30 พฤศจิกายน จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท
จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน
23 กรกฎาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา
11 กรกฎาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษา และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
26 มีนาคม จัดตั้งโครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ
4 สิงหาคม ยกฐานะกองห้องสมุดให้เป็นสำนักหอสมุด
15 กันยายน ยกฐานะโครงการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เป็นสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ
18 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี
6 ตุลาคม จัดตั้งสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2532-2546
18 ธันวาคม จัดตั้งศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบการขยายพื้นที่ทำการของมหาวิทยาลัย ไปยัง ตำบลศาลายา
18 สิงหาคม จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2538)
28 พฤษภาคม สถาปนาวิทยาลัยราชสุดา
8 พฤษภาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน “พระพุทธมหาลาภ” แก่มหาวิทยาลัยมหิดล
3 พฤษภาคม ประกาศข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
21 กันยายน จัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
23 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2542)
27 มิถุนายน จัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
2 ตุลาคม จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์
17 ธันวาคม จัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ
18 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
1 มกราคม จัดตั้งวิทยาลัยศาสนศึกษา
19 กุมภาพันธ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ประทานพระวินิจฉัยให้ “ต้นกันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
9 ธันวาคม ศ.เกียรติคุณ นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี(ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2550)
21 กรกฏาคม จัดตั้งคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
2 เมษายน จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
21 สิงหาคม จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้
17 ธันวาคม จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์
ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล 2547-2562
1 พฤศจิกายน จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี
19 กรกฏาคม จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
9 ธันวาคม ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 8 ธันวาคม 2554)
4 มกราคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
20 พฤศจิกายน จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
2 กันยายน สถาปนามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
20 พฤษภาคม เปลี่ยนชื่อคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ เป็นคณะกายภาพบำบัด
4 กรกฎาคม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ
1 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดลหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
9 ธันวาคม ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 31 ธันวาคม 2557)
1 มิถุนายน จัดตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
17 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด “มหิดลสิทธาคาร”
5 มกราคม ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (ดำรงตำแหน่งถึง 31 กรกฎาคม 2560)
1 เมษายน จัดตั้งสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
1 สิงหาคม ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี (ปัจจุบัน)
12 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ”
2 มีนาคม ครบรอบ 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล
The Chronicle of Mahidol University ร้อยเรียงเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน ของเส้นทางแห่งมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน
ภาพอธิบายการเล่นบอร์ดเกมส์
อุปกรณ์
การ์ดจำนวน 77 ใบ แต่ละใบจะมี 2 ด้าน คือ
• ด้านคำถาม เป็นภาพและคำบรรยายเหตุการณ์
• ด้านเฉลย เป็นภาพและคำบรรยายเหตุการณ์ พร้อมบอกปีที่เกิดเหตุการณ์นั้น
ภาพอธิบายการเล่นบอร์ดเกมส์
วิธีเล่นเกม
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ 2 – 8 คน
การเตรียมการเล่น
1. นำการ์ดทั้งหมดพลิกเป็นด้านคำถามขึ้น คว่ำด้านเฉลยลง และสับการ์ดทั้งหมด
2. เลือกผู้เล่นคนแรก
3. แจกการ์ดให้ผู้เล่นทุกคนแบบสุ่ม วางไว้ที่ด้านหน้าของผู้เล่น แต่ละคน
• ผู้เล่นจำนวน 2 – 3 คน แจกการ์ดคนละ 5 ใบ
• ผู้เล่นจำนวน 4 – 5 คน แจกการ์ดคนละ 4 ใบ
• ผู้เล่นจำนวน 6 – 8 คน แจกการ์ดคนละ 3 ใบ
**ห้ามผู้เล่นพลิกด้านเฉลยดู**
4. สุ่มการ์ด 1 ใบ แล้วหงายด้านเฉลย วางไว้กลางวง
วิธีการเล่น
1. ให้ผู้เล่นเลือกการ์ดของตนเอง 1 ใบ ออกมาและพิจารณาการ์ดที่ตนเอง เลือกมาว่าเหตุการณ์ในการ์ดนั้นเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเหตุการณ์ในการ์ด ที่อยู่กลางวง
• หากผู้เล่นพิจารณาว่าการ์ดนั้นเกิดขึ้นก่อน ให้วางการ์ดนั้นไว้ด้านซ้ายของ การ์ดใบแรก
• หากผู้เล่นพิจารณาว่าการ์ดนั้นเกิดขึ้นหลัง ให้วางการ์ดนั้นไว้ด้านขวาของ การ์ดใบแรก
• ในรอบต่อไป หากมีการ์ดตั้งแต่สองใบขึ้นไป ผู้เล่นสามารถนำการ์ดวาง ด้านซ้าย หรือด้านขวา หรือวางแทรกระหว่างการ์ดของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นก่อนและหลัง โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง
2. หลังจากนั้นหงายด้านเฉลยของการ์ด
• หากวางการ์ดในตำแหน่งที่ผิด ให้ทิ้งการ์ดใบนั้น นำออกไปเก็บใส่กล่อง และให้ผู้เล่นคนนั้นหยิบการ์ดใบแรกจากกองกลาง 1 ใบ ไว้ที่ด้านหน้า ของตน และให้ผู้เล่นคนต่อไปเล่นต่อ
• หากวางการ์ดในตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้วางการ์ดใบนั้นไว้ในตำแหน่งนั้น และให้ผู้เล่นคนต่อไปเล่นต่อ
3. ผู้เล่นคนใดการ์ดหมดก่อนเป็นผู้ชนะ
How to play
77 cards, each card has 2 sides.
• The question side shows picture and caption.
• The answer side shows the same information with the year of that event.
Number of Players 2 to 8 players
Setup
1. Shuffle the cards. Make sure that the “answer” sides of all cards are hidden.
2. Choose the first player.
3. Deal a number of cards randomly to each player and place them in font of each player.
• 2 to 3 players deal 5 cards for each player.
• 3 to 4 players deal 4 cards for each player.
• 6 to 8 players deal 3 cards for each player.
**Players are not allowed to see the answer sides**
4. Pick up the top card from the pile, then place it on the table and flip it to show the starting year for the game.
Playing the Game
1. The first player looks at the starting card and consider his own cards that which one is happened before or after:
• If the player think that it was happened before, place the card on the left side of the starting card.
• If the player think that it was happened after, place the card on the right side of the starting card.
• In the next turn, if there are more than one card in the game, the player can choose the card for playing and then place the card whether it’s on the left or right side, between them.
2. Flip the chosen card.
• If the card is placed in the incorrect position, the player must discard it, and draw a new one from the pile. Then, turn to the next player to play.
• If the card is placed in the correct position, keep the card there and let the next player plays.
3. If only one player has no cards left, that player immediately wins the game!
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
สมเด็จพระบรมราชชนกกับการอุดมศึกษาไทย
จัดนิทรรศการ วันที่ 8 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 (Art Gallery) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
“มหาวิทยาลัยเปนสมองต้นความคิดของชาติ เปนสถานเลี้ยง “คนดี” ของชาติ”
เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ที่ทรงแสดงไว้ในหัวข้อหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งปรากฎใน “รายงานความเห็นในเรื่องการสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระบรมราโชบาย
เรื่องการตั้งมหาวิทยาลัย” อันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อการอุดมศึกษาไทย มิได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะองค์กรใดองค์หนึ่งเท่านั้น
การสรุปสาระข้อมูลและข้อควรตระหนักทั้งหลายนั้น ล้วนเกิดจากการที่พระองค์ทรงอุทิศและทุ่มเทพระวรกาย
ปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศไทย โดยการทรงงานในตำแหน่งทางการศึกษาด้วยพระองค์เอง
อาทิ อาจารย์ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไป ทั้งนี้ พระองค์ทรงใส่พระราชหฤทัยและ
พระวิริยะอุตสาหะจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เป็นที่มาของการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
ในโอกาส ๑๒๐ ปีแห่งการพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชชนก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
นิทรรศการ “สมเด็จพระบรมราชชนกกับการอุดมศึกษาไทย”
จัดแสดงขึ้นช่วงปีเดียวกันนี้ถือเป็นปฐมฤกษ์แห่งปีการศึกษา ๒๕๕๕ และพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ถือเป็นวาระมงคลแห่งการเริ่มใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีทิศทางของการเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าและ
นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมดั่งปณิธานแห่งการเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน”
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งยึดหลักธรรมาภิบาล
ที่มุ่งหวังให้สมาชิกองค์กรปฏิบัติตนในแนวทาง “เป็นคนดี มีปัญญา นำพาสุข”
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ “ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล”
จัดนิทรรศการ วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
บอร์ดนิทรรศการ
ไฟล์สูจิบัตรนิทรรศการ
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถานศึกษาที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เพื่อที่จะ “รักษาคนป่วยไข้ เป็นทานแก่อาณาประชาราษฎร ไม่เลือกหน้าว่าผู้ใด จะรักษาโรคให้ทั่วกัน” โดยอาศัยพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ในการเป็นคณะกรรมการก่อตั้งโรงพยาบาล มีมติให้ใช้พื้นที่ วังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงพยาบาล และได้ขนานนามต่อไปว่า “โรงศิริราชพยาบาล” และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ และพระกรุณาธิคุณของพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี มาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นโรงศิริราชพยาบาล โรงเรียนแพทยากร ราชแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จวบจนเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระนาม “มหิดล” ให้เป็นนามของ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 ที่จะถึงนี้ จะเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี ที่ได้รับพระราชทานพระนามอันเป็นมงคลสูงสุด มาเป็นนามของมหาวิทยาลัยนั้น ยิ่งทำให้ต้องระลึกถึงพระกรุณาธิคุณแห่ง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ได้ทรงทุ่มเทพระสติปัญญาและพระวรกายเพื่อพัฒนาการแพทย์ การสาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศตามพระราชดำริด้วย
ในโอกาส วันมหิดล 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดนิทรรศการ “ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล” ซึ่งรวบรวมประติมากรรมสำคัญที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชวงศ์จักรี ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระราชวงศ์ผู้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และประทานพระกรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย
ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : เป็นพระรูปหล่อลอยตัว หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์รมดำ ขนาดเท่าพระองค์จริง ประทับยืน ทรงฉลองพระองค์ครุย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระมาลาแนบพระอุระ พระกรขวาปล่อยตรง พระหัตถ์ขวาทรงถือม้วนปริญญาบัตร ประดิษฐานบนแท่น
ประวัติ : เดิมประดิษฐานอยู่ ณ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดลเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาเมื่อย้ายที่ทำการมหาวิทยาลัยมาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จึงได้อัญเชิญพระราชานุสาวรีย์องค์นี้ มาประดิษฐาน ณ โถงชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และมีพิธีบวงสรวงติดตั้งพระราชานุสาวรีย์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
ประติมากร : ไข่มุกด์ ชูโต
ประติมากรรมพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น 2 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : พระรูปปั้นนูนต่ำกึ่งนูนสูง หล่อด้วยหินอ่อนเทียม แสดงพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกในช่วงต่าง ๆ ของพระชนม์ชีพ ประกอบด้วยพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนกทรงฉลองพระองค์ราชนาวี ประทับยืนร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยทั้งสองพระองค์ประทับพระเก้าอี้ กลางประติมากรรมเป็นพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนกในพระราชพิธีโสกันต์ ต่อมาเป็นพระรูปที่แสดงถึงการที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุข ด้านล่างเป็นพระรูปขณะประทับกับพระชายา พระธิดาและพระโอรส ทั้ง 3 พระองค์
ประวัติ : เดิมประดิษฐานอยู่กับพระราชานุสาวรีย์และประติมากรรมแสดงวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อย้ายที่ทำการมหาวิทยาลัยมาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จึงได้ย้ายประติมากรรมพระราชประวัตินี้มาประดิษฐาน ณ หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น 2 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ประติมากร : ไข่มุกด์ ชูโต
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : ลานพระราชานุสาวรีย์ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : เป็นพระรูปหล่อลอยตัว ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง (สูงประมาณ 2.80 เมตร) หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ทรงฉลองพระองค์ครุยประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระมาลาแนบพระอุระ พระกรขวาปล่อยตรง พระหัตถ์ขวาทรงถือม้วนปริญญาบัตร มีแท่นประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์สูง 2.5 เมตร
ประวัติ : ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไป มีโอกาสได้น้อมถวายสักการะ โดยมีพระรูปต้นแบบที่ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ณ อาคารศาลายา กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
ประติมากร : มานพ สุวรรณปินฑะ
พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : ลานพระราชบิดา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : เป็นพระรูปหล่อครึ่งพระองค์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ความสูงของพระรูปรวมฐาน 60 เซนติเมตร
ประวัติ : จัดสร้างโดยมูลนิธิกรมหลวงสงขลานครินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีพิธีประดิษฐานพระรูป ณ ลานพระราชบิดา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นที่สักการะของบุคลากรและผู้ที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สถานที่ตั้ง : ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หน้าโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : เป็นพระรูปหล่อด้วยโลหะ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ประดิษฐานบนฐานวงกลม มีอักษรพระนามาภิไธยย่อ สว. ประดับที่ฐาน
ประวัติ : คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขึ้นประดิษฐาน ณ บริเวณลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เทวดาเป่าแซก)
สถานที่ตั้ง : ฝาผนังอาคารภูมิพลสังคีต ด้านตะวันตก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : ประติมากรรมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงบาริโทนแซกโซโฟนองค์นี้ เป็นพระบรมรูปนูนต่ำ มีขนาดสูง 10 เมตร กว้าง 4.5 เมตร หนา 12 เซนติเมตร และหนัก 4.2 ตัน
ประวัติ : การจัดสร้างพระบรมรูปนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 แล้วเสร็จและติดตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 4.5 ล้านบาท เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา อาจารย์ คนทำงาน และผู้ที่ได้พบเห็น เกิดพลังที่ดี มีพลังในการสร้างสรรค์งานดนตรีต่อไป
ประติมากร : ออกแบบโดย โสพิศ พุทธรักษ์ จากกรมศิลปากร หล่อโดย Armando Benato นายช่างอิตาเลียน
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงอุ้มพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ่ออุ้มลูก)
สถานที่ตั้ง : สวนด้านทิศตะวันออกของมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : เป็นพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ขนาด 2 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์สูทสากล ประทับนั่งบนท่อนไม้ และทรงอุ้มพระโอรสพระองค์เล็ก คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะทรงพระเยาว์
ประวัติ : พระรูปนี้ประดิษฐานอยู่ ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร แสดงถึงการเป็น “เจ้าของบ้าน” ของมหิดลสิทธาคาร ซึ่งใช้พระนามของสมเด็จพระบรมราชชนก เป็นชื่อของอาคาร และยังสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงครองราชย์ 70 ปี อีกประการหนึ่ง โดยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย
ประติมากร : วัชระ ประยูรคำ (ผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ) ช่างหล่อคือ Armando Beneto ช่างหล่อชาวอิตาเลียนที่ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (เจ้าหญิงสีซอ)
สถานที่ตั้ง : อาคารโรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี (Pre College) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : ประติมากรรมเจ้าหญิงสีซอ เป็นพระรูปสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประทับราบทรงซอสามสาย แกะสลักด้วยหินอ่อนจากเมืองคาราร่า ประเทศอิตาลี ส่วนซอสามสายหล่อด้วยสัมฤทธิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญและองค์อุปถัมภ์ในการดนตรีไทย
ประติมากร : วัชระ ประยูรคำ (ผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ)
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
สถานที่ตั้ง : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ลักษณะ : ประติมากรรม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระรูปสลักจากหินอ่อนจากเมืองคาราร่า ประเทศอิตาลี ใช้หินอ่อนหนัก 38 ตัน ประทับนั่งไขว้พระชงฆ์ ทรงฟังดนตรีด้วยพระอิริยาบถผ่อนคลาย พระหัตถ์ซ้ายเชยพระหนุ พระหัตถ์ขวาทรงจับหัวสุนัขทรงเลี้ยง
ประวัติ : แกะโดยช่างชาวอิตาเลียน และคณะ โดยมี รองศาสตราจารย์สุกรี เจริญสุข และนายช่างเอกโสพิศ พุทธรักษ์ เป็นผู้ตรวจโครงร่างในหนแรก ซึ่งช่างนั้นแกะออกมาได้ไม่เหมือน จึงได้ให้ช่างแกะใหม่ จนปรากฏเป็นประติมากรรมที่มีชีวิตชีวาน่าชม จัดสร้างขึ้นเพื่อระลึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์แห่งวงการดนตรีคลาสสิคในประเทศไทย แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ประดิษฐานอยู่ริมบ่อปลาคราฟ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และประติมากรรมที่แกะไม่เหมือนก็ได้นำกลับมาด้วย และตั้งอยู่ไม่ไกลกับประติมากรรมที่แกะสมบูรณ์แล้วทางเบื้องซ้าย
ประติมากร : Matteo Peducci
ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถานที่ตั้ง : ชั้น 2 ตึกสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : เป็นพระบรมรูปโลหะหล่อประทับยืน ทรงฉลองพระองค์ครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเคมบริดช์ ความสูง 2 เมตร น้ำหนัก 400 กิโลกรัมเศษ แล้วเสร็จในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
ประวัติ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นสถานที่เริ่มต้นของการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยอย่างจริงจัง และปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นจน ทัดเทียมนานาอารยประเทศ คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงมีมติเห็นพ้องให้สร้างพระบรมรูป ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2535 มีการเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐาน ณ ชั้น 2 ภายในตึกสยามินทร์ และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิด “ตึกสยามินทร์” และ “อัษฎางค์” ณ โรงพยาบาลศิริราช ในการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมพระบรมรูปองค์นี้ด้วย
ประติมากร : ประเทือง ธรรมรักษ์
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สถานที่ตั้ง : พลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาทรงไทยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ โดย พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งต่อมาพระราชทานนามว่า “พลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเททองหล่อพระบรมรูป เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และมีพิธีบวงสรวงประดิษฐานพระบรมรูปในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ประติมากร : ภราดร เชิดชู และ นพรัตน์ บุญมี นาวิน สุวัณณปุระ (ช่างหล่อ)
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถานที่ตั้ง : อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : เป็นพระบรมรูปนูนต่ำครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ไปทางด้านขวา ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ทาสีขาวทั้งองค์ ด้านล่างพระบรมรูปประดับลายพระหัตถ์พระปรมาภิไธย “สยามินทร์”
ประวัติ : สร้างขึ้นพร้อมกับอาคารสยามินทร์ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ให้คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช ในโอกาสฉลองการสถาปนาศิริราชครบ 100 ปี
ประติมากร : สุกิจ ลายเดช
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สถานที่ตั้ง : อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : เป็นพระบรมรูปนูนต่ำครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ไปทางด้านขวา อยู่บนพื้นหลังวงกลม
ประวัติ : สร้างขึ้นพร้อมกับอาคารสยามินทร์ ในโอกาสฉลองการสถาปนาศิริราชครบ 100 ปี และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 พิธีอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
ประติมากร : สุกิจ ลายเดช
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : ลานหน้าศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : เป็นพระรูปหล่อจากโลหะสัมฤทธิ์ ขนาดสูงกว่าพระองค์จริงเล็กน้อย โดยสูงประมาณ 2 เมตร ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์วางบนตำราแพทย์ซึ่งตั้งบนพระเพลา ประดิษฐานบนแท่นมีพุ่ม โลหะประดับทั้งสองข้าง ด้านหน้าแท่นที่ประดิษฐานมีโลหะหล่อเป็นแผ่นผ้าทิพย์ลายผ้าตาด ตรงกลางผ้าทิพย์เป็นอักษรพระนามาภิไธย ด้านหลังแท่นที่ประดิษฐานเป็นแผ่นโลหะจารึกพระราชประวัติ และประวัติการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ ลานที่ประดิษฐานนั้นเป็นลานรูปวงกลมลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ
ประวัติ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 ในโอกาสงานฉลอง 60 ปี ศิริราช และเสด็จพระราชดำเนินหรือโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะเนื่องในวันมหิดล วันที่ 24 กันยายนของทุกปี
ผู้ออกแบบ : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ประติมากร : สนั่น ศิลากรณ์
พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : เก็บรักษาโดยพิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : พระรูปประทับยืน ทำจากปูนปลาสเตอร์ สูง 33 เซนติเมตร ฉลองพระองค์ครุย พระหัตถ์ซ้ายทรงหนังสือ พระหัตถ์ขวาทรงยกขึ้นใกล้เคียงกับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติ : ในปี พ.ศ. 2502 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระรูปต้นแบบแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อทรงพิจารณา และทรงตกแต่งปรับแก้ด้วยพระองค์เอง พระรูปต้นแบบนี้ ต่อมาได้นำมาเป็นแบบหล่อพระรูปเพื่อเป็นของที่ระลึก ในโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราชอายุครบ 72 ปี และ 84 ปี
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สถานที่ตั้ง : ศาลา 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : พระรูปหล่อโลหะ ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน มีพุ่มโลหะตั้งอยู่สองข้างพระเก้าอี้ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานคำแนะนำในการปั้นแบบ
ประวัติ : สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ได้ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข โดยในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ และทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์
พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงอุ้มพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สถานที่ตั้ง : ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า
ลักษณะ : พระรูปหล่อโลหะสัมฤทธิ์สมเด็จพระบรมราชชนก ครึ่งพระองค์ ความสูงประมาณ 1.15 เมตร ทรงฉลองพระองค์สูทสากล ทรงอุ้มพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะทรงพระเยาว์ ประดิษฐานบนฐานกลม ด้านซ้ายแกะสลักหิน พระราชปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ตัวท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” และภาษาอังกฤษด้านขวา “True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind.”
ประวัติ : เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะพระรูปนี้ ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ประติมากร : อาจารย์สุดสาคร ชายเสม
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สถานที่ตั้ง : ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารพระศรีพัชรินทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
ลักษณะ : พระรูปโลหะของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขนาด 1 ⅛ เท่าของพระองค์จริง ประทับรวมพระราชอาสน์
ประวัติ : ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555 และครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวิชาชีพการพยาบาลไทย เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระราชานุสาวรีย์ ณ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ถนนพุทธมณฑลสาย 5 อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ และ“พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อเป็นการฉลอง 120 ปี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกวาระหนึ่งด้วย
ร่างแบบ : อาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
ประติมากร : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
พระบรมรูปพระมหากษัตริย์และพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์ 9 องค์
สถานที่ตั้ง : พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
ลักษณะ : พระบรมรูปพระมหากษัตริย์และพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์ 9 พระองค์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประติมากรรมลอยตัวครึ่งพระองค์ 9 องค์ ประกอบด้วย
1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
3. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
4. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
5. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
7. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
8. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
9. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ประวัติ : จัดสร้างพระบรมรูปและพระรูปขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อฉลองวันครบรอบ 115 ปี ของคณะพยาบาลศาสตร์ และได้อัญเชิญออกตั้งในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย ในโอกาสวันพระราชทานก่อตั้งโรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ วันที่ 12 มกราคม ของทุกปี
พระบรมรูปพระมหากษัตริย์และพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์ 18 องค์
สถานที่ตั้ง : อัญเชิญออกมาประดิษฐานในการประกอบพิธีในวาระสำคัญของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ และพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ทรงมีคุณูปการต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รวม 15 พระองค์ เป็นประติมากรรมลอยตัวครึ่งพระองค์ 15 องค์ และพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้ขนาดใกล้เคียงกัน 3 องค์ ประกอบด้วย
1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
5. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
6. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
7. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 2 องค์ (พระรูปครึ่งพระองค์ และพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้)
8. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 2 องค์ (พระรูปครึ่งพระองค์ และพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้)
9. กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
10. สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
11. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ 2 องค์
(พระรูปครึ่งพระองค์ และพระรูปประทับนั่งบนพระเก้าอี้)
12. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
13. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
14. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
15. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
ประวัติ : เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (ปัจจุบัน – สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ภายหลังพิธีสมโภชแล้ว จะอัญเชิญพระบรมรูปและพระรูปนี้ในการประกอบพิธีในวาระสำคัญต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เช่น พิธีบำเพ็ญกุศลถวายเนื่องในวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช วันที่ 26 เมษายน ของทุกปี
ประติมากร : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สถานที่ตั้ง : หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : เป็นพระรูปประติมากรรมนูนต่ำ ที่ได้แบบมาจากพระฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ และมีลายพระหัตถ์ “True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind” ของสมเด็จพระบรมราชชนก ประดิษฐานไว้ใต้พระรูป
ประวัติ : สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระกรุณาธิคุณด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของทั้งสองพระองค์ โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2555
ประติมากร : ตรวจและปรับแก้โดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ลักษณะ : พระรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดประมาณ 2 เมตร ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือตำรา
ประติมากร : ภราดร เชิดชู และ นพรัตน์ บุญมี นาวิน สุวัณณปุระ (ช่างหล่อ)
ประติมากร : กรมศิลปากร
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ลักษณะ : เป็นพระรูปปั้นลอยตัว หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูง 2.87 เมตร ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระมาลาแนบพระอุระ พระกรขวาปล่อยตรง พระหัตถ์ขวาทรงถือม้วนปริญญาบัตร มีแท่นประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์จารึกพระราชปณิธานเป็นภาษาไทยและอังกฤษ
ประวัติ : เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนิน ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ และเป็นศูนย์รวมจิตใจสำหรับนักศึกษา คณาจารย์ พนักงานของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประติมากร : มานพ สุวรรณปินฑะ
ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : ลานพระราชานุสาวรีย์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
ลักษณะ : เป็นพระรูปปั้นลอยตัว หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระมาลาแนบพระอุระ พระกรขวาปล่อยตรง พระหัตถ์ขวาทรงถือม้วนปริญญาบัตร
ประวัติ : จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานทางการศึกษาในการปลูกจิตสำนึก ให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ระลึกถึงพระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นศูนย์กลาง เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นที่ทำกิจกรรมและพักผ่อนหย่อนใจของชุมชนโดยรอบ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ฯ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี แล้วทรงปลูกต้นจำปีสิรินธร ข้างพระราชานุสาวรีย์ และในโอกาสนั้นได้ทอดพระเนตรนิทรรศการพันธุ์พืชและภูมิภาคตะวันตก พิพิธภัณฑ์ธรณีศาสตร์ นิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างพระราชานุสาวรีย์ และนิทรรศการอุทยานธรณีวิทยา
ประติมากร : อาจารย์ฐานิตพัฒน์ สงเคราะห์
ประติมากรรมในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สถานที่ตั้ง : ลานพระราชานุสาวรีย์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
ลักษณะ : เป็นพระรูปครึ่งพระองค์ ทรงฉลองพระองค์ครุย แกะสลักจากหินหยกขาว ความสูงของพระรูปรวมฐาน 90 เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง 120 เซนติเมตร อยู่กลางบ่อน้ำพุ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของอาคารศูนย์การแพทย์มหิดลนครสวรรค์
ประวัติ : เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดพิธีถวายราชสักการะและพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมีแพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธี จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อกิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นศูนย์รวมจิตใจสำหรับ คณาจารย์ พนักงาน นักศึกษาของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังได้สร้างตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล แกะสลักจากหินหยกขาวเช่นเดียวกับพระราชานุสาวรีย์
บรรณานุกรม ขอบคุณ คณะทำงาน
บรรณานุกรม
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2531). เผยแพร่เป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย และพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก 18 กรกฎาคม 2531. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). เทิดพระนามมหิดล. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพยาบาลศาสตร์. (2560). สายธารแห่งการให้. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพยาบาลศาสตร์. (2560). จากสายธารแห่งพระการุณย์ สู่ 120 ปี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. (2559). โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีประกอบพิธีประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/nursing/th/Event/other/12042016-1306-th (วันที่สืบค้นข้อมูล: 31 สิงหาคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2551). 120 ชิ้นเอกของศิริราช. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2551). 120 ปี ศิริราช. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(2552). 120 Memorabilia of Siriraj. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.en.mahidol.ac.th/thai/about/puttanadol.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 มกราคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2535). หนังสือที่ระลึกเนื่องในพิธีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2560). พิธีทำบุญตักบาตรและบวงสรวงใหญ่ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิด รพ.ศิริราช ครบ 129 ปี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnewsdetail.asp?hn_id=2087 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 27 สิงหาคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2554). ศิริราชจัดพิธีสมโภชพระบรมรูปและพระรูปหล่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/th/sirirajnewsite/hotnewsdetail.asp?hn_id=869 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 27 สิงหาคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. (2559). พิธีอัญเชิญพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/pg/gj.mahidol/photos/?tab=album&album_id=1077999992289416 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 28 สิงหาคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. (2558). 20 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. นนทบุรี: หยิน หยาง การพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. แผนที่นำชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานอธิการบดี. (2554). พิธีเปิด อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และประติมากรรม “จากพระเมตตา สู่ปัญญาของแผ่นดิน” .
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2556). โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สุกรี เจริญสุข. (2559). มหิดลสิทธาคาร แค่สร้างอาคารไม่พอเพียง. วารสารเพลงดนตรี, 21, 4-7
สุกรี เจริญสุข. (2559). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี. วารสารเพลงดนตรี, 22, 4-15.
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์. (2554). ความทรงจำแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
รศ.ดร.รุ่งทิวา วัจฉละฐิติ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.พิเศษ นพ. สรรใจ แสงวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
นายจักรีนนท์ หรือโอภาศ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
นางสาวนิสากร แข็งงาน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
นายจรูญ กะการดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาวอัญชลี เพลินมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาวปริชาติ แก้วสำราญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หอจดหมายเหตุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานจัดทำนิทรรศการ “ต้นไม้ทรงปลูก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล”
นายโกมล คงมั่นกตเวที ที่ปรึกษา
นางสาวเพชรดา ฐิติยาภรณ์ ประธานคณะทำงาน
นางสาวนวลปรางค์ ศรัทธาบุญ คณะทำงาน
นายพงศกร ระวิเพียรทรัพย์ คณะทำงาน
นายคมสันต์ เดือนฉาย คณะทำงาน
นายพิชย ณ สงขลา คณะทำงาน
นายธนกฤต ทองบริสุทธิ์ คณะทำงาน
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ ต้นไม้ทรงปลูก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดนิทรรศการ วันที่ 2 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
ไฟล์สูจิบัตรนิทรรศการ
“…ควรจะปลูกต้นไม้ในใจคน เสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง…”
ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2519
จากพระราชดำรัสข้างต้น บ่งบอกถึงแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการปลูกฝังที่คนก่อน และยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในการสอนให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกประการหนึ่งด้วย
มหาวิทยาลัยมหิดลได้น้อมนำพระราชดำริในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการเป็นนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco University) ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2558-2562 ได้มีการวางแผนเพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ รื่นรมย์ เอื้อต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา บุคลากร และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย
ในการนี้ ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดทำนิทรรศการ “ต้นไม้ทรงปลูก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล” ในโอกาสครบรอบ 49 ปี วันพระราชทานนาม 130 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 เพื่อรวบรวม เผยแพร่ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระกรุณาธิคุณในพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จมายังมหาวิทยาลัยมหิดลในโอกาสต่าง ๆ ทั้งยังได้ทรงปลูกต้นไม้พระราชทานและประทานไว้ถึง 18 ต้น 16 สายพันธุ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นที่ระลึกให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ประหนึ่งเป็นการปลูกต้นไม้ในใจพวกเราชาวมหิดล เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสืบไป
ต้นศรีตรัง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกเมื่อวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 18.05 น. ณ บริเวณสนามหญ้าด้านซ้ายและขวาของลานพระราชานุเสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ความเป็นมา
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 17.58 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ที่ประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ไปยังบริเวณสนามหญ้าด้านซ้ายและขวาของลานพระราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก
ในเวลา 18.05 น. ทรงปลูกต้นศรีตรัง จำนวน 2 ต้น โดยทรงพรวนดิน และทรงรดน้ำที่ต้นศรีตรัง ทั้ง 2 ต้น เพื่อพระราชทานให้เป็นสิริมงคลแก่โรงพยาบาลศิริราช ในการนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน เป็นผู้ถวายการเข็นพระเก้าอี้เลื่อน และ ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในขณะนั้นโดยเสด็จด้วย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโบกพระหัตถ์พร้อมแย้มพระสรวลตอบประชาชนที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จและถวายพระพรตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jacaranda obtusifolia ssp. Rhombifolia (Meijer) Gentry
ชื่อเรียกอื่น: แคใบฝอย
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 4-10 ม. ทรงต้นโปร่ง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม ใบย่อยขนาดเล็ก
ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล เป็นฝักแบนรูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่แตก 2 ซีก เมล็ดมีปีก
ถิ่นกำเนิด: มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ถูกนำมาปลูกครั้งแรกทางภาคใต้ ที่จังหวัดตรัง โดยพระยารัษฎานุ ประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในสมัยรัชกาลที่ 5
การกระจายพันธุ์: ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ทิ้งใบช่วงสั้นก่อนออกดอกในเดือนมกราคม-มีนาคม นิยมปลูกเป็นไม้ ประดับ
ประโยชน์: ปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ให้ร่มเงา และความสวยงามทั่วไป
ต้นแก้วเจ้าจอม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ณ บริเวณหน้าอาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 และทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” ณ บริเวณอาคารพลศึกษา ปัจจุบันคือ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อเป็นแบบอย่างในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทรงตระหนัก ถึงคุณค่าของป่าไม้ และพระราชประสงค์จะให้คนสามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
แก้วเจ้าจอม เป็นพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นแรกในประเทศไทย มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้พันธุ์นี้มาจากชวา ประเทศอินโดนีเซีย และนำมาปลูกไว้ใน วังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอมได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525 กรมส่งเสริมการเกษตร ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า “แก้วเจ้าจอม” หรือ “น้ำอบฝรั่ง”
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Guaiacum officinale L.
ชื่อเรียกอื่น: Lignum vitae
ชื่อวงศ์: ZYGOPHYLLACEAE;
ลักษณะ:
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-10 ม.
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 2-3 คู่ ไม่มีก้าน รูปไข่กลับหรือรูปรี แผ่นใบหนา โคนใบสอบ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ
ดอก ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สีฟ้าอมม่วงหรือฟ้าคราม สีจะจางลงเมื่อใกล้โรย
ผล เป็นผลแห้งแตก รูปคล้ายหัวใจ ปลายมีติ่งแหลม สีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีแดง
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ชื่อ Lignum vitae หมายถึง ไม้แห่งชีวิต (Wood of Life) เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมารักษาอาการได้หลายโรค
การกระจายพันธุ์: ออกดอก เดือนสิงหาคม – เมษายน การปลูกเลี้ยงใช้ดินร่วน การระบายน้ำดี แสงแดดจัด น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
ประโยชน์: เนื้อไม้ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ยาระบาย และเป็นยาฝาดสมาน
ต้นสารภีแนน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้น “สารภีแนน” เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ (ชื่อเดิมของอุทยานฯ ในขณะนั้น)
สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทยสำหรับการศึกษา วิจัย พัฒนา และการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และเป็น “ปอดสีเขียว” ให้แก่บุคลากรในพื้นที่ โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2524 หลังจากปลูกไม้ร่มเงาแล้ว จึงนำสมุนไพรไทยทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม จัดปลูกลงตามบริเวณที่สถาปนิกวางรูปแบบไว้ ในพื้นที่ 12 ไร่ โดยทำการรวบรวมสมุนไพรที่มีศักยภาพ และมีรายงานการวิจัยสนับสนุนด้วย ต่อมาเมื่อพืชสมุนไพรเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อว่า “สิรีรุกขชาติ” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสมุนไพรแห่งนี้ ว่า “สวนสวยดี และช่างคิดที่นำสมุนไพรมาใช้เป็นไม้ประดับ”
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Calophyllum inophyllum L.
ชื่อเรียกอื่น: กระทิง กากะทิง สารภีทะเล
ชื่อวงศ์: CRUSIACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-25 ม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-15 ซม.
ดอก ช่อดอกออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อย 4-6 ดอก กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก มีกลิ่นหอม
ผล สด รูปทรงกลม
ประโยชน์: ใบ ใช้เป็นยาเบื่อปลา
ต้นสารภี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ณ บริเวณหน้าอาคารนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “สารภี” เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ณ บริเวณหน้าอาคารนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หลังจากเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการสอบวิทยานิพนธ์ ของ หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในหัวข้อ “ระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบระบบการปลูกพืช กรณีศึกษาเขตชลประทานห้วยน้ำโจน ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา”
คณะกรรมการควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์พิเศษ เล็ก มอญเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร อ้วนอ่อน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และอาจารย์จิระศักดิ์ พูนผล
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อเรียกอื่น: สารภี ทรพี สร้อยพี สารภีแนน
ชื่อวงศ์: CRUSIACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 ม.
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา
ดอก เดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก
ผล ผลสด รูปกระสวย
ประโยชน์: ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มขื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในเกสรทั้ง 5 คือ เกสรดอกไม้ 5 อย่าง ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง
ต้นกฤษณา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ บริเวณด้านหน้าสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “กฤษณา” เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ บริเวณด้านหน้าสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเข้าร่วมสัมมนาวิชาการพิเศษด้านอาหารและโภชนาการ ครั้งที่ 1 เรื่อง “โภชนาการ” ของสถาบันฯ โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมงานเป็นประจำทุกปีติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง จนถึงปี พ.ศ. 2549 เป็นการสัมมนาวิชาการพิเศษด้านอาหารและโภชนาการ ครั้งที่ 15 เรื่อง “กระแสโลกเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้านโภชนาการ”
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
ชื่อเรียกอื่น: ไม้หอม, Eagle wood
ชื่อวงศ์: THYMELAEACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-40 ม.
เปลือก เรียบสีเทา ตามยอดมีขนสีขาว
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ มักมีขนตามขอบใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า
ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายยอดและซอกใบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ ผลรูปไข่
ประโยชน์: หลายประเทศทั่วโลกนำมาใช้เพื่อทำให้เกิดกลิ่นหอม เพื่อการบำบัด หรือทำให้เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ รู้จักกันดีในนาม “Aromatherapy” ในแถบทวีปเอเชีย แพทย์จะนำมาใช้ประกอบทางยา
ต้นจันทน์หอม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาสยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “จันทน์หอม” เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด “อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล” ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารให้แก่คณะฯ มีความหมายว่า “อาคารที่บันดาลให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อม”
อาคารแห่งนี้ ใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษา ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในประเทศและนานาชาติ เป็นสถานที่ทำการวิจัย ค้นคว้า ให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย ห้องเรียนขนาดต่าง ๆ ห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mansonia gagei Drumm.
ชื่อเรียกอื่น: จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า
ชื่อวงศ์: STERCULIACEAE
ลักษณะ:
ต้น ขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 – 20 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง
เปลือก ค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3 – 6 ซม. ยาว 8 – 14 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ
ดอก ดอกเล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ
ผล รูปกระสวย กว้าง 0.5 – 0.7 ซม. ยาว 1 – 1.5 ซม. มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม หนึ่ง ปีก กว้าง 1 – 1.5 ซม. ยาว 2.5 – 3 ซม.
การกระจายพันธุ์: ออกดอก ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม และผลแก่ ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
การใช้ประโยชน์: เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไสกบตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม และเครื่องสำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย
ต้นพิกุล
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทรงปลูก “ต้นพิกุล” ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ บริเวณด้านหน้าอาคาร
โอกาสนี้ ทรงบรรยายปาฐกถาเกียรติยศ คุณหญิงพิณพากย์ พิทยาเภท ในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 150 ปี วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยทรงกล่าวถึงความสำคัญของวิชาชีพการพยาบาล ที่ต้องทำหน้าที่ส่งเสริม พัฒนาสุขภาพอนามัย และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากรวิชาชีพทางการพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถ และเสียสละในหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเล็งเห็นความสำคัญข้อนี้ จึงทรงส่งเสริมให้สตรีไทยได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาชีพการพยาบาลในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน และเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops elengi Linn.
ชื่อเรียกอื่น: มะเมา แก้ว พิกุลป่า พิกุลเขา พิกุลเถื่อน
ชื่อวงศ์: SAPOTACEAE
ลักษณะ:
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 ม.
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ
ดอก ออกดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่งและซอกใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
ผล กลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด
การกระจายพันธุ์: พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ประโยชน์: ดอก บำรุงหัวใจ แต่งกลิ่น ขับลม ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ต้นจำปีสิรินธร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิด “มหิดลสิทธาคาร” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทรงปลูกต้น “จำปีสิรินธร” บริเวณทางเข้าอาคาร ฝั่งตรงข้ามวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหิดลสิทธาคาร เป็นอาคารหอประชุมอเนกประสงค์ มีความจุ 2,016 ที่นั่ง สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารดังกล่าวว่า “มหิดลสิทธาคาร” หมายถึง “อาคารที่มีความสำเร็จแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล” และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีมติให้ใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Prince Mahidol Hall”
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Magnolia sirindhorniae Noot. & Chalermglin
ชื่อเรียกอื่น: จำปา จำปาสัก
ชื่อวงศ์: MAGNOLIACEAE
ลักษณะ:
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 20 – 25 ม. ลำต้นตรง ต้นแก่เปลือกแตก เป็นร่องตามยาว กิ่งอ่อนมีแผลระบายอากาศชัดเจน
ใบ รูปรี กว้าง 7-10 ซม. ยาว 14-20 ซม. ปลายมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2.5-4.5 ซม.
ดอก สีขาวนวล ออกเดี่ยว ตั้งขึ้นตามซอกใบ ใกล้ปลายยอด ยาว 2.5-3.5 ซม. ก้านดอกยาว 1.8 ซม กลีบดอกมี 12-15 กลีบ เรียงเป็นชั้นละ 3 กลีบ ปลายกลีบมน
ผล เป็นผลกลุ่ม ช่อยาว 4-6 ซม. รูปกลม มีผลย่อย 15-25 ผล เมล็ด สีแดงเข้ม รูปกลมรี ขนาด 4-6 มม.
การกระจายพันธุ์: เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ขึ้นแช่น้ำอยู่ในป่าพรุน้ำจืด ที่ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ระดับความสูง 60 ม. เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม ผลแก่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ต้นมะม่วงมันศาลายา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
มื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด “อาคารสิริวิทยา” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทรงปลูกต้น “มะม่วงมันศาลายา” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่น และพันธุ์ไม้เศรษฐกิจของชาวอำเภอพุทธมณฑล บริเวณด้านหน้าอาคาร
อาคารสิริวิทยามีลักษณะเป็นอาคารสูง 7 ชั้น 1 อาคาร และอาคารสูง 3 ชั้น 1 อาคาร มีพื้นที่ใช้สอย 16,342 ตารางเมตร สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารดังกล่าวว่า “อาคารสิริวิทยา” หมายถึง “อาคารที่เป็นแหล่งรวมความรู้อันประเสริฐ” เมื่อวันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สำหรับมะม่วงมันศาลายาที่ทูลถวาย มีถิ่นกำเนิดที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นมะม่วงที่มีรสชาติอร่อย รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก ถ้าผลดิบหรือห่ามจะมัน กรอบ หวาน อม เปรี้ยว และฉ่ำน้ำ มะม่วงมันศาลายามีผลทรงรีแกมหอก หลังและอกโค้งรับกันคล้ายรูปเขี้ยวสัตว์ ผลมีขนาดกลาง ความยาวประมาณ 12-15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบบางขนาดกลาง เมื่อแก่จัดผลมีสีเหลือง เนื้อผลสีเหลือง รสหวาน ติดดอกออกผลทวาย ผลดกสม่ำเสมอ ลักษณะประจำพันธุ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือกิ่งเลื้อย
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.
ชื่อเรียกอื่น: มะม่วง
ชื่อวงศ์: ANACARDIACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
ใบ โต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว
ผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
ประโยชน์: ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น และชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว
ต้นประดู่แดง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อโรงเรียน “Mahidol University International Demonstration School” และทรงปลูกต้น “ประดู่แดง” บริเวณหน้าป้ายชื่อโรงเรียน จากนั้น ทรงลงพระนามเป็นที่ระลึก และทอดพระเนตรห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องสมุด ศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทอดพระเนตรนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติโรงเรียน หลักสูตรการเรียนการสอน และผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะของนักเรียน
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน จำนวน 36 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ห้อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง ห้องศิลปะ จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งห้องสมุด สนามกีฬาในร่ม และห้องประชุมขนาดใหญ่ จำนวน 2 ห้อง รองรับการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (เกรด 10 ถึงเกรด 12) ในปี พ.ศ. 2560 มีนักเรียนเข้าศึกษาประมาณ 600 คน
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllocarpus septentrionalls Donn. Sm.
ชื่อเรียกอื่น: วาสุเทพ Monkey flower tree, Fire of Pakistan
ชื่อวงศ์: FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ต้นสูงถึง 20 ม.
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 6-10 ใบคู่ที่ปลายใหญ่ที่สุด แผ่นใบไม่สมมาตร รูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้าน กลีบเลี้ยง 4 กลีบสีแดง กลีบดอก 3 กลีบ สีแดงอมส้ม
ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน
การกระจายพันธุ์: การกระจายพันธุ์ พบในประเทศกัวเตมาลา อเมริกาใต้ อเมริกากลาง ประเทศไทย
ต้นมหาพรหมราชินี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยทรงเปิดแพรคลุมป้าย “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” ทอดพระเนตรนิทรรศการถาวร สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล ณ อาคารใบไม้สามใบ จากนั้นทรงปลูกต้น “มหาพรหมราชินี” ทอดพระเนตรสวนสมุนไพร และแบบจำลองอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และลานสมุนไพรเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เดิมเป็น “โครงการปลูกสวนสมุนไพร” บนพื้นที่ 12 ไร่ สำหรับรวบรวมสมุนไพรไทยเพื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อว่า “สิรีรุกขชาติ” ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลได้ยกระดับพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านสมุนไพรไทย และเป็นศูนย์การเรียนรู้ พร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ จึงดำเนินการปรับภูมิทัศน์และขยายพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ เป็น 171 ไร่ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ”
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chelermglin & R.M.K. Saunders
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ลักษณะ:
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 ม. ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่
ใบ รูปหอก กว้าง 4-9 ซม. ยาว 11-19 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นแขนงใบจำนวน 8-11 คู่
ดอก มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ใกล้ปลายยอดเป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้ ชนิดอื่น ๆ ในสกุลมหาพรหม โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อน ๆ
ผล เป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอก
การกระจายพันธุ์: มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบ ๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 ม. ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (Endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
ต้นราชพฤกษ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ความเป็นมา
เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “ราชพฤกษ์” ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสถาบันฯ อย่างเป็นทางการ
“สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพระราชทานชื่ออาคาร ภายในมี “โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์” ขนาด 400 เตียง ความสูง 7 ชั้น ประกอบด้วย ส่วนบริการผู้ป่วยนอก ส่วนหอผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยพิเศษ ส่วนสำนักงาน และส่วนการศึกษา มุ่งเน้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อให้การดูแลและบริการตรวจรักษาประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมาประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนประชาชนในบริเวณใกล้เคียง และในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งตะวันออกด้วย
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula L.
ชื่อเรียกอื่น: คูน ลมแล้ง
ชื่อวงศ์: CAESALPINIACEAE
ลักษณะ:
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-15 ม.
ใบ เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ ใบย่อย 3-8 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม.
ดอก สีเหลืองสด ออกตามซอกใบ เป็นช่อห้อยลง ยาว 20-40 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดบานกว้าง ประมาณ 3 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรตัวผู้ 10 อัน สั้น 7 อัน ยาว 3 อัน ก้านเกสรตัวเมีย และรังไข่มีขนยาว
ผล เป็นฝักยาว รูปแท่งกลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 20-60 ซม. ฝักแก่ไม่แตก แต่จะหลุดร่วงทั้งฝัก และหักแตกเป็นชิ้น
เมล็ด มีเนื้อเหนียวสีดำหุ้ม
การกระจายพันธุ์: ย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์: ผล ต้มน้ำกิน เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ ขับเสมหะ ขับพยาธิ ตานขโมยในเด็ก โรคไข้มาลาเรีย และดอกราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยด้วย
ต้นหางนกยูงฝรั่ง
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ณ บริเวณสวนเจ้าฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงปลูกต้น “หางนกยูงฝรั่ง” ณ บริเวณสวนเจ้าฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Delonix regia (BoJ. ex Hook.) Raf
ชื่อเรียกอื่น: นกยูงฝรั่ง ส้มพอหลวง หงอนยูง
ชื่อวงศ์: CAESALPINIACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม.
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แก่นช่อใบ ยาว 50-60 ซม. แกนแขนงมี 9-24 คู่ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 มม. ยาว 8-10 มม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน
ดอก สีแดงแซมส้มเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-15 ซม. มี 5-10 ดอก ดอกย่อยขนาด 5-8 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ ด้านในสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อนขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 10 อัน
ผล เป็นฝักโค้งแข็ง กว้าง 4-5 ซม. ยาว 30-60 ซม.
เมล็ด มี 20-40 เมล็ด เมื่อแห้งจะแตกตามสัน
การกระจายพันธุ์: เป็นพันธุ์ไม้ของเกาะมาดากัสการ์ นิยมนำมาปลูกทั่วไปในเขตร้อนทั่วโลก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ต้นราชพฤกษ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ความเป็นมา
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จทรงเปิดนิทรรศการ และทรงปลูกต้นไม้ในโครงการ “ศิริราชเขียวขจี ปลูกต้นไม้ฉลอง 120 ปี ทำดีเพื่อพ่อ” เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทรงปลูกต้น “ราชพฤกษ์” บริเวณสนามหญ้าทางฝั่งซ้ายของพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
โครงการดังกล่าว จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 120 ปี โรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยการเจริญรอยตามแนวคิดในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างจิตสำนึกให้แก่บุคลากร ร่วมกันปรับสภาพภูมิทัศน์โดยรอบโรงพยาบาลให้ร่มรื่น มีสภาพอากาศที่ดี ช่วยประหยัดพลังงาน และลดความเครียด ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งแก่ผู้ป่วย นักศึกษา และบุคลากร นำไปสู่การเป็นโรงพยาบาลต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
ต้นกันภัยมหิดล
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปลูกเมื่อวันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2542 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2542 ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 30 ปี วันพระราชทานนาม เพื่อทรงแสดงปาฐกถา เรื่อง “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” พร้อมทั้งเป็นองค์ประธานตัดสินการคัดเลือกต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
ผลการตัดสิน ทรงมีพระวินิจฉัยให้ “กันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย สามารถปลูกได้ง่าย มีนามเป็นมงคล มีชื่อพ้องกับนามมหาวิทยาลัย และมีลักษณะสวยงามแม้จะเป็นไม้เถา แต่ก็สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ มีอายุยืนหลายปี และเมื่อเถาแห้งไป ก็สามารถงอกงามขึ้นได้ใหม่ ซึ่งความเป็นไม้เถานี้ สื่อความหมายถึงความก้าวหน้า และความสามารถในการปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี โอกาสนี้ทรงปลูกต้นกันภัยมหิดลที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดีด้วย
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Afgekia mahidoliae B. L. Burtt et Chermsirivathana
ชื่อเรียกอื่น: กันภัย
ชื่อวงศ์: FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้เถา ขนาดกลาง มีขนประปรายทั่วต้น
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อย 7-11 ใบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3.5 ซม. โคนใบมน ปลายแหลมและมักมีติ่งสั้น
ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 10-50 ซม. โคนก้านดอกมีริ้วประดับ รูปขอบขนาน ปลายแหลม บิดเวียน สีม่วง หลุดร่วงง่าย ดอกรูปดอกถั่ว ยาว 2-3 ซม. โคนกลีบรองดอกซ้อนกัน มีขนน กลีบดอก 5 กลีบ กลีบตั้งด้านในมีสีม่วงแดง ที่โคนกลีบมีแถบสีเหลือง เกสรตัวผู้ 10 อัน โคนเชื่อมกัน 9 อัน
ผล เป็นฝักแบน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 6-9.5 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
เมล็ด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม.
การกระจายพันธุ์: มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นพรรณไม้หายาก ขึ้นตามป่าเต็งรัง และภูเขาหินปูน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย นำมาปลูกได้ทั่วไป ออกดอกเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
ต้นอินจัน
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปลูกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ณ บริเวณด้านหน้าสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปลูกต้น “อินจัน” บริเวณด้านหน้าสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ในโอกาสเสด็จมายังสถาบันฯ เป็นการส่วนพระองค์
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros decandra Lour.
ชื่อเรียกอื่น: จัน จันขาว จันลูกหอม จันโอ อิน จันอิน
ชื่อวงศ์: EBENACEAE
ลักษณะ:
ต้น ไม้ต้นสูง 20 ม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ถึงขอบขนาน ฐานบ้านหรือปลายแหลม ปลายใบเรียวแหลม
ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูประฆังคว่ำ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปคันโท ดอกเพศเมียลักษณะคล้ายดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า
ผล ผลสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม รูปร่างกลมหรือกลมแป้น มีกลีบเลี้ยงติดคงทน เนื้อผลมีรสหวาน นิยมนำมารับประทานเมื่อสุก
การกระจายพันธุ์: การกระจายพันธุ์ พบในประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม พม่า และลาว ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ผล
ประโยชน์: มีสรรพคุณทางสมุนไพร คือ แก้ไข้ บำรุงเลือดลม แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงประสาท แก้เหงื่อตกหนัก ตับปอดพิการ ขับพยาธิ แก้สะอึก แก้ท้องเสีย แก้ไข้กำเดา
ต้นราชาวดีสีม่วง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงปลูกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ความเป็นมา
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด “อาคารอทิตยาทร” วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และทรงปลูกต้น “ราชาวดีสีม่วง” บริเวณหน้าอาคาร โดยสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้าเฝ้าถวายรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น หรือ “รางวัลมหิดลทยากร” แด่พระเจ้าหลานเธอฯ ในโอกาสนี้ด้วย
อาคารอทิตยาทร เป็นอาคารสำหรับการเรียนการสอนของวิทยาลัยนานาชาติ ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ด้วยทรงเป็นศิษย์เก่า ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ โดยทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 อาคารแห่งนี้ มีความสูง 6 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 67,901 ตารางเมตร ภายในมีห้องปฏิบัติการของหลักสูตรจิตรกรรมและศิลปกรรม (Fine and Applied Arts) มีหอแสดงศิลปะ (Art Exhibition & Gallery) มีอาคารสำนักงาน และที่จอดรถใต้ดิน จำนวน 3 ชั้น อีกทั้งยังเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ที่มีการออกแบบที่ทันสมัยอีกด้วย
ข้อมูลทางพรรณไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buddleja davidii French.
ชื่อเรียกอื่น: Lilac with Orange Eye, Summer Liac
ชื่อวงศ์: BUDDLEJACEAE
ลักษณะ:
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 3-5 ม.
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 3-4.5 ซม. ปลายแหลม โคนแหลม หรือมน ขอบจัก ด้านบนสีเขียว ด้านล่างมีขนสีเงิน ก้านสั้น
ดอก สีม่วงสด มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ยาว 15-18 ซม. ดอก มีขนาดใหญ่กว่าดอกราชาวดีสีขาว 1-1.5 เท่า กลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ๆ ปากหลอดมีสีเหลืองส้ม ปลายแยกเป็น 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล เมื่อแก่แตกได้
การกระจายพันธุ์: ถิ่นกำเนิด จีน ออกดอกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
ประโยชน์: เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
บรรณานุกรม
ข่าวสด. (2559). “ศรีตรัง” ที่ “ในหลวง” ทรงปลูก แค่ทิ้งใบเท่านั้นไม่ได้ยืนต้นตายดังโซเชี่ยลลือ ศิริราช-กรมป่าไม้เร่งฟื้นฟู. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_71794 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มกราคม 2561).
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). ข่าวประชาสัมพันธ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/News/2556/06/building56_th.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561)
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ความเป็นมาสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://med.mahidol.ac.th/cnmi/aboutus/story (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 มกราคม 2561)
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2551). ศิริราชจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงเปิดนิทรรศการและทรงปลูกต้นไม้ ในโครงการ “ศิริราชเขียวขจี ปลูกต้นไม้ฉลอง 120 ปี ทำดีเพื่อพ่อ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnewsdetail.asp?hn_id=307 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561);
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ไม้กฤษณา (ไม้หอม): ไม้ทรงคุณค่า ตอนที่ 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=224 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561)
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=about (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มกราคม 2561)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). ภาพพิธีเปิดอาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.en.mahidol.ac.th/thai/photo/20090717/index3.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.en.mahidol.ac.th/thai/about/puttanadol.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 มกราคม 2561)
คณิตา เลขะกุล, คุณหญิง. (บรรณาธิการ). (2536). ไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
คมชัดลึก (2554). ในหลวงทรงปลูกต้นศรีตรังเป็นสิริมงคลแก่รพ.ศิริราช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.komchadluek.net/news/royal/105193 (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มกราคม 2561).
เต็ม สมิตินันทน์. (2523). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย(ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.
ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). นิทรรศการกันภัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://muarms.mahidol.ac.th/th/2559-exhibition/Kan-Phai-Mahidol (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 มกราคม 2561)
ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). มรดกความทรงจำ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://muarms.mahidol.ac.th/th/project_memories/ (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561)
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). จดหมายเหตุประวัติของมหาวิทยาลัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mahidol.ac.th/th/history.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มกราคม 2561).
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นกันภัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mahidol.ac.th/th/kanphai_mu.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 มกราคม 2561).
ยศพิณ สิริเวชชะพันธ์, มานะ โพธิ์ทอง และมนัส เจืออรุณ. (2554). ต้นไม้ทรงปลูก. นนทบุรี : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
-ส่วนเพาะชำกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. (2537). พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (2554). ฐานข้อมูลพรรณไม้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/Search_page.asp (วันที่สืบค้นข้อมูล : 29 มกราคม 2561).
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
– ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
– นายสวัสดิ์ จินเดหวา
– นายกรชัย เหล็กเพ็ชร
– นายจรูญ กะการดี
– นายอภิชัย อารยะเจริญชัย
– นายนราวุฒิ สุวรรณัง
– นายเอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์
– นายพยนต์ ฐานะสถิรกุล
– นายวิศิษฏ์ สมบัติถาวรกุล
– นายโจนัส สุขกุล
– นางสาวจงภัทร นมะภัทร
– นายธนกฤต ทองบริสุทธิ์
– งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี
– งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
– ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
– สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
– คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– หน่วยประชาสัมพันธ์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานจัดทำนิทรรศการ “ต้นไม้ทรงปลูก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล”
นายโกมล คงมั่นกตเวที ที่ปรึกษา
นางสาวเพชรดา ฐิติยาภรณ์ ประธานคณะทำงาน
นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน คณะทำงาน
นางสาวนวลปรางค์ ศรัทธาบุญ คณะทำงาน
นายพงศกร ระวิเพียรทรัพย์ คณะทำงาน
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการพิเศษครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต 13 ตุลาคม 2560 “ส่งเสด็จ ธ สู่ฟ้าสถิตย์สวรรค์”
จัดนิทรรศการ วันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
ไฟล์สูจิบัตรนิทรรศการ
ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช ในเย็นวันนั้นประชาชนที่อาศัยในเขตใกล้เคียง ได้รวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ถวายพระพรให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ภายหลังจากได้รับทราบประกาศสำนักพระราชวังดังกล่าวแล้ว บ้างก็สงบนิ่งทำอะไรไม่ถูก บ้างก็ร้องไห้ออกมาในที่สาธารณะอย่างไม่อายกัน บ้างก็ถึงกับเป็นลมล้มพับไปก็มีมาก หลังจากได้สติประชาชนในที่นั้นได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน เป็นการส่งเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พระนามเมื่อแรกประสูติตามพระสูติบัตรคือ “เบบี้ สงขลา” ต่อมาได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
นิวัติประเทศไทย
ปีพุทธศักราช 2471 ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อมกับสมเด็จพระบรมราชชนกและครอบครัวราชสกุลมหิดล ประทับ ณ วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุเพียง 1 พรรษา กับ 8 เดือน หลังจากนั้นครอบครัวราชสกุลมหิดลจึงได้ประทับอยู่ ณ วังสระปทุมกับสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าต่อไป
ปีพุทธศักราช 2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีพร้อมด้วยพระธิดาและพระโอรส ทั้ง 3 พระองค์ เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีพุทธศักราช 2477 สมเด็จบรมพระเชษฐาธิราชได้รับการถวายราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชในขณะนั้น จึงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช” และปีพุทธศักราช 2481 ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชนิวัติประเทศไทย ประทับอยู่ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยอีกหนหนึ่งในปีพุทธศักราช 2488 โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระอนุชาได้โดยเสด็จพระราชดำเนินด้วย
สืบราชสันตติวงศ์
วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง รัฐสภาในขณะนั้นมีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเสวยราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากจัดการพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเรียบร้อยแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ และการเสด็จกลับไปศึกษาต่อในครั้งนี้ ทรงเปลี่ยนแผนการศึกษาจาก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชารัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระราชภารกิจในฐานะพระมหากษัตริย์ต่อไป
ทรงประสบอุบัติเหตุ
ปีพุทธศักราช 2491 หลังจากทรงจบการศึกษาแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูต และครอบครัวจึงได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ และเป็นครั้งแรกที่ได้ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ธิดาคนโตในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล) เป็นครั้งแรก ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ประทับรักษาพระองค์อยู่ที่โรงพยาบาลเมืองโลซานน์ ทรงมีรับสั่งให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เข้าเฝ้า หลังจากนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เยี่ยมพระอาการและถวายการรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายใน ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ราชาภิเษกสมรส
ปีพุทธศักราช 2493 เสด็จพระราชดำเนินนิวัติประเทศไทยและประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม และในการพระราชพิธีนั้นได้มีการสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีด้วย
บรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ หมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงสรงพระมูรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน ด้านข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เสร็จสิ้นแล้ว เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับ ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ทรงรับน้ำอภิเษก และทรงรับพระมหาเศวตรฉัตรแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พราหมณ์ร่ายพระเวทย์ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ถวายพระสุพรรณบัฏ จารึกพระปรมาภิไธย
ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” เมื่อทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์เสร็จสิ้นแล้ว พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” จากนั้นเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยมี คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล จากนั้นประทับเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ให้ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระราชโอรสพระราชธิดา
พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ก่อนจะทรงครองสิริราชสมบัติจวบจนเสด็จสวรรคต ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมพิธีการสำคัญของมหาวิทยาลัยอย่างเนืองนิจ ดังเช่น
เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปีพุทธศักราช 2489 ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงร่วมพิธีในครั้งนั้น และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2493 เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อทรงเป็นองค์ประธานพิธีประสาทปริญญาและอนุปริญญาของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (นามเดิมของมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นครั้งแรกในรัชสมัย จนถึงปีพุทธศักราช 2541 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นครั้งสุดท้าย และหลังจากนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาพระราชทานปริญญาบัตรให้กับบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดลเสมอมาจนสิ้นรัชกาล
วันมหิดล
เสด็จพระราชดำเนินเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2496 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพยาบาลศิริราช ทรงวางพวงมาลา ถวายสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก โดยเรียกวันนี้ว่า “วันมหิดล” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ หากปีใดทรงมีพระราชกรณียกิจหรือพระสุขภาพไม่อำนวย ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี โดยได้เสด็จพระราชดำเนินในงานวันมหิดลด้วยพระองค์เองเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2520
วันทรงดนตรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัยมหิดล ในการทรงตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญมาทรงดนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดงานทรงดนตรีในครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พุทธศักราช 2513 ณ สวนอัมพร โดยมี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา (พระอิสริยยศในขณะนั้น) โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีด้วย ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราโชวาทองค์หนึ่ง ที่ตราตรึงใจต่อที่ประชุมในครั้งนั้นความตอนหนึ่งว่า “…มหาวิทยาลัยมหิดล และโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้ ก็ถือว่าต่างเป็นลูกของท่าน ก็นับว่าเรามีสิ่งที่ใกล้เคียงกันเพราะว่าเราเป็นลูกของท่านเหมือนกัน และนับได้ด้วยว่ามีพี่น้องจำนวนมากน่าชื่นใจ คนที่เป็นพี่น้องควรจะช่วยกันเสมอ มีความสามัคคีกันเพื่อที่จะให้วงศ์ตระกูลชื่อเสียงของตนดี สร้างสรรค์ให้ทำประโยชน์ให้ส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้า…”
ลังจากการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนั้นแล้ว ยังได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาอีก 3 ครั้ง ในวันที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2514 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ วันที่ 19 สิงหาคม พุทธศักราช 2515 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2516 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ต่อมาหลังจากการทรงดนตรีพระราชทานในปีพุทธศักราช 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้การทรงดนตรีต้องเว้นว่างไปหลังจากนั้น
วันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ไปทรงทอดพระเนตร “ศิริราชคอนเสิร์ต เทิดไท้องค์อัครศิลปิน” ณ หอประชุมราชแพทยาลัย ภายในโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดถวายเพื่อให้ทรงพระเกษมสำราญ และเพื่อรำลึกถึง วันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2516 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี ที่หอประชุมราชแพทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล คอนเสิร์ตครั้งนี้บรรเลงเพลงโดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย(TPO) มี รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข เป็นผู้อำนวยการดนตรี นายกุดนี่ เอมิลสัน และ พันตรีประทีป สุพรรณโรจน์ เป็นวาทยกร โดยบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 19 เพลง
พิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดอาคารต่าง ๆ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารสถานที่หลายแห่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราชและในพื้นที่อื่น ๆ ในวาระต่าง ๆ เช่น
1. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ในวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2493 เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด “พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศิษย์เก่าร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อประดิษฐาน ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระเกียรติยศ และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยทั้งปวง
2. หอประชุมราชแพทยาลัย
วันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2495 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประชุมราชแพทยาลัย ซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นจากเงินบริจาคที่ประชาชน และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ร่วมกันบริจาคในงานฉลอง 60 ปี โรงพยาบาลศิริราช
3. ตึกอานันทมหิดล
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2499 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาก่อพระฤกษ์ ตึก “อานันทมหิดล” ณ โรงพยาบาลศิริราช ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 1 ปี
วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2500 ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดตึก “อานันทมหิดล” ซึ่งสร้างขึ้นด้วยราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และมีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล และรายได้จากการฉายภาพยนต์ส่วนพระองค์ สมทบทุนในการสร้างตึกเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน แด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช โดยใช้เป็นตึกรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
และในวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2531 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงานฉลองครบ 100 ปี ศิริราช และในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงเปิดตึก “อานันทมหิดล” ซึ่งสร้างขึ้นแทนตึกหลังเดิมที่ใช้งานมานาน และไม่พอเพียงต่อการเรียนการสอนที่ต้องพัฒนาขึ้น และการให้บริการต่อผู้ป่วยเด็กที่เพิ่มมากขึ้น
4. ตึกทดลองวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
วันที่ 19 สิงหาคม พุทธศักราช 2508 เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ ตึกทดลองวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
5. ตึก “หริศจันทร์” และตึก “ปาวา”
วันที่ 10 กันยายน พุทธศักราช 2511 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (พระอิสริยยศในขณะนั้นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ) มาทรงประกอบพิธีเปิดตึก “พระยาและคุณหญิง หริศจันทร์ สุวิท” และตึก “ยากัตตราม วิตตา วันดี ปาวา” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า ตึก “หริศจันทร์” และตึก “ปาวา”
6. อาคารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่ 30 ธันวาคม พุทธศักราช 2508 เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2512 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
7. พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ “สุด แสงวิเชียร”
วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2515 เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ “สุด แสงวิเชียร”
8. ตึกผู้ป่วยนอก (อาคารใหม่)
วันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2519 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงประกอบพิธีเปิดงานฉลอง 84 ปี ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงเปิดอาคารใหม่ของตึกผู้ป่วยนอก
9. ตึกสยามินทร์
วันที่ 17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2530 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงวางศิลาฤกษ์ “ตึกสยามินทร์” ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2535 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงเปิดตึก “สยามินทร์” ที่สร้างขึ้นในวาระศิริราชครบ 100 ปี เพื่อใช้เป็นตึกศูนย์กลางการผ่าตัดและสำนักงานภาควิชาต่างๆ
10. อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดอาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยมหิดล และทรงเปิดพระราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ อาคารสำนักงาน เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี
นอกจากนั้นยังได้เสด็จพระราขดำเนินมาในโอกาสต่าง ๆ อีกหลายครั้ง เพื่อทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลศิริราช และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมพระอาการพระบรมวงศานุวงศ์ที่ประทับรักษาพระอาการ ณ โรงพยาบาลศิริราช ร่วมถึงการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราชอีกหลายวาระด้วย
ขณะประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 จากการทรงมีพระปรอทสูง (เป็นไข้) (แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 1) คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ถวายการตรวจแล้วพบว่าถุงพระปิตตะ (ถุงน้ำดี) อักเสบบวมมาก และได้รับพระราชทานให้ถวายการรักษาโดยการตัดเอาถุงพระปิตตะ (ถุงน้ำดี) ออก (แถลงการณ์ฯ ฉบับที่ 2) หลังจากนั้นพระอาการก็ดีขึ้นตามลำดับ
วันที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปลี่ยนพระราชอิริยาบถ และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมารับการถวายตรวจพระอาการ ณ โรงพยาบาลศิริราช ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 (แถลงการณ์ฯ ฉบับที่ 13) หลังจากนั้นก็มีพระอาการพระปัปผาสะ (ปอด) อักเสบ และพระอาการภาวะน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองเป็นระยะ ๆ ซึ่ง คณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาตามพระอาการอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2559 คณะแพทย์ฯ ตรวจพบว่าการทำงานของพระวักกะ (ไต) ลดลง ผลเอกซเรย์พระปัปผาสะ (ปอด) พบเริ่มมีน้ำคั่งในพระปัปผาสะ (ปอด) คณะแพทย์ฯ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายการรักษาด้วยการดึงน้ำออกจากพระโลหิตด้วยวิธี Continuous renal replacement therapy (CRRT) เพื่อนำปริมาณน้ำส่วนเกินออก (แถลงการณ์ฯ ฉบับที่ 32) วันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 คณะแพทย์ฯ ถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) เพื่อทำให้ความดันพระโลหิตกลับสู่ระดับปรกติ พระอาการเริ่มไม่คงที่ (แถลงการณ์ฯ ฉบับที่ 37)
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 คณะแพทย์ฯ ได้รายงานว่า ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด (แถลงการณ์ฯ ฉบับที่ 38) และแถลงการณ์ฯ ฉบับนี้เอง เป็นแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับสุดท้าย
อนึ่งในขณะที่ประทับรักษาพระอาการประชวรอยู่นั้น หากช่วงใดที่พระอาการดีขึ้น ก็จะเสด็จพระราชดำเนินลงจากอาคารที่ประทับ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระราชวโรกาสบุคคลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถและทอดพระเนตรกิจการต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราช ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตโรงพยาบาลและพื้นที่ใกล้เคียงได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชมพระบารมีอยู่อย่างเสมอ เช่น
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.33 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ จากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในครั้งนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคลด้วยพระองค์เอง เป็นครั้งสุดท้าย
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.33 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ จากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในครั้งนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคลด้วยพระองค์เอง เป็นครั้งสุดท้าย
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.33 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ จากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในครั้งนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคลด้วยพระองค์เอง เป็นครั้งสุดท้าย
เหตุการณ์วันสวรรคตและการเชิญพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง
วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลาใกล้ 19.00 น. มีประกาศสำนักพระราชวังความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี” ยังความเศร้าโศกให้กับปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้
ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช ในเย็นวันนั้นประชาชนที่อาศัยในเขตใกล้เคียง ได้รวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ถวายพระพรให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ภายหลังจากได้รับทราบประกาศสำนักพระราชวังดังกล่าวแล้ว บ้างก็สงบนิ่งทำอะไรไม่ถูก บ้างก็ร้องไห้ออกมาในที่สาธารณะอย่างไม่อายกัน บ้างก็ถึงกับเป็นลมล้มพับไปก็มีมาก หลังจากได้สติประชาชนในที่นั้นได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน เป็นการส่งเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 ประชาชนจากทั่วสารทิศพร้อมกันแต่งกายไว้ทุกข์ บางส่วนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง และส่วนมากได้มาจับจองพื้นที่ริมถนนที่ขบวนอัญเชิญพระบรมศพผ่านอย่างแน่นขนัด ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลศิริราช ถนนอรุณอมรินทร์ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน และถนนมหาราช ซึ่งมีพื้นที่ไม่เพียงพอกับประชาชนที่มารอส่งเสด็จ ทำให้ประชาชนล้นไปถึงถนนราชดำเนินกลาง ถนนสนามไชย รวมถึงตรอกซอกซอยในบริเวณนั้นด้วย
เวลา 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในขณะนั้นยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ถึงโรงพยาบาลศิริราช ในการเคลื่อนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร นำขบวนเชิญพระบรมศพลงจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 16 โดยมีคณะนายแพทย์ และพยาบาลที่ถวายการรักษาพยาบาลเลื่อนพระแท่นพยาบาล และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินตามพระบรมศพ จากนั้นขบวนรถเชิญพระบรมศพเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราช โดยมีรถสมเด็จพระวันรัตนำ ตามด้วยรถเชิญพระบรมศพ และรถยนต์พระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างทางที่ขบวนเชิญพระบรมศพเคลื่อนผ่าน จากโรงพยาบาลศิริราชจนถึงพระบรมมหาราชวัง สองข้างทางเนืองแน่นไปด้วยประชาชนในชุดไว้ทุกข์ที่รอเฝ้าส่งเสด็จด้วยความเศร้าโศกอย่างหาที่สุดมิได้
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยมหิดลจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยถวาย
วันที่ 14 ตุลาคม 2559 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดี พร้อมทีมผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ บริเวณโถงอาคาร ชั้น 1 สำนักงานอธิกาบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
วันที่ 27 ตุลาคม 2559 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีบำเพ็ญกุศลปัณรสมวาร หรือการทำบุญ 15 วัน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ สามเณร จำนวน 89 รูป ณ บริเวณด้านหน้าสำนักงานอธิการบดี และมีพิธีบำเพ็ญกุศล ณ บริเวณโถงอาคาร ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน นักศึกษาและแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธี กล่าวแสดงความไว้อาลัย ถวายตั้งปณิธาน ทำความดี พร้อมยืนแสดงความไว้อาลัยเป็นเวลา 3 นาที ร่วมร้องเพลงสรรสริญพระบารมีและเพลงของขวัญจากก้อนดิน หลังเสร็จสิ้นพิธีการ อธิการบดีเปิดนิทรรศการ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์” และนิทรรศการเขียนคำปณิธานความดี “มหิดลเพื่อเพื่อนมนุษย์”
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน นักศึกษา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปจากชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย กว่า 5,000 คน พร้อมใจกันแสดงพลังแห่งความสามัคคี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการจัดกิจกรรม “ธ สถิต ในใจชาวมหิดล จักมุ่งผลเป็นพลังแห่งแผ่นดิน” ในกิจกรรมมีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงเทิดพระนามมหิดล โดยวงออร์เคสตร้า จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงพิธีการ อธิการบดีกล่าวแสดงความอาลัยถวาย และร่วมกันยืนสงบนิ่งไว้อาลัยเป็นเวลา 89 วินาที หลังจากนั้นจุดโคมเทียนเป็นอักษรพระปรมาภิไธย ภปร. และตรามหาวิทยาลัย พร้อมร้องเพลงเทิดพระเกียรติและเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกันดังกึกก้องบริเวณมหิดลสิทธาคาร
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2559 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกองทัพเรือจัดงาน “น้อมดวงใจชาวศิริราช… ตามรอยพระราชปณิธานพระภูมิพล” ณ ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช กิจกรรมในงานมีการถวายราชสักการะ การบรรเลงเพลงโดยวงดนตรีกองดุริยางค์ทหารเรือ การแปร “อักษรเลข ๙” โดยกำลังพลกองทัพเรือ จำนวน 389 นาย การกล่าวแสดงความอาลัย การยืนสงบนิ่ง 89 วินาที จากนั้นร่วมกันจุดเทียน ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงความฝันอันสูงสุด
วันที่ 1 ธันวาคม 2559 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร 50 วัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ สามเณร จำนวน 50 รูป ณ บริเวณด้านหน้าสำนักงานอธิการบดี จากนั้นมีพิธีบำเพ็ญกุศล พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 10 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ หลังเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเพื่อสืบสานพระราชปณิธานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้อธิการบดีพร้อมผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน นักศึกษาและแขกผู้มีเกียรติ ที่มาร่วมในพิธียืนสงบนิ่ง เป็นเวลา 89 วินาที ร่วมร้องเพลงสรรสริญพระบารมีและเพลงพระราชาผู้ทรงธรรม ณ บริเวณโถงอาคาร ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
วันที่ 20 มกราคม 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสตมวาร 100 วัน ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ สามเณร ถวายเป็นพระราชกุศล จำนวน 100 รูป ณ บริเวณด้านหน้าสำนักงานอธิการบดี จากนั้นมีพิธีบำเพ็ญกุศล พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 10 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ หลังเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายพระเกียรติพระอัจฉริยะราชาผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ทั้งนี้อธิการบดีพร้อมผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน นักศึกษาและแขกผู้มีเกียรติ ที่มาร่วมในพิธียืนสงบนิ่ง เป็นเวลา 89 วินาที ร่วมร้องเพลงสรรสริญพระบารมีและเพลงในหลวงของแผ่นดิน ณ บริเวณโถงอาคาร ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 โดยมีหมายกำหนดการ และรายละเอียดตามโบราณราชประเพณีดังนี้
วันพุธที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ จัดขึ้นในช่วงเวลาเย็น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ช่วงเช้าจะเป็นขบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระโกศพระบรมศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง โดยมี 3 ริ้วขบวน คือ
ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระบรมโกศโดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ออกจากประตูเทวาภิรมย์ เคลื่อนขบวนไปตามถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามชัย เพื่อเทียบพระมหาพิไชยราชรถที่จอดรออยู่บริเวณหน้าหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เจ้าพนักงานเชิญพระบรมโกศเทียบเกรินบันไดนาค กางกั้นพระมหาเศวตรฉัตรคันดานเหนือพระบรมโกศ เชิญพระบรมโกศขึ้นสู่พระมหาพิไชยราชรถ โดยเกรินบันไดนาค เจ้าพนักงานคุมขบวนรัวกรับเตรียมเคลื่อนริ้วขบวนที่ 2
ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระบรมโกศโดยพระมหาพิไชยราชรถ เคลื่อนไปตามถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน ผ่านกระทรวงกลาโหม เข้าสู่ท้องสนามหลวง และเคลื่อนเข้ามณฑลพระราชพิธี เมื่อเคลื่อนพระมหาพิไชยราชรถถึงท้องสนามหลวงแล้ว เจ้าพนักงานเทียบเกรินเพื่อเชิญพระบรมโกศสู่ราชรถรางปืน เจ้าพนักงานคุมขบวนรัวกรับเตรียมเคลื่อนริ้วขบวนที่ 3
ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระบรมโกศโดยรางรถรางปืน เวียนอุตราวัฏรอบพระเมรุมาศ 3 รอบ พระราชาคณะนั่งเสลี่ยงกลีบบัวพระสวดพระอภิธรรมนำขบวน ตามด้วยราชรถทรงพระบรมโกศ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินตาม เมื่อเวียนพระเมรุมาศครบ 3 รอบแล้ว เชิญราชรถรางปืนเทียบเกรินด้านทิศใต้ จากนั้นกางกั้นพระมหาเศวตรฉัตรคันดานเหนือพระบรมโกศ เชิญพระบรมโกศสู่พระจิตกาธานภายในพระเมรุมาศโดยเกรินบันไดนาค เมื่อเชิญพระบรมโกศถึงพระเมรุมาศแล้ว เจ้าพนักงานเปลื้งพระโกศทองใหญ่และประกอบพระโกศไม้จันทน์
ในช่วงเย็นเป็นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายพระเพลิงพระบรมศพและถวายบังคมพระบรมศพ จากนั้น พระสงฆ์ สมาชิกราชสกุล และข้าราชการ ขึ้นถวายดอกไม้จันทน์บนพระเมรุมาศ
จากนั้นในช่วงค่ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินยังพระเมรุมาศ เจ้าพนักงานพระราชพิธีทูลเกล้าฯ ถวายมะพร้าวห่อผ้าขาว แล้วทรงสรงน้ำมะพร้าวแก้วที่พระบรมโกศ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ จากนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ในคืนนี้มีการแสดงมหรสพสมโภช ตั้งแต่เวลา 18.00น. จนถึง 6.00น. ของวันที่ 27 ตุลาคม โดยมีการแสดง ณ สนามหลวงด้านทิศเหนือ มี 3 เวที ประกอบด้วย 1.เวทีการแสดงหนังใหญ่เบิกหน้าพระ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ 2.เวทีการแสดงละคร หุ่นหลวง และหุ่นกระบอก ประกอบด้วย ละคร เรื่องพระมหาชนก 3. เวทีการบรรเลงดนตรีสากล “ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า” เป็นการบรรเลงและขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพลงเทิดพระเกียรติ และบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อถวายอาลัย
วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ในเวลาเช้า เป็นการเก็บพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรงพระอัฐิด้วยน้ำพระสุคนธ์ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ทรงเก็บพระบรมอัฐิ สรงพระบรมอัฐิน้ำพระสุคนธ์ในขันทองคำลงยา ประมวลพระบรมอัฐิลงในถ้ำศิลา และเชิญถ้ำศิลาลงในพระโกศพระบรมอัฐิ จากนั้นเจ้าพนักงานเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานในบุษบกแว่นฟ้า ณ พระที่นั่งทรงธรรม ถวายภัตตาหารสามหาบแด่พระสงฆ์ 6 รูป เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ทรงทอดผ้าสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ แล้วถวายเครื่องสังเค็ตงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จากนั้นเป็นการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิเข้าสู่พระบรมมหาราชวังในริ้วขบวนที่ 4
ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และพระบรมราชสรีรางคารโดยพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ประดิษฐาน ณ พระบรมมหาราชวัง โดยตั้งขบวนที่หน้าพระที่นั่งทรงธรรม เคลื่อนขบวนพระบรมราชอิสริยยศเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง จากมณฑลพระราชพิธี ถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี พระที่นั่งราเชนทรยานน้อยเชิญพระบรมราชสรีรางคารแยกเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระที่นั่งราเชนทรยานเคลื่อนขบวนไปเทียบที่เกยพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จ จากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การพระราชพิธีนี้จะมีการเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิ และพระโกศพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี บนพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมราชบุพการี บนพระแท่นมณฑลประดับมุก ในเย็นวันนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ทั้งนั้นสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ทั้งนั้นสดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุพการี
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 พระราชพิธีเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ณ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหารในช่วงเช้าเป็นการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระราชทานฉันเช้าแด่พระสงฆ์ที่สวดบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิเมื่อวันก่อน พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ทั้งนั้นสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ จากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิไปยังริ้วขบวนที่ 5
ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากเกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทางอัฒจันทร์มุขหน้าด้านตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน ชั้น 3 พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลาง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จ
ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระบรมราชสรีรางคาร จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวิเศษไชยศรี ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีกองทหารม้ารักษาพระองค์นำขบวน เมื่อบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เคลื่อนขบวนต่อไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อบรรจุพระบรมราชสรีรางคารอีกแห่งหนึ่ง
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. กองวรรณกรรมเเละประวัติศาสตร์. เครื่องประกอบพระอิสริยยศราชยาน ราชรถ พระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2539. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539
กรมศิลปากร. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ, 2541.
กระทรงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร. คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉบับปรับปรุง. นครปฐม : บริษัท สุวรรณภูมิ เฮอริเทจ จำกัด, 2559.
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ, 2559.
นนทพร อยู่มั่งมี. ธรรมเนียมพระบรมศพ และพระศพเจ้านาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). ความทรงจำแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์.
สำนักพระราชวัง. แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 1- 38 (ระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม 2557 ถึง วันที่ 12 ตุลาคม 2559)
สำนักพระราชวัง. ประกาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต (วันที่ 13 ตุลาคม 2559)
สำนักพระราชวัง. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ : สำนักพระราชวัง, 2533.
อนันต์พัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์ และสุรางค์ วิเศษมณี (บรรณาธิการ). 50 ปี ในหลวงกับศิริราช. (2539). กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช https://www.facebook.com/informationcenter.for.kingrama9/
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ถ้อยคำพระราชาสู่ปัญญาของแผ่นดิน
จัดนิทรรศการ วันที่ ๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แก่วงการการศึกษาไทย โดยทรงให้ความสำคัญแก่การพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อประโยชน์สุขและความก้าวหน้าของประเทศ อีกทั้งยังทรงเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ตลอดรัชสมัย พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาท เป็นแนวทางปฏิบัติตนของบัณฑิต อาทิ
รูปที่ ๑ พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ หอประชุมราชแพทยาลัย
รูปที่ ๒ พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค มาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัย ในพิธีประสาทปริญญาและอนุปริญญา ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ มีบัณฑิตผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จาก ๖ สาขาวิชา คือ สาขาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิชาพยาบาล-ผดุงครรภ์และอนามัย บัณฑิตแพทย์ คนแรกที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เอื้อม ศิลาอ่อน แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๐ เป็นครั้งสุดท้าย ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในปีนี้ มีผู้สำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น ๕,๒๖๔ คน จากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ สาขา
แพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประชากรศาสตร์
พระราชดำรัสในงานทรงดนตรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยและชาวต่างชาติ ดังเห็นได้จากบทเพลงพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าและพระราชจริยวัตรอันงดงามทางด้านดนตรี โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยมหิดลในการทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ พระราชทานแก่นักศึกษาครั้งแรกในวันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ณ สวนอัมพร พระราชวังดุสิต โดยทรงมีพระราชดำรัส ตอนหนึ่งที่สำคัญ ความว่า
“…ที่กล่าวถึงผู้ที่เป็นเจ้าของชื่อมหิดลว่า คือสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นก็เพราะท่านได้เป็นผู้ที่สนพระทัยและได้พยายามที่จะให้การศึกษาในด้านการแพทย์ก้าวหน้าทุกวิถีทาง จนกระทั่งได้รับพระนามว่าเป็นพระบิดาแห่งการแพทย์ในเมืองไทย มหาวิทยาลัยมหิดล และโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้ ก็ถือว่าต่างเป็นลูกของท่าน ก็นับว่าเรามีสิ่งที่ใกล้เคียงกันเพราะว่าเราเป็นลูกของท่านเหมือนกัน และนับได้ด้วยว่ามีพี่น้องจำนวนมากน่าชื่นใจ คนที่เป็นพี่น้องควรจะช่วยกันเสมอ มีความสามัคคีกันเพื่อที่จะให้วงศ์ตระกูลชื่อเสียงของตนดี สร้างสรรค์ให้ทำประโยชน์ให้ส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้า…”
ภายหลังงานดังกล่าว ได้เสด็จฯ มาทรงดนตรี อีก ๓ ครั้ง ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ดังนี้
วันเสาร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
วันเสาร์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
วันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
พระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อเนื่องมาในสมัยมหาวิทยาลัยมหิดลในโอกาสต่างๆ พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอันทรงคุณค่า แก่คณะผู้ร่วมงาน อาทิ “…การที่ทางราชการพยายามขยายงานด้านการแพทย์ โดยเฉพาะพยายามเพิ่มจำนวนแพทย์และพยาบาล ให้เพียงพอกับความจำเป็น และความต้องการของประชาชนส่วนรวมทั้งประเทศนั้น เป็นการสมควรอย่างยิ่ง งานนี้เป็นงานใหญ่ที่ทำได้ด้วยยาก แต่ก็สำคัญ จำเป็นต้องรีบกระทำให้ดีที่สุด ขอให้ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาของแพทย์และพยาบาล ให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่แพทย์ และพยาบาล ให้ทุกคนมีความรู้อันแน่นแฟ้น ทั้งให้เป็นที่เชื่อถือได้ด้วยว่าทุกคนรู้จักหน้าที่ของตนๆ อย่างครบถ้วน เพราะผู้ที่มีความรู้ดีแต่ไม่รู้จักรักษาหน้าที่นั้นจะทำงานให้บังเกิดประโยชน์แท้จริงมิได้เลย…”
พระราชดำรัสในพิธีเปิดอาคารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีวันเสาร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
“…ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มีใจอันดีและเป็นกุศล กับขอให้ท่านทั้งหลายได้สำนึกว่า ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันนั้น ย่อมได้ประสบความสำเร็จสมความตั้งใจเสมอ การประกอบกรรมดีย่อมบังเกิดผลแห่งคุณงามความดีอันน่าสรรเสริญ…”
พระราชดำรัสในพิธีเปิด “ตึก ๗๒ ปี” และ ตึก “โกศล กันตะบุตร”
ณ โรงพยาบาลศิริราช
วันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔
“…ทุกคนจะเป็นแพทย์หรือเป็นพยาบาลหรือมีอาชีพอื่น มีหน้าที่ทั้งนั้น และหน้าที่ในทางการรักษาและดูแลความเป็นสุขของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญทั้งเป็นไม่ใช่หน้าที่จะมานั่งรับราชการหรือเดินรับราชการเช่นเดิม หากแต่เป็นหน้าที่ในทางศีลธรรมไปแล้ว ฉะนั้น การที่แต่ละคนได้ทำหน้าที่ในด้านสาธารณสุข ในด้านการแพทย์และพยาบาล ก็นับว่าเป็นการสร้างกรรมที่ดี นับว่าเป็นการสร้างตัวเองให้เป็นคนที่ดี มีอนาคต มีความเจริญมีความสุขในใจได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสได้สร้างความดีก็ขออย่าละเลยความดีที่จะสร้างได้…”
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะผู้แทนจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันศุกร์ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
รวมพระบรมราโชวาท
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่ชาวมหิดล
พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
“…ขอขอบใจทุกท่านที่ร่วมมือร่วมใจช่วยงานพระบรมศพอย่างพร้อมเพรียง ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยนั้นมีจิตใจดี มีความกตัญญูกตเวที มีความเอื้ออารีต่อกัน มีความรักชาติรักแผ่นดินเป็นคุณสมบัติประจำชาติ และมีความรู้ความสามารถไม่แพ้ชนชาติอื่นใด ดังนั้นไม่ว่าจะมีอุปสรรคปัญหาหรือเหตุไม่ปกติใดๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา ก็เชื่อได้ว่าถ้าเราจะร่วมกันคิดอ่าน และช่วยกันปฏิบัติแก้ไข ทุกสิ่งทุกอย่างจะสามารถคลี่คลายลุล่วงไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน
ในปีใหม่นี้ ขอให้ชาวไทยทุกคนตั้งใจให้แน่วแน่ ที่จะรักษาคุณสมบัตินี้ให้เหนียวแน่น และทำความคิดจิตใจให้แจ่มใส ด้วยปัญญาที่กระจ่างพิจารณาทุกสิ่งที่เกิดมีขึ้นตามความเป็นจริง โดยปราศจากอคติ ให้มีความมุ่งมั่นมีกำลังใจในอันที่จะร่วมกันปฏิบัติสรรพกิจน้อยใหญ่ ในภาระหน้าที่ตามแนวพระบรมราโชบาย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ให้งานทุกอย่างสำเร็จผล เป็นความดีความเจริญทั้งแก่ตนเอง แก่ส่วนรวมและประเทศชาติเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
ในการนี้ ข้าพเจ้าขอปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับประชาชนชาวไทยโดยเต็มกำลังความสามารถ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานเช่นกัน…”
พระราชดำรัสเนื่องในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตวันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
“…ขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงคุ้มครอง ได้ทรงชี้แนะ และปกปักรักษาพวกท่าน เพราะว่าตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงปฏิบัติมามาก และหลายอย่างได้พระราชทานพระราชดำริ และพระราชทานแนวทางไว้ก็ขอฝากให้ท่านได้ศึกษาพระราชดำริ ศึกษาวิเคราะห์ พระราชปณิธานและศึกษาพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติมา อันนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นสิริมงคลและเป็นยิ่งกับพระที่คุ้มครองพวกเรา การปฏิบัติตามหรือการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ หรือระลึกถึงพระราชดำริหรือพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนี้จะเป็นพระ เป็นแสงสว่าง ที่คุ้มครองหรือแนะนำพวกเราต่อไป สุดท้ายก็ขอแสดงความปรารถนาดีด้วยตัวของข้าพเจ้าเอง และขอให้ทุกคนได้มีสติปัญญา มีกำลังใจ มีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป…”
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
วันจันทร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระราชประวัติ
ในวันมหิดล ๒๔ กันยายน ของทุกปี เพื่อการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงกตัญญูกตเวที ต่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ผู้ซึ่งเป็นดั่งพระประทีปแก้วของการพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวหน้าอย่างตะวันตก คำสอนของพระองค์ที่ว่า “…ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง…” นั้น มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดอัตลักษณ์หรือวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้านหนึ่ง คือ “การมุ่งผลเพื่อผู้อื่น (Altruism)” นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาชุมชนโดยจัดตั้ง “กลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการจากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยได้ใช้ความรู้ ความสามารถพัฒนาสังคม ร่วมกับชุมชน และมหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มการขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เพื่อการเชื่อมโยงภารกิจหลักทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย เข้าด้วยกันอย่างมี ยุทธศาสตร์และเป็นระบบ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยและระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนงานวิจัยชุมชน ดังปณิธาน “ปัญญาของแผ่นดิน” ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลจึงรับเป็นภาระหน้าที่หนึ่งในการยังวิชาการหลักของส่วนงานนั้น ๆ ประยุกต์พัฒนาก่อเกิดโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่สังคมร่วมกับชุมชนโครงการต่าง ๆ ที่มีต่อชุมชนของส่วนงานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในรอบปีงบประมาณ ที่แล้วมา มีดังต่อไปนี้
พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ ๑๔ และ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ตั้งถวายตามดวงพระชะตา ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”
กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ณ โรงเรียนจิตรลดาชั้นอนุบาล ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต
มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ทรงเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนคิงสมีด (King’s Mead School) เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ
กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ (Millfield School) เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ – พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ (The King’s School) เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ. ๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหาร ดันทรูน (Royal Military College, Duntroon) กรุงเคนเบอร์รา และทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านการทหาร) คณะการศึกษาด้านการทหาร มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๙
พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจำชุดที่ ๕๖
พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๓๐ ทรงศึกษาด้านกฏหมาย และทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๓๓ ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักร Defence Academy of the United Kingdom)
นอกจากนี้พระองค์ท่านทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหารและการบิน
พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย
วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณให้ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ปรากฏพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรสิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์มหิตลพงศอดุลยเดชจักรีนเรศยุพราชวิสุทธสยามมกุฎราชกุมาร”
พระราชพิธีทรงผนวช
วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณให้ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ปรากฏพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรสิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์มหิตลพงศอดุลยเดชจักรีนเรศยุพราชวิสุทธสยามมกุฎราชกุมาร”
กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ สืบราชสันตติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงผนวช เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จ
พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) เป็นพระราชอุปธยาจารย์ทรงได้รับการถวายพระสมณนามว่า “วชิราลงกรโณ”
ประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน
พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มาในงานพิธี “วันมหิดล” ณ โรงพยาบาลศิริราช ทรงวางพวงมาลา และถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
จากนั้นประทานเข็มสมนาคุณแก่ผู้มีอุปการะคุณกิตติมศักดิ์ และรางวัลแก่นักศึกษาแพทย์ผู้ชนะการประกวดเรียงความเนื่องใน “วันมหิดล” โดยได้เสร็จพระราชดำเนินมาในพิธีวางพวงมาลา ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน (ในภาพคือ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยเสด็จฯ ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๐๘, ๒๕๒๑-๒๕๒๕, ๒๕๒๗-๒๕๒๘, ๒๕๓๑, ๒๕๓๔-๒๕๓๗ และพ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน)
๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ มาทรงประกอบพิธีเปิดตึก “พระยาและคุณหญิง หริศจันทร์ สุวิท” และตึก“ยากัตตราม วิตตา วันดี ปาวา”
๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ณ สวนอัมพร ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิตติคุณ มาในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ในโอกาสนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อินทรียเคมี) ด้วย
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์กลุ่มอาคารอำนวยการ (อาคาร ๑) อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (อาคาร ๒) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ” ณ โรงพยาบาลศิริราช
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาในพิธีเปิดตึกหอพักนักศึกษาแพทย์ชาย “มหิตลาคารสมเด็จพระราชปิตุจฉา” ณ โรงพยาบาลศิริราช
๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ปีการศึกษา ๒๕๒๓
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ปีการศึกษา ๒๕๔๓
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ปีการศึกษา ๒๕๕๔
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารสาธารณสุขแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๘). จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร.
นครปฐม : กรม. (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕).
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ. (๒๕๕๐). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๘.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัทเกรย์ แมทเทอร์ จำกัด.
กัลยา แสงเรือง และคนอื่นๆ. (๒๕๔๕). ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยมหิดล. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล. (ตั้งแต่เล่มปีการศึกษา ๒๕๒๓-๒๕๕๔).
มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๔๑). หนังสือที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์
มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. (พิมพ์เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางศิลาฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๑)
สถาบันพระปกเกล้าและสถาบันราชภัฏธนบุรี. (๒๕๔๕). หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร ครบ ๕๐ พรรษา. กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันราชภัฏธนบุรี
สุขใจ พนิชศักดิ์พัฒนา และคนอื่นๆ. (๒๕๔๕). ๔๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิกาญจนบารมี.
สำนักราชเลขาธิการ. (๒๕๑๒) พระราชกรณียกิจระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๑๑ – กันยายน ๒๕๑๒. กรุงเทพฯ.
สำนักราชเลขาธิการ. (๒๕๑๔) พระราชกรณียกิจระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๑๓ – กันยายน ๒๕๑๔. กรุงเทพฯ.
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๕๔). ความทรงจำแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
อนันต์พัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์ และสุรางค์ วิเศษมณี. (๒๕๓๙). ๕๐ ปี ในหลวงกับศิริราช. กรุงเทพฯ : ทรี-ดี สแกน.
ขอบคุณภาพและข้อมูล
– สำนักราชเลขาธิการ
– หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ศิริราช
– สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
– กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี
– ดร.สัณห์ พันธ์อุไร หัวหน้าแผนกกองบำรุงรักษาทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
– ผศ.ดร.วรรณสิริ พันธ์อุไร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– นายแดง ลมสูงเนิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.
พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการวันมหิดล เรื่อง “ใต้ร่มพระบารมี สู่ผืนดินศาลายา ปลูกปัญญาของแผ่นดิน”
จัดนิทรรศการ วันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 (Art Gallery) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ พสกนิกรชาวไทยนานัปการ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทรงสร้างรากฐานที่มั่นคง และพัฒนาไปสู่ความทันสมัย เพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติ กำหนดให้วันที่ ๒๔ กันยายน ของทุกปี เป็นวันระลึกถึงสมเด็จพระบรมราชชนกโดยขนานนามว่า “วันมหิดล”
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดลและ หน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ พระเกียรติคุณให้ประจักษ์สืบต่อไป เนื่องใน “วันมหิดล” ๒๔ กันยายน ๒๕๕๙ ฝ่ายจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ใต้ร่มพระบารมี สู่ผืนดินศาลายา ปลูกปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อรวบรวมเรื่องราวการขยายพื้นที่ มหาวิทยาลัยมหิดลมาสู่พื้นที่ศาลายา จากเมื่อครั้งแรกสร้าง จนกระทั่งการเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ สะท้อนความเปลี่ยนแปลงผ่านโครงสร้างทางกายภาพ และสภาพโดยรอบมหาวิทยาลัย และนำเสนอการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน โดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในปัจจุบัน
การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ ดั่งพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบันนอกจากจะพัฒนาในด้านการเรียน การสอน การวิจัย การสาธารณสุข และการแพทย์ การนำวิชาความรู้มาช่วยพัฒนาสังคมนับเป็น สิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นชุมชนที่ใกล้ชิดและมีความสำคัญยิ่ง ต่อมหาวิทยาลัย ดังนั้นการมีส่วนร่วม และรับผิดชอบต่อชุมชน เพื่อให้มหาวิทยาลัย บุคลากร นักศึกษาเกิดสำนึกรัก หวงแหน และภาคภูมิใจในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และช่วยกันอนุรักษ์ พื้นที่แห่งนี้ต่อไป
มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา : ปฐมบท และปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนามาจากโรงศิริราชพยาบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๙) โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาราษฎร์ อาศัยพื้นที่บริเวณวังหลังเป็นสถานที่ตั้ง ของโรงพยาบาล ดำเนินการดูแลรักษาประชาราษฎร์เรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๓๒ โรงศิริราชพยาบาล กลายมาเป็น โรงเรียนแพทยากร เพื่อผลิตแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถในการรักษาผู้ป่วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่แก่โรงเรียนแพทยากร ว่าโรงเรียนราชแพทยาลัย การผลิตแพทย์ยังคงเป็นเป้าหมายหลัก และมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จนต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงมีการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งมีการพัฒนา และดำเนินกิจการเรื่อยมาจนได้รับพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
“…มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายที่จะดำเนินการพัฒนางานต่าง ๆ อันเป็นภารกิจ ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้แก่ การผลิตบุคลากรที่จะไปประกอบวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ การให้บริการทางวิชาการและสุขภาพต่อสังคม การวิจัยและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยสรรสร้างสังคมไทยให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป…”
พ.ศ. ๒๕๑๓ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ขยายพื้นที่การศึกษา โดยขอซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ติดกับทางรถไฟสายใต้ ตรงข้ามกับ สถานีรถไฟศาลายา เนื้อที่ ๑,๒๔๐ ไร่ ๓ งาน ๖๙ ตารางวา เพื่อรองรับนักศึกษาได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษา ชั้นปีที่ ๑ และ ๒ ของมหาวิทยาลัย และนักศึกษาชั้นปีดังกล่าวจะถูกกำหนดให้เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ส่งผลให้สถานที่เรียนเดิมจะมีพื้นที่ว่างมากพอสำหรับรองรับนักศึกษาปีที่ ๓ ปีที่ ๔ และนักศึกษาปริญญาโท เอก นอกจากนี้ยังปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงการเพิ่มเติมสาขาที่จำเป็น โดยทางมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายในการเปิดการเรียนการสอนวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ และ ๒ เพิ่มเติม จากวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วย สำหรับในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ศาลายา การวางแผน ก่อสร้างอาคารยึดถือเป้าหมายของการจัดการศึกษา และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก โดย การออกแบบอาคารจึงเป็นแบบที่มีระเบียบเดียวกัน และสามารถดัดแปลงได้เต็มที่เหมาะสมกับประโยชน์ของ การศึกษา ตัวอาคารที่สร้างไม่ใช่เพียงเพื่อรองรับนักศึกษาจำนวน ๓,๐๐๐ คน ในระยะแรกเท่านั้น แต่สามารถจุ นักศึกษาได้ถึง ๑๕,๐๐๐ คน หากมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นในระยะเวลาต่อไป
วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ภายหลังจากนั้นทางมหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารอื่น ๆ ตามมา ประกอบด้วย อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม- เพื่อพัฒนาชนบท ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ อาคารพลศึกษา หอพักนักศึกษา หอพักอาจารย์ อาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร อาคารหอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาจึงเริ่มรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๕ จำนวน ๑,๐๐๐ คน เข้าเรียนและพักอาศัย ภายในหอพักนักศึกษา นับเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่ได้เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา กระทั่ง เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันในมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ประกอบด้วยหน่วยงาน ๒๘ หน่วยงาน
(ข้อมูล ณ มีนาคม ๒๕๕๙)
“มหาวิทยาลัยมหิดล” ดำเนินกิจการมากว่า ๑๐๐ ปี มอบวิชาความรู้และให้บริการทางการแพทย์ต่อ สังคมมาตั้งแต่ยุคโรงศิริราชพยาบาล จนกระทั่งกลายมาเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นทั้งสถานศึกษาที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัยต่าง ๆ และเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการแก่สังคม ซึ่งมหาวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงสิ่งเหล่านี้อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สมดั่ง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีแก่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ครั้งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมชนกนาถให้เป็นนามของมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ความว่า “…ให้พัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ตามความหมาย และเพิ่มเติมขอบเขตของวิชาการให้กว้างขวางออกไปจากวิชาแพทยศาสตร์อีกด้วย…”
รูปที่ ๑ ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
รูปที่ ๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
รูปที่ ๑ อาคารอำนวยการ,
รูปที่ ๒ อาคารวิทยาศาสตร์
รูปที่ ๓ อาคารบรรยายรวม
รูปที่ ๔ อาคารหอสมุ
รูปที่ ๕ อาคารเรียนสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
เปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๖
รูปที่ ๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น.
รูปที่ ๒ ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
รูปที่ ๑ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิบการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลรายงานและขอพระราชทานเชิญเสด็จ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา
มหาวิทยาลัยมหิดลขยายพื้นที่มา ณ ศาลายา ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มหาวิทยาลัยดำเนินการเรื่อยมา แม้จะพบปัญหาหลายประการระหว่างการดำเนินงาน แต่ด้วยความสำนึกในประวัติศาสตร์ ชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยที่มีมากว่า ๑๐๐ ปี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้วนเป็นสิ่งที่ ทำให้ผู้รับผิดชอบในกิจการของมหาวิทยาลัยทุกระดับ และทุกสมัยพยายามเอาชนะอุปสรรคนานัปการ เพื่อให้ การก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ดำเนินไปด้วยความถูกต้อง และเรียบร้อย
กระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา นับเป็นสิริมงคลแก่ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอย่างยิ่งและในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงร่วม งานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และทรงดนตรี ณ อาคารพลศึกษา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ยังความปลื้มปิติโสมนัสอันหาที่สุดมิได้
รูปที่ ๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา
รูปที่ ๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ อาคารพลศึกษา โดยมีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและประชาชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
รูปที่ ๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานฉลองเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ อาคารพลศึกษา โดยมีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลและประชาชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
รูปที่ ๔ นักศึกษา และประชาชนถวายการแสดง ต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รูปที่ ๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดนตรีเพลง “เต่าเห่” (ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง พ.ศ. ๒๕๑๙)
รูปที่ ๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” บริเวณด้านหน้าอาคารพลศึกษา
รูปที่ ๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” บริเวณด้านหน้าอาคารพลศึกษา
ต้นไม้ทรงปลูก “แก้วเจ้าจอม” : วันเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา
เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้น “แก้วเจ้าจอม” ในวันเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ บริเวณอาคารพลศึกษา ปัจจุบันคืออาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อเป็นแบบอย่างในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ทรงตระหนัก ถึงคุณค่าของป่าไม้ และพระราชประสงค์จะให้คนสามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
“แก้วเจ้าจอม” เป็นพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นแรกในประเทศไทย มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงได้พันธุ์นี้มาจากชวา และนำมาปลูกไว้ใน วังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอมต้นนี้ มีลักษณะใบประกอบ ๒ คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี ๒ ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๒๕ กรมส่งเสริม การเกษตร ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า “แก้วเจ้าจอม” หรือ “น้ำอบฝรั่ง” และนอกจากนี้ยังมีชนิดใบประกอบ ๓ คู่ ซึ่งเป็นไม้พุ่มสวย มีลักษณะ ใบประกอบ ๓ คู่ปลูกไว้ ณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปัจจุบันต้นไม้ต้นนี้มีอายุ ๒๖ ปี
รูปที่ ๑ ต้นแก้วเจ้าจอม บริเวณอาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale Linn
ชื่อวงศ์ : ZYGOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ : Lignum vitae
ชื่ออื่น : กณิการ์ , กรณิการ์
ถิ่นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ต้น
ขนาด [Size] : สูง ๑๐-๑๕ เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีฟ้าอมม่วงเปลี่ยนเป็นขาว
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ต.ค.-เม.ย.
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ช้า
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน-ปานกลาง
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมค่อนข้างหนาทึบ
เปลือก : สีเทาเข้ม
รูปที่ ๑ ใบต้นแก้วเจ้าจอม
ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม มีทั้งชนิดที่มีใบย่อย ๒ คู่ หรือ ๓ คู่ ใบประกอบยาว ๑-๑.๕ ซม. ก้านใบประกอบยาว ๐.๕-๑ ซม. ใบย่อยไม่มีก้าน รูปรีถึงรูปไข่กลับ หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย มีขนาดไม่เท่ากัน ใบย่อยคู่ปลายกว้าง ๑.๘-๒ ซม. ยาว ๓.๒-๓.๕ ซม. ใบย่อยคู่ที่อยู่ตอนโคนกว้าง ๑.๒-๑.๕ ซม. ยาว ๒.๕-๒.๗ ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีจุดสีส้มที่ โคนใบย่อยด้านบน หูใบและใบประดับเล็ก ร่วงง่าย
รูปที่ ๒ ดอกต้นแก้วเจ้าจอม
ดอก (Flower) : ออกดอกเดี่ยวเป็นกระจุก ๓-๔ ดอกที่ปลายกิ่ง สีฟ้าอมม่วงและจางลงเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาว ๑-๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขนประปราย ร่วงง่าย กลีบดอก ๕ กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้างประมาณ ๑ ซม. ยาวประมาณ ๒ ซม. เกสรสีเหลือง เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน แยกกัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น ๕ แฉก ชนิดมีใบย่อย ๒ คู่ ออกดอกง่ายและชนิดมีใบย่อย ๓ คู่ ออกดอกน้อยกว่า
รูปที่ ๓ ผลต้นแก้วเจ้าจอม
ผล (Fruit) : ผลสด ทรงกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ มีครีบ ๒ ข้าง กว้างประมาณ ๑.๒ ซม. ยาวประมาณ ๑.๘ ซม. ก้านผลยาว ๑.๕-๓ ซม. เมื่อแก่สีเหลืองหรือส้ม แห้งแตก เมล็ดรูปรีสีน้ำตาล มี ๑-๒ เมล็ด
ประโยชน์
๑. พุ่มสวยเหมาะปลูกเป็นไม้ประดับสนามกว้าง ๆ ให้ร่มเงา
๒. เป็นเนื้อไม้ที่หนักที่สุดในโลก และแข็งมาก เป็นมัน คุณสมบัติเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นประสานกันแน่น และ หนักมาก ไม้ชนิดนี้จมน้ำ ทนต่อแรงอัด และน้ำเค็ม จึงนิยมนำใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล ทำสิ่ว และนำมากลึงทำของใช้ต่าง ๆ เช่น ทำลูกโบว์ลิ่ง ทำรอก เป็นต้น
๓. ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของลำต้น โดยเฉพาะยางจากเนื้อไม้ในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลอมเขียว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรค
สรรพคุณการใช้เป็นยาสมุนไพร
ใช้เป็นยาสมุนไพรกันอย่างกว้างขวาง รักษาโรครูมาติซัมเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคเกาต์ ใช้เป็นยาตรวจคราบเลือดในนิติเวชวิทยา เรียกว่า Gum Guaiacum แถบอเมริกาใต้ อินเดีย อินเดียตะวันตก และฟลอริิดา ฯลฯ นอกจากนี้มีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ เฉพาะส่วนดังนี้ ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ หรือทำเป็นยาอมแก้หลอดลมอักเสบ น้ำคั้นจากใบ กินแก้อาการท้องเฟ้อ เปลือก เป็นยาระบาย ผงชาจากดอก เป็นยาบำรุงกำลัง
แผนผังมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อแรกสร้าง
แผนผังมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙)
โครงการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (ครั้งนี้แสดงเฉพาะข้อมูลของส่วนงานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา)
ในวันมหิดล ๒๔ กันยายน ของทุกปี เพื่อการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงกตัญญูกตเวที ต่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ผู้ซึ่งเป็นดั่งพระประทีปแก้วของการพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวหน้าอย่างตะวันตก คำสอนของพระองค์ที่ว่า “…ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง…” นั้น มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดอัตลักษณ์หรือวัฒนธรรมองค์กร ของมหาวิทยาลัยมหิดลด้านหนึ่ง คือ “การมุ่งผลเพื่อผู้อื่น (Altruism)” นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาชุมชนโดยจัดตั้ง “กลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการจากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยได้ใช้ความรู้ ความสามารถพัฒนาสังคม ร่วมกับชุมชน และมหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มการขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เพื่อการเชื่อมโยงภารกิจหลักทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย เข้าด้วยกันอย่างมี ยุทธศาสตร์และเป็นระบบ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยและระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนงานวิจัยชุมชน ดังปณิธาน “ปัญญาของแผ่นดิน” ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลจึงรับเป็นภาระหน้าที่หนึ่งในการยังวิชาการหลักของส่วนงานนั้น ๆ ประยุกต์พัฒนาก่อเกิดโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่สังคมร่วมกับชุมชนโครงการต่าง ๆ ที่มีต่อชุมชนของส่วนงานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในรอบปีงบประมาณ ที่แล้วมา มีดังต่อไปนี้
๑. กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
๑. โครงการ Eco Town มหิดลกับชุมชน กิจกรรมส่งเสริมการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๙
๒. กองกิจการนักศึกษา
๑. โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยพลังนิสิตนักศึกษา (รากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล) ในพื้นที่ชุมชนของ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๙
๓. คณะกายภาพบำบัด
๑. กิจกรรมบริหารร่างกายเพื่อป้องกันข้อเสื่อม ณ สวนลุมพินี ๒๕๕๗
๒. โครงการคลีนิกกายภาพบำบัดสัญจรในชุมชน ตำบลศาลายา, ตำบลคลองโยง, ตำบลคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
๔. คณะเทคนิคการแพทย์
๑.โครงการร่วมงานมหกรรมสุขภาพ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ ๒๕๕๙
๕. คณะวิศวกรรมศาสตร์
๑. โครงการ “วันแม่แห่งชาติ เสริมสร้างคลังปัญญา ด้วย SEP-STEM ปี ๒๕๕๙” ณ โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
๖. คณะศิลปศาสตร์
๑. โครงการเล่าขานตำนานศาลายา ครั้งที่ ๑๐ ตอน “ในน้ำมีปลา ศาลายามีข้าว” ๒๕๕๙
๒. โครงการสร้างเสริมศักยภาพบุคลากร ด้านชุมชนสัมพันธ์ ตอน ล่องเรือมหาสวัสดิ์ ๒๕๕๙
๓. หนังสือที่ทำเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชุมชน
๗. คณะสัตวแพทยศาสตร์
๑. โครงการกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ณ เขตพื้นที่ทวีวัฒนา พื้นที่ชุมชนโดยรอบ วิทยาเขตศาลายา ในส่วนของ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
๘. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
๑. โครงการสิ่งแวดล้อมอาสา ช่วยชุมชนศาลายากำจัดขยะ
๒. โครงการ วันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร ๑๗) ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
๓. กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น บริเวณพื้นที่ ตำบลงิ้วราย ตำบลมหาสวัสดิ์ ตำบลคลองโยง วัดสุวรรณาราม วัดสาลวัน และวัดปุรณาวาส
๔. ลงพื้นที่ตรวจวัดพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นและเก็บตัวอย่างน้ำมาทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จากเหตุมีรถบรรทุกน้ำมันคว่ำ บริเวณพุทธมณฑล สาย ๖
๙. วิทยาลัยนานาชาติ
๑. โครงการกิจกรรมพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมอาสาสมัครและ พัฒนคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม โดยมีกิจกรรมดังนี้
โครงการปลูกต้นไม้และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ อุทยานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน ๕ ครั้ง : ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๓ ครั้ง และ ปี ๒๕๕๙ จำนวน ๒ ครั้ง
โครงการอบรมภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนในพื้นที่ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม (English for Fun Shalala) ๒๕๕๘
โครงการยุวชนพุทธมณฑลรักการอ่าน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๘
โครงการ บ้าน-ชุมชน วัด โรงเรียน สานสัมพันธ์ เพื่อชุมชนอุดมปัญญา
๑. โรงเรียนวัดไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๘
๒. โรงเรียนวัดมะเกลือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๙
๓. โรงเรียนบ้านคลองโยง Shalala English Camp อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๙
โครงการ MUIC Sha La La Charity ณ สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี ๒๕๕๙
โครงการค่ายอาสา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาชุมชน ณ วัดสุวรรณาราม ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๙
๑๐. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
๑. บริการวิชาการ ครบรอบ ๓๐ ปี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา โรงเรียนบุญยศรีสวัสดิ์ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๒๕๕๘
๒. บริการทดสอบสมรรถภาพทางกายแก่ชุมชน ในมหกรรมสุขภาพดี วิถีคนมหาสวัสดิ์ ๒๕๕๘
๓. บริการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ณ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตารามถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๒๕๕๘
๔. บริการวิชาการ ครบรอบ ๓๐ ปี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ณ โรงเรียนบ้านคลองโยง ๒๕๕๘
๕. บริการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในงาน “มหิดล-วันแม่” ประจำปี ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
๑๑. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
๑. โครงการรักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรู้ สู่ชุมชนศาลายา ประจำปี ๒๕๕๘ จัดกิจกรรม “เล่านิทาน อ่านสนุก” โรงเรียนบ้านคลองพระมอพิสัย ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และโรงเรียนบ้านคลองนกกระทุง ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
บรรณานุกรม
มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๓๗). ๒๕ ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยมหิดล. กองแผนงาน. งานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. (๒๕๓๔). มหาวิทยาลัยมหิดล…ศาลายา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลินดา วงศานุพันธ์. (๒๕๒๖). รายงานการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ระยะที่ ๑ พ.ศ ๒๕๑๘-๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลินดา วงศานุพันธ์ (๒๕๒๘). รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างศาลายา ภายหลังระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์. (บรรณาธิการ). (๒๕๕๒). เทิดพระนาม มหิดล. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๑๕). แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ ๓ (๒๕๑๕-๒๕๑๙). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๒๖, ๗ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓. หน้า ๖.
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือ
นาฏสุดา ภูมิจำนงค์. (บรรณาธิการ). (๒๕๕๓). ไม้ยืนต้น. นครปฐม : กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
มานะ โพธิ์ทอง และคณะ. (๒๕๕๔). ต้นไม้ทรงปลูก. นนทบุรี : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
สารสนเทศที่สืบค้นจากเว็บไซต์
แก้วเจ้าจอม. (๒๕๕๙). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.wikiwand.com/th/แก้วเจ้าจอม. (วันที่สืบค้น ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙).
บุญรอด ศรีบุญเรือง และคณะ. (๒๕๕๙). แก้วเจ้าจอมไม้พุ่มสวยและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ Lignum Vitae is the beautiful burh and Historical novelty. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/09_plant/09_plant.html#author. (วันที่สืบค้น ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙).
ราชบัณฑิตสถาน. อนุกรมวิธานพืชอักษร ก.. (๒๕๕๙). แก้วเจ้าจอม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.rspg.org/palace/chitralada/cld6-2_112.htm. (วันที่สืบค้น ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙).
mamnaka11. (๒๐๑๒). ไม้ดอก : แก้วเจ้าจอม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://panmainaiban.blogspot.com/2012/11/blog-post.html. (วันที่สืบค้น ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙).
Royal Archives of OHM. (๒๐๑๓). หนังสือ “ต้นไม้ทรงปลูก”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/RoyalArchivesofOHM/photos/?tab=album&album_id=533524673390682. (วันที่สืบค้น ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙).
ช่างภาพ
นายธนกฤต ทองบริสุทธิ์ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (MU GUIDE รุ่นที่ ๕)
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.