สิ่งพิมพ์และสารสนเทศ

PUBLICATIONS

หนังสือ : A to Z PRINCE MAHIDOL OF SONGKLA

A

"Accomplishment Of The Authorized Representative" บรรลุผลสำเร็จในฐานะ ทรงเป็นตัวแทนกับมูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์

While studying at Harvard, Prince Mahidol succeeded in convincing the Rockfeller Foundation to agree to help the Thail Government in the development and modernization of medicine and nursing in Thailand.



ขณะทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้มูลนิธิรอกกีเฟลเลอร์ช่วยรัฐบาลไทยในด้านการเงิน การพัฒนา และสร้างความเจริญทางการแพทย์ การพยาบาลในประเทศไทย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงสละพระวรกายและพระราชทรัพย์ให้กับการดังกล่าว เป็นการสมทบเข้ากองทุนของรอกกีเฟลเลอร์ด้วยความพากเพียร ด้วยน้ำพระทัยที่ทรงทุ่มเทจึงมีค่าแก่การยกย่อง

B

"Broad Minded And Far Sighted Person" ทรงมีน้ำพระทัยอันกว้างใหญ่ และสายพระเนตรที่ยาวไกล

From those early days of modern medicine in Thailand which was virtually in the capable hands of HRH Prince Mahidol to the present day where medical education and services compared favorably with any fast developing modern society, the Thai people have always recognized and appreciated the most valuable contribution graciously made by HRH.


สมัยต้นของการแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศไทยดูประหนึ่งว่าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ผู้เป็นบุคคลที่มีพระปรีชาสามารถจวบจนทุกวันนี้ อาจเปรียบเทียบได้กับนานาอารยประเทศ ชาวไทยได้รับรู้และสำนึกในพระกรุณาที่พระองค์ทรงสละให้ไว้กับปวงชนด้วยพระทัยอันแน่วแน่ที่ทรงผูกพันกับการที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าต่อคุณภาพของชีวิตและการกินดีอยู่ดีโดยทั่วไปของชาวไทย

C

"Charismatic Person" ทรงมีคุณสมบัติพิเศษในการดึงดูดใจคน

“Hence my first reaction to the news that His Royal Highness (then a stranger to me) was coming to work with us had been that of despair, almost a protest, we were not at all prepared to receive a high member of the Royal Family. But within a few minutes after he came he had reassured and completely disarmed me and had converted me into as humble and admirer as he was any of his own countrymen. Despair had been replaced by pleasurable anticipation of working with this modest but capable student of medicine.” Dr A.G. Ellis, former Dean of the Faculty of Medicine and former Director of Siriraj Hospital who had closely worked with HRH for over nine years. (The service to medicine in Siam was rendered by HRH Prince Mahidol of Songkla)


“เมื่อข้าพเจ้าทราบข่าวว่าจะเสด็จมาทรงงานกับพวกเรา ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกประหม่าเกรงพระบารมี ด้วยสถานะไม่เหมาะสมสำหรับเจ้านายชั้นสูงและเกือบจะต้องบอกปัดทัดทานการนี้ แต่พอเสด็จมาแล้วได้สนทนากันสักไม่กี่นาที พระองค์ทรงทำให้ข้าพเจ้าปราศจากความกังวลที่มีอยู่ กลับให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่นับถือรักใคร่ชมเชยพระองค์ท่านเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่เป็นพลเมืองร่วมชาติพระองค์ท่านเอง ความเสียใจตอนต้นกลายเป็นความดีใจที่จะได้ทำการร่วมกับนักเรียนแพทย์ผู้สุภาพและสามารถอย่างยิ่งผู้หนึ่ง”ศาสตราจารย์นายแพทย์ เอ.จี. เอลลิส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้บรรยายไว้ในหนังสือด้วยความซาบซึ้งในพระองค์ท่าน

D

"Doctor Mahidol Of Songkla" นายแพทย์มหิดล ณ สงขลา

In June 1928 HRH Prince Mahidol received the degree of Doctor of Medicine cum laude from Harvard University. This marked the high point in his personal aspirations for a knowledge of medicine. For this and his Certificate of Public Health (C.P.H.) he had spent six years at Harvard, one in premedical and five in medical courses.


เมื่อเดือนมิถุนายน 2471 ทรงสอบไล่ได้ปริญญาแพทยศาสตร์ Doctor of Medicine ขั้นเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเป็นอันว่าสำเร็จตามพระประสงค์อย่างใหญ่หลวงของพระองค์ท่านในอันที่จะได้ความรู้ทางแพทย์ เพื่อที่จะได้รับปริญญานี้กับประกาศนียบัตรวิชาสาธารณสุข (C.P.H) พระองค์ท่านต้องศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเป็นเวลาหกปี คือปีที่หนึ่งตามหลักสูตรวิชาขั้นต้นของการแพทย์และอีกห้าปีตามหลักสูตรวิชาแพทย์

E

"Education Before Being A Doctor" การศึกษาก่อนจะเข้ามาเป็นนายแพทย์

Education in his early days in the Thai Court. He went to England and Germany before graduating as a Naval Officer and joined the Royal Thai Navy. Imputed by the spirit of self sacrifice and dedication to people’s welfare, he resigned his commission in the Navy and turned whole heartedly to the study of medicine and public health which he undertook with great diligence and perseverance at Harvard University.


เริ่มต้นทรงศึกษาอยู่ในพระราชวังและเสด็จไปยังประเทศอังกฤษและเยอรมนีจนทรงจบนักเรียนนายเรือและทรงกลับเข้ามารับราชการเป็นนายทหารเรือ แต่ด้วยน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเสียสละและอุทิศพระองค์เพื่อความสุขของปวงชน จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ และทรงตั้งพระทัยอันแน่วแน่ที่จะเรียนแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งพระองค์ได้ทรงเรียนด้วยความตั้งพระทัยที่เด็ดเดี่ยวด้วยพระวิริยะอุตสาหะยิ่งที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

F

"Father Of Modern Thai Medicine And Public Health" องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและสาธารณสุขของไทย

At the time of his untimely demise at the age of 37 in 1929, HRH Prince Mahidol of Songkla had indeed laid a firm foundation for modern medical and public health education in Thailand. He indeed has been and will ever be Thailand’s father of modern medicine and public health.


ในปี พ.ศ. 2472 ด้วยพระชนม์เพียง 37 พรรษา พระองค์ได้ทรงวางรากฐานอันมั่นคงให้กับการศึกษาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศอย่างล้นเหลือ พระองค์ท่านทรงเคยเป็น และจะยังคงเป็นองค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของประเทศไทยต่อไปตลอดกาลนาน

G

"Gingerbread Decorations" การประดับประดา อย่าง “หรูแฟ่”

HRH was insistent that the buildings for school and hospital be without unnecessary architectural decoration, just plain workshops and homes for sick people without lattice, grill, carving and ornaments that were expensive and not useful. HRH was careful to see that the “gingerbread”decorations, as he called them were left out at all times he was just as careful to save money on his building, and expected it at a minimum cost as if the expense were to be his own, perhaps even more careful.


ได้รับการสั่งยืนยันเสมอว่า ตึกสำหรับโรงเรียนและโรงพยาบาลนั้น ไม่ให้มีลวดลายและเครื่องประดับราคาแพง ให้เป็นเพียงแต่ที่ทำงานและหอผู้ป่วยที่เรียบง่าย ทั้งนี้ย่อมไม่เป็นที่พอใจของนายช่างออกแบบ เนื่องจากการก่อสร้างนายช่างทุกคนเห็นว่าความสวยงามเป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้างแต่พระองค์ทรงคอยระมัดระวังให้ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างตึกนี้เสมอ เพื่อให้ราคาต่ำราวกับว่าเป็นทุนทรัพย์ส่วนพระองค์

H

"Harvard Man" บุรุษจากฮาร์วาร์ด

His classmates knew this quiet, studious young man only as “Songkla.” Extremely handsome, he was gay, witty, and a brilliant raconteur, with an immense fund of knowledge in all sorts of subjects. He was most courteous, but he could, when provoked, be very quick and hot tempered. His thoughts and ideas were far too democratic and ahead of his time and his high rank and poor health intervened between him and the work he had set his heart to do.


พระสหายร่วมชั้นรู้จักพระองค์ท่านว่า “เป็นชายหนุ่มเงียบ ๆ ที่มีความขยันหมั่นเพียร ในนามว่า “สงขลา”(ซึ่งแท้ที่จริงพระองค์ท่าน คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ณ สงขลา) เป็นผู้มีพระรูปงามสง่า ร่าเริง มีไหวพริบเฉลียวฉลาดมีความรู้เรื่องเกร็ดพงศาวดารอย่างยอดเยี่ยม ด้วยความรู้นานาประการอย่างกว้างขวางในแทบจะทุกวิชาการ ความคิดและความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของพระองค์ท่านช่างไกลเกินกว่ายุคสมัยและยศถาบรรดาศักดิ์ที่ทรงอยู่ แต่แล้วพระพลานามัยอันเลวร้ายได้เข้ามาเป็นอุปสรรคระหว่างงานที่พระองค์ท่านได้ตั้งใจว่าจะทำต่อไป

I

"Internship" แพทย์ฝึกหัด

HRH was an intern at two hospitals, namely(1) being an intern during 1921 at Boston Lying-in Hospital, Boston, U.S.A. where he scrubbed floors and rushed out on ambulance calls, (2) being an intern during 1929 at Presbyterian Hospital, Chiang Mai Province, Thailand.


พระองค์ท่านทรงเป็นแพทย์ฝึกหัดอยู่โรงพยาบาล 2 แห่ง คือ (1) แพทย์ฝึกหัด ณ โรงพยาบาลบอสตัน ในปี ค.ศ. 1921 ซึ่งพระองค์ทรงทั้งขัดถูพื้น และออกไปกับรถฉุกเฉินอย่างรวดเร็วเมื่อถูกเรียก (2) เป็นแพทย์ฝึกหัด ณ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1929

J

"January Birth Of The Great Prince" 1 มกราคม 1892 กำเนิดเจ้านายผู้ยิ่งใหญ่

Born on January 1, 1892 to Their Majesties King Chulalongkorn and Queen Savang Vadhana of Siam who later created a new chapter to our modern Thai medicine.


พระองค์ท่านประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2435 เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย

K

"Keen Knowledge, Getting Knowledge At First Hand" ความรู้ที่เฉียบแหลม และทรงกระตือรือร้น

During his teaching at Siriraj Hospital, microscopes for his work were few in number but he was undaunted by the lack of facilities, he made the most of the equipment at hand and worked the harder. He was keen in getting knowledge first hand.


ระหว่างที่พระองค์ท่านทรงสอนอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น กล้องจุลทรรศน์มีอยู่ไม่กี่เครื่อง พระองค์ทรงใช้ความเพียรพยายามเต็มพระสติกำลังเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

L

"Love & Marriage" ความรักและการอภิเษกสมรส

While living in Boston, Massachusetts, HRH met and fell in love with a Thai lady who a commoner. She was called Sangwalya Talaphat, who was pretty, charming and intelligent. After obtaining permission from his father and mother, he married her in Bangkok in 1920. Three children were born to the couple, namely, Princess Galyani Vadhana, born in London, England on May 6, 1923, Prince Ananta Mahidol, born in Heidelberg, Germany on September 20, 1925, Prince Bhumibol Adulyadej, born in Boston, Massachusetts, U.S.A. on December 5, 1927. Both of the boys succeeded to the throne as the 8th and 9th monarchs of the Chakri Dynasty.


ขณะที่ประทับอยู่ที่บอสตัน รัฐแมสซาซูเซต พระองค์ได้ทรงพบรักกับนักเรียนพยาบาลไทย ชื่อนางสาวสังวาล ตาละภัฎ ภายหลังจากที่ได้รับพระราชาอนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา ก็ทรงอภิเษกสมรสที่กรุงเทพฯ แล้วจึงเสด็จกลับประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงเรียนต่อ โดยใช้เวลาว่างทำงานในประเทศอังกฤษและเยอรมนีทั้งสองพระองค์ทรงมีพระโอรสและธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ต่อมาเจ้าชายทั้งสองพระองค์ ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 8 และ 9 แห่งราชจักรีวงศ์

M

"Mc Cormick, An American Hospital In Chiang Mai" โรงพยาบาล แมคคอมิก

After leaving the Department of Public Health, HRH declined all offers of other Government posts preferring to go to Chiang Mai and worked as house physician at Mc Cormick Hospital run by Presbyterian missionaries. He led the most simple and austere life, throwing himself heart and soul into hard work.


เมื่อทรงออกจากกรมสาธารณสุขแล้ว พระองค์มิทรงปรารถนาเข้ารับราชการในตำแหน่ง ใด ๆ ที่รัฐบาลได้เสนอให้ทรงมุ่งที่จะเสด็จไปเชียงใหม่และรับตำแหน่งแพทย์ฝึกหัด ณ โรงพยาบาลแมคคอมิก ซึ่งบริหารโดยคณะมิชชันนารี พระองค์ทรงอยู่อย่างสมถะมัธยัสถ์ ใฝ่พระทัยแต่การงาน

N

"Non-Hero,Never Expect A Return For The Good Deeds Done" ไม่ต้องการเป็นวีรบุรุษ ไม่ต้องการผลตอบแทนแห่งการทำความดี

The authorities of Siriraj Hospital greatly appreciated the endowment fund to the university, therefore it was very natural to show their gratitude in a fitting manner. A meeting of the entire personal administrative officers, teaching staff and student was arranged, with a program of speeches of acceptance and reply, according to world-wide custom on such occasions. To the consternation and disappointment of everybody, HRH said that he would not attend the meeting. He said he was sorry to disappoint the people of the university but his part was to do the things that he could for the institution, and not to attend a meeting of this type and be the hero of the occasion and hear himself glorified. The meeting was, therefore, not held.


เนื่องด้วยเงินทุนที่ได้ประทานแก่มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้ตกลงให้มีการประชุมเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ตอบรับ แต่ทุกคนก็ต้องตระหนกและผิดหวัง เมื่อพระองค์ท่านปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม เนื่องจากรับสั่งว่าเป็นหน้าที่โดยตรงที่พระองค์ต้องปฏิบัติให้กับสถาบันอยู่แล้ว ในที่สุดการประชุมนั้นจึงเป็นอันต้องงดไป

O

"Outstanding Figure" สัญลักษณ์ของบุคคลสำคัญ ปรากฏให้เห็น

For the last 10 years of his life (1920 – 1929) HRH was easily the outstanding figure in the medical advancement of his own county. To the faculty of the medical school and the medical nursing staff of Siriraj Hospital, his passing away came as a staggering blow by every member, the loss was felt as personal one, as well as scientific and institutional.


สิบปีสุดท้ายของพระชนมายุ เป็นที่แน่ชัดว่าทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงการแพทย์ในกรุงสยามให้เจริญมากกว่าคนอื่น ๆ การที่มาสิ้นพระชนม์ไปเสียเช่นนี้ สำหรับโรงเรียนแพทย์เจ้าหน้าที่ในการแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราชแล้ว เป็นที่โทมนัสอย่างสุดซึ้ง

P

"Pioneer" ได้ทรงเป็นผู้บุกเบิก

Various activities in medicine followed by HRH including medical education, public health and medical research in all these phases he rendered sterling service to medicine in Siam. This service was particularly valuable because of the time at which it was given. Pioneers deserve the major part of the credit.


ทรงบุกเบิกงานของโรงเรียนแพทย์ เปลี่ยนฐานะจากโรงเรียนที่ขาดแคลนสถานที่เครื่องมือและครูขึ้นเป็นโรงเรียนที่มีความสมบูรณ์ในเรื่องของการศึกษาวิชาแพทย์ วิชาพยาบาล และการสาธารณสุข

Q

"Quest, In Quest Of Certain Parasite In The Blood" การค้นคว้า การค้นหา

Questions arising as to the presence of a certain parasite in the blood of Siamese people. HRH arranged for the examination of men in prison. It was necessary to do this at night that is the time the parasite appears in the peripheral circulation, so he went and obtained a specimen from each of the 128 prisoners, finishing the work after midnight


เมื่อมีคำถามในงานวิจัย เช่น เรื่องตัวพยาธิในโลหิตของคนไทย พระองค์ท่านได้เสด็จไปทรงตรวจโลหิตของนักโทษในเรือนจำ จำนวน 128 คน ในเวลากลางคืน เพราะเวลานั้นตัวพยาธิอ่อนกำลังไหลเวียนอยู่ในกระแสโลหิต กว่าจะเสร็จก็ถึงเที่ยงคืน

R

"Research Work In Siam" งานวิจัยในกรุงสยาม

HRH was the first to sponsor definite research work in Siam. His letter to Dr.A.G. Ellis dated March 11, 1929 offering two fellowships for this purpose during B.E. 2472 gave such sound reasons therefore was so clear and so fair, and was in every way so typical of the man, HRH Prince Mahidol of Songkla.


สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้เป็นพระองค์แรกที่ทรงรับภาระช่วยเหลือในเรื่องงานวิจัยทางการแพทย์ในกรุงสยาม ได้ประทานลายพระหัตถ์มายังข้าพเจ้า ในฐานะเป็นคณบดีรับสั่งประทานทุนสำหรับการสืบค้นคว้า ในระหว่างปี พ.ศ. 2472

S

"Sacrificer, Not Only Financial And Property, Even His Own Soul" ทรงเสียสละไม่แต่เพียงพระราชทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ แม้แต่พระวิญญาณก็ทรงให้ได้

In January 1929, HRH joined the Medical Association of Siam and gave a general address at the annual meeting. He stated that the study of medicine had brought him both interest and pleasure, but his real motive in taking the course was to make himself useful to mankind.


ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2471 พระองค์ได้ทรงเป็นสมาชิกของแพทยสมาคมแห่งกรุงสยาม และได้ประทานพระกระแสรับสั่งในที่ประชุมประจำปีว่าพระประสงค์อันแท้จริงนั้นก็คือ เพื่อจะทำพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ

T

"Teacher, A Typical Teacher" พระอาจารย์ ครูตัวอย่าง

During the work of HRH in the laboratory at Siriraj Hospital in September 1921. He was also teaching histology to medical students at the faculty of Sciences. He was deeply interested in the work of students and nothing pleased him more than to help them by preparing outlines of subjects and teaching.


พระองค์ท่านได้ทรงทำการในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่โรงพยาบาลศิริราช ต่อมาในเดือนกันยายนในระหว่างนั้นได้ทรงสอนวิชาอิสโตโลยี และวิทยาศาสตร์ ทรงโปรดในการเรียนของนักเรียนมาก และไม่มีอะไรเป็นที่พอพระทัยยิ่งไปกว่าที่จะทรงสอนและทรงช่วยนักเรียนเตรียมการเรียนการสอน

U

"University Scholarships" ทุนเล่าเรียนมหาวิทยาลัย

Medical Scholarships were provided by HRH endowment and his personal scholarships were to be increased in number. The Minister of Education stated at the station, his belief that enough impetus had been given by the work of HRH to last until he returned. The medical situation to him seemed-bright, where a few months before there had been only darkness.


ทรงประทานทุนเล่าเรียนแก่มหาวิทยาลัยและทรงเพิ่มจำนวนทุนเล่าเรียนสำหรับนักเรียนส่วนพระองค์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้กล่าวที่สถานีรถไฟว่า เชื่อว่าเวลานี้มีทุนที่ประทานไว้จะพอดำเนินการต่อไปจนกว่าจะเสด็จกลับ ซึ่งเมื่อสองสามเดือนก่อนนี้ ดูยังมืดมนอยู่

V

"Visionary Prince" ทรงมีวิสัยทัศน์

A further instance of his broad-minded interest in affairs of sanitation was shown by HRH’s mentioning one day in conversation that he hoped to see the installation in Siam crematoriums. These, he said would not come soon but he hoped later to help in their introduction as an improvement on the old-style insanitary procedures.


พระองค์ทรงมีพระทัยฝักใฝ่อย่างมากในกิจการของการสุขาภิบาล ครั้งหนึ่งทรงรับสั่งว่าในกรุงสยามน่าจะได้จัดให้มีการเผาศพด้วยไฟฟ้า รับสั่งว่าคงจะไม่มีขึ้นได้โดยเร็วนัก แต่ทรงหวังว่าจะได้ทรงช่วยให้มีขึ้นในภายหน้า เพื่อเป็นการเปลี่ยนแทนวิธีการอย่างเก่าที่ยังไม่ถูกสุขลักษณะให้ดียิ่งขึ้น

W

"Writer" ทรงเป็นนักเขียน

During HRH’s stay in Bangkok, he wrote a popular article on “Tuberculosis” for the Department of Public Health to print as a pamphlet. This was distributed at the cremation ceremony for HRH Prince Chakrabongse of Bishnulok on September 24, 1920.


พระองค์ท่านได้ทรงเรียบเรียงเรื่องอันเป็นที่พอใจแก่ประชาชนทั่วไปว่าด้วย “โรคทุเบอร์คุโลลิส”คือ โรคฝีในท้องหรือวัณโรค ประทานแก่สาธารณสุขเพื่อจัดพิมพ์ขึ้น ได้พระราชทานหนังสือในคราวงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2463

X

"X-Ray Apparatus" เครื่องเอกซเรย์

HRH’s generosity was again shown when he went on service in Mc Cormick Hospital in Chiang Mai. He had contributed $3,000 gold to fund for an X-ray apparatus for the hospital.


พระองค์ท่านเสด็จไปเชียงใหม่ เพื่อทรงงานที่โรงพยาบาลแมคคอมิก และด้วยพระทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระองค์ได้ประทานทองเป็นจำนวน 3,000 เหรียญอเมริกัน เพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกให้กับโรงพยาบาล

Y

"Young, The Curtain Falls" แม้พระชนม์ยังน้อย พระองค์เสด็จทิวงคต

And so, there ended at an early a life that HRH Prince Mahidol of Songkla had used to the full in acquiring knowledge for self and in multiple acts for others. For the interest in medicine his people owe him an eternal debt of gratitude.


พระองค์ได้มาด่วนสิ้นพระชนม์เสียในเวลาพระชนม์มายุยังน้อย แต่พระองค์ได้ทรงใช้เวลาเท่าที่ทรงมีอยู่ เพื่อขวนขวายแสวงหาความรู้ส่วนพระองค์ และทรงประกอบกิจเพื่อยังประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอื่น ๆ นานัปการ

Z

"Zealous Devotee" พระองค์ผู้ทรงมีพระอุตสาหะวิริยะอย่างสม่ำเสมอ

“……through all this he would talk by the hour of medical affairs of the past in the way of his student days of the future and its work when he would again be well. The few times that I saw him he would talk only of affairs of the hospital and school, as in the days when he was active. He was then arranging to send a nurse to America on scholarship and it was only when physical weakness forced him that he turned the details over to me.


The last time I saw Prince Mahidol, in August, I was able to report the strong probability that the Foundation would contribute to another building program that included extension of our pathology building and a new building for the school of nursing. This greatly pleased him and he at once said he would add to the proposed amount in order to make the building for the nurses a satisfactory one. When I stated the assurance of the architect that the amount named was quite ample, he said, “then I will donate the ground”, and this he did.


Thus our last conversation was on the subject that had been the chief or only one of every talk we had during the nine years of our planning and work together. Prince Mahidol would talk of nothing else but education, medical education, nursing education, public health and child welfare-these things he studied, he worked for, he actually lived. And so they were with him until he left them and us on September 24, 1929, began the great adventure into the land of the beyond.” Dr.A.G. Ellis wrote.


ตลอดเวลาที่ประชวรนี้ ได้ทรงรับสั่งถึงเรื่องการแพทย์เป็นเวลานาน ๆ หลายชั่วโมง รับสั่งถึง เรื่องเก่าที่ทรงเป็นนักเรียนอยู่ ถึงการภายหน้าและถึงการที่จะทรงทำเมื่อหายประชวรแล้ว ในขณะที่ข้าพเจ้าได้เฝ้าอยู่นั้นก็ทรงรับสั่งถึงแต่เรื่องโรงพยาบาลและเรื่องโรงเรียนเหมือนกับในเวลาที่ไม่ทรงประชวร เวลานั้นกำลังทรงจัดที่จะส่งนางพยาบาลผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนผู้หนึ่งไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียนวิชาเพิ่มเติมแต่โดยเหตุที่ทรงประชวรได้ทรงมอบให้ข้าพเจ้าจัดการนั้นต่อไป


ข้าพเจ้าได้เฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคมและได้กราบทูลว่ามีช่องโอกาสอันดีว่ามูลนิธินั้นอาจจะรับร่วมมือในเรื่องการก่อสร้างตึกอีก คือจะเป็นการก่อสร้างต่อเติมตึกพยาธิวิทยาและที่อยู่ของนางพยาบาลใหม่ ข่าวนี้ทำให้เป็นที่พอพระทัยมาก ได้ทรงรับสั่งในทันทีว่าจะทรงเพิ่มเงินให้อีก เพื่อจะได้สร้างที่อยู่สำหรับนางพยาบาลให้ดีขึ้น แต่เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลว่า นายช่างรับรองว่าจำนวนเงินที่กะไว้นั้นพอแล้ว พระองค์ก็รับสั่งว่า “ถ้าเช่นนั้นฉันจะให้ที่ดิน”และต่อมาก็ได้ประทานให้เป็นสิทธิแก่โรงพยาบาล


การสนทนาครั้งสุดท้ายนี้ก็ด้วยเรื่องสำคัญอันเดียวกัน คือเรื่องที่ได้เคยสนทนากับพระองค์ท่านมาในระหว่างเก้าปีที่ข้าพเจ้าได้ทำงานร่วมกับพระองค์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ พระองค์นี้ไม่ได้รับสั่งเรื่องอื่นใด นอกจากเรื่องการศึกษา การศึกษาแพทย์ การศึกษาวิชาพยาบาล การสาธารณสุข และการสงเคราะห์ทารก สิ่งเหล่านี้ได้ทรงศึกษา ได้ทรงเอาพระทัยใส่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงอยู่กับพระองค์ท่านจวบจนวาระสุดท้าย และเสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ.จี. เอลลิส เขียนไว้


อ้างอิง A to Z Prince Mahidol of Songkla. [Bangkok] : The Medical Association of Thailand (MAT), n.d. (Printed on the 84th Anniversary The Medical Association of Thailand (MAT), [2005], size 10.6x15 cm.)

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.