พ.ศ. 2555 แผ่นพับ 120 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

พ.ศ. 2555 แผ่นพับ 120 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประวัติความเป็นมาของอาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล และวิวัฒนาการของสื่อประกอบการเรียนการสอน

การติดต่อ

ที่ตั้งห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
(ปิดทำการ วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
โทรศัพท์0 2441 4401 ถึง 8 ต่อ 1201-1202
โทรสาร0 2441 4410
อีเมล์ratchaneekorn.nan@mahidol.ac.th

นำเสนอข้อมูลเอกสาร ประวัติความเป็นมา และวัตถุสิ่งของอันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมคนหูหนวก

ที่ตั้งชั้น 1 อาคารเรียนและฝึกงานผู้พิการ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
โทรศัพท์0 2889 5315 ถึง 9
อีเมล์dusit.sun@mahidol.ac.th

นำเสนอภาพถ่ายเล่าเรื่องประวัติความเป็นมา รวมถึงมรดกแห่งความทรงจำของสถาบันราชสุดา

การติดต่อ

ที่ตั้งชั้น 3 อาคารอำนวยการ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
โทรศัพท์0 2889 5315 ถึง 9
อีเมล์dusit.sun@mahidol.ac.th, suwatchai.cha@mahidol.ac.th

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์

พิพิธภัณฑ์ดนตรีดนตรีอุษาคเนย์ (SEAM Museum) เป็นศูนย์กลางในการสะสม เก็บรวบรวมรักษา ส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมดนตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์ดนตรีเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง (ดนตรี) เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องดนตรี บันทึกวิธีการบรรเลงและเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และวิถีชีวิตของผู้คนหลากหลายผ่านดนตรี อันเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่สำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ

เครื่องดนตรีที่ได้สะสม เป็นการรวบรวมมาจากการซื้อหรือบริจาค และถูกนำมาจัดเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เครื่องดนตรีซึ่งเป็นอุปกรณ์ของสังคมได้ถูกพัฒนาและสร้างขึ้นจำนวนมาก เป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมา เครื่องดนตรีจำนวนมากไม่ได้ใช้เนื่องจากเจ้าของล้มตาย ไม่มีทายาทสืบทอดมรดก จึงถูกทิ้งอยู่ในบ้าน อยู่ในวัด อยู่ในที่ลับตาคน โดยเครื่องดนตรีไม่ได้รับใช้สังคมอีกต่อไป เครื่องดนตรีเหล่านั้นจึงมีความหมายอย่างมากต่อสังคม โดยการนำเสนอไว้ในพิพิธภัณฑ์ดนตรี ซึ่งการเก็บรักษาเครื่องดนตรีเหล่านี้ เพื่อช่วยส่งเสริมการศึกษา และการวิจัย          

พิพิธภัณฑ์ดนตรี เป็นเครื่องหมายบอกความเจริญของดนตรีเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างนั้น สังคมเป็นอย่างไร ดนตรีเป็นอย่างนั้น” ดนตรีมีพัฒนาการกับประวัติศาสตร์ทางสังคมที่เชื่อมโยงมานานนับหลายร้อยปี สามารถเชื่อมโยงเข้ากับอดีตได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนและสังคมเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ในอนาคต พิพิธภัณฑ์ดนตรีเอเชียอุษาคเนย์ยังมุ่งมั่นที่จะเป็นสถานที่ ที่พบปะและรวบรวมผู้คนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ไม่ว่าจะเป็น นักดนตรี นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และ ผู้ที่หลงใหลชื่นชมงานดนตรี ให้มีพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต่อการเรียนรู้ เพื่อสร้างความกลมกลืนกัน ดนตรีที่จะถูกรวบรวมและนำเสนอนั้นสามารถเชื่อมโยงจิตใจคนด้วยเสียงดนตรี ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นเสียงที่มีอำนาจ เสียงเป็นพลัง(งาน) เสียงสร้างความเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวสร้างความเปลี่ยนแปลง และความเปลี่ยนแปลงทำให้สังคมพัฒนา ยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงมาก ก็ยิ่งพัฒนามากด้วย

การติดต่อ

ที่ตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เวลาทำการอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
โทรศัพท์0 2800 2525 ถึง 34
เว็บไซต์https://www.music.mahidol.ac.th/th/

            พฤกษาดุริยางค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือพิพิธภัณฑ์ต้นไม้ดนตรี เป็นเรื่องใหม่ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และเป็นเรื่องใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยของไทย นำเสนอเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา ซึ่งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระราชทานชื่อ อาคาร “ภูมิพลสังคีต” จึงได้นำเสนอโครงการปลูกป่าไม้ใช้ทำเครื่องดนตรีบนพื้นที่ 10 ไร่ ล้อมรอบอาคารห้องซ้อมดนตรีหลังใหม่ (อาคาร D)

            มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมต้นไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรี เสียงดนตรี ที่เกิดจากไม้ ทั้งเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเครื่องดนตรีสากล รวมไปถึงเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นมรดกของชาติให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้นักเรียน นักศึกษา และสังคมได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นสถานที่เพื่อการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมที่พึ่งพาธรรมชาติจากป่าไม้ ปลูกต้นไม้ที่ยังเป็นต้นไม้ ก่อนที่จะมาเป็นเครื่องดนตรี เก็บรักษาดูแลต้นไม้ และสืบทอดวัฒนธรรมดนตรี รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน และเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติ เพื่อพัฒนาพื้นที่ดนตรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการท่องเที่ยว พัฒนาดนตรีให้เป็นสินค้า                               

            พฤกษาดุริยางค์เป็นการออกแบบป่าไม้ให้เป็นสวนและพิพิธภัณฑ์ต้นไม้ดนตรี สร้างบรรยากาศให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างร่มรื่น และสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีคุณค่าทางการศึกษา คุณค่าในวีถีชีวิตของคนในสังคมภูมิภาคอุษาคเนย์ สร้างความร่มรื่น และสร้างความรื่นรมย์ให้กับมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งของการเรียนรู้ สร้างความรู้ที่อยู่กับธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม

การติดต่อ

ที่ตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เวลาทำการเปิดตลอด 24 ชั่วโมง
โทรศัพท์0 2800 2525 ถึง 34
เว็บไซต์https://www.music.mahidol.ac.th/th/

เรือนไทยมหิดล เป็นเรือนหมู่ 5 หลัง มีชานแล่นถึงกันตลอด และมีศาลาริมน้ำอีก 1 หลัง ได้ปลูกตามแบบแผนของเรือนคหบดีภาคกลาง ในชั้นต้นได้รับเงินบริจาคจากคุณระเบียบ คุณะเกษม เป็นทุนในการก่อสร้าง จึงได้เรียกเรือนไทยเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านผู้บริจาคว่า “อาคารระเบียบ คุณะเกษม”

ตัวอาคารได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์มากขึ้น ในห้องโถงของเรือนประธาน ใช้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ ห้องบรรยาย เสวนา หรือเป็นห้องจัดพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนบริเวณชานและเรือนขวาง ใช้เป็นที่แสดงศิลปวัฒธรรม ผู้ชมสามารถนั่งชมการแสดงและดื่มด่ำกับบรรยากาศวิถีไทย ด้วยแมกไม้ที่ร่มรื่นอยู่อยู่ล้อมรอบ

ด้านข้างเรือนไทยมหิดล ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นสะแกทุ่งขนาดใหญ่ที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งหาดูได้ยากในชุมชนเมือง อีกทั้งยังมีหมู่นกท้องถิ่นและนกป่าได้โผผินบินแวะเวียนให้ได้พบเห็นอยู่เสมอ

เรือนไทยมหิดล จึงเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวมหิดล สมดังกับคำของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลได้สร้างเรือนไทยไว้ให้เป็นศึกษาเรียนรู้ โดยกล่าวว่า “ก็ดีแล้ว แม้ไม่คิดใช้ประโยชน์อะไร ก็ยังสมควรสร้างไว้ ต่อไปจะไม่มีคนสร้างได้” นับแต่เริ่มก่อสร้างจวบจนปัจจุบัน เรือนไทยมหิดล อยู่ในความดูแลรักษาของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชนและพักผ่อนหย่อนใจได้

การติดต่อ

ที่ตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
โทรศัพท์0 2800 2308 ถึง 14 ต่อ 3104
08 4439 4164
อีเมล์mai_fine@hotmail.com

พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรมมีวิสัยทัศน์ในการเป็นวิสาหกิจนวัตกรรมทางสังคม พันธกิจหลักคือ เรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์

พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นำเสนอพิพัฒนาการทางวิชาการของสถาบันฯ ในการศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจชีวิตจิตใจอย่างถ่องแท้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ฝึกปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑสถานของบุคลากรทางพิพิธภัณฑ์

นิทรรศการถาวร สนทนาอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมผ่านหมู่บ้านชาติพันธุ์จำลองเพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตประจำวันทั้งในทางที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ชมสามารถเรียนรู้อดีตปัจจุบันและตั้งคำถามถึงความท้าทายในอนาคตเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบพหุมิติผ่านระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัลเพื่อสร้างความหมายใหม่ของประสบการณ์อย่างรวดเร็วรอบด้าน

นิทรรศการถาวร สนทนาอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ผ่านหมู่บ้านชาติพันธุ์จำลองเพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตประจำวันทั้งในทางที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ของกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ชมสามารถเรียนรู้ อดีต ปัจจุบัน และตั้งคำถามถึงความท้าทายในอนาคต เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบพหุมิติ ผ่านระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัล เพื่อสร้างความหมายใหม่ของประสบการณ์อย่างรวดเร็ว รอบด้าน

ขณะนี้ พิพิธภัณฑ์กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงนิทรรศการถาวร และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เชิงปริวรรต

วิวิธชาติพันธุ์

นิทรรศการพิเศษเคลื่อนที่แบบคาราวานของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม พันธกิจสำคัญคือการส่งเสริมบูรณภาพแห่งความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้วยการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเปี่ยมคุณธรรม

นิทรรศการนี้ นับเป็นนวัตกรรมของอุปกรณ์การเรียนรู้แบบร่วมสมัย มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ห้องสมุดเฉพาะทางเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย แบบออนไลน์และออฟไลน์ กิจกรรมการศึกษาที่สามารถออกแบบให้เข้ากับบริบทที่แตกต่าง และร้านค้าพิพิธภัณฑ์ และร้านกาแฟ จัดจำหน่ายของที่ระลึกจากกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และระดมทุนให้แก่พิพิธภัณฑ์

วิวิธชาติพันธุ์ เคลื่อนที่ออกไปเพื่อให้บริการการเรียนรู้เชิงปริวรรตด้วยการคิดเชิงออกแบบ แก่ โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ และชุมชน มุ่งสร้าง “บทสนทนา” และ “ปฏิบัติการ” เพื่อหาทางออกแก่ปัญหาต่างๆ ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์

การติดต่อ

ที่ตั้งชั้น 1 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
(การเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะที่ต้องการผู้นำชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า)
โทรศัพท์กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ โทร. 0 2800 2308 ถึง 14 ต่อ 3405 หรือ 08 4542 0244
งานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2800 2308 ถึง 14 ต่อ 3447
อีเมล์iculture408@gmail.com, rilca.mu@gmail.com
เว็บไซต์http://www.lc.mahidol.ac.th/th/AboutUs/AnthropologyMuseum.html
Facebookhttps://www.facebook.com/rilcamuse