พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
Museums & Exhibitions
นิทรรศการ "พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณและหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา" โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ ณ ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บอร์ดนิทรรศการ
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.
แผ่นพับ สูจิบัติ
Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.
พระพุทธมหาลาภต้นแบบพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
พระพุทธมหาลาภ
(ขนาดหน้าตัก ๑๖ นิ้ว ขนาดฐานพระยาว ๑๘ นิ้ว กว้าง ๑๓ นิ้ว สูง ๓๓ นิ้ว)
ปัจจุบัน “พระพุทธมหาลาภ” ประดิษฐาน ณ บริเวณด้านหน้าห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง
ชั้น ๕ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ครูบาโอภาส โอภาโส วัดจองคำ ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง ถวายพระพุทธมหาลาภ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท เฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานพระพุทธมหาลาภ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๕ เพื่อให้เกิดความเป็นสวัสดิมงคลและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สืบไป
พระพุทธมหาลาภ มิ่งมงคลแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหาลาภ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๔
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
หนังสือพระราชทานพระราชานุญาตจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หนังสือพระราชทานนามพระพุทธรูปและชื่อหอพระ
แบบร่างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
แบบร่างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
ออกแบบโดย อาจารย์ ดร.สุพร ชนะพันธุ์ และนายทรงธรรม เกิดแก่น
แบบจำลองพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
แบบร่างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ สูง ๙๘ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๖๕ นิ้ว หล่อด้วยโลหะทองเหลือง ปิดผิวด้วยทองคำและอัญมณี แนวคิดในการออกแบบถอดลวดลายต่าง ๆ จากเครื่องทรงพระพุทธมหาลาภ และขยายแบบเป็นพระพุทธรูปในพุทธลักษณะเดิม โดยประยุกต์ศิลปะความเป็นไทย ซึ่งมีความสวยงามและอ่อนช้อย แสดงให้เห็นความสามารถและภูมิปัญญาไทย ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นชนชาติที่สามารถรับวัฒนธรรมของชนชาติอื่นมาผสมกลมกลืนได้เป็นอย่างดี
แบบร่างแบบเหรียญพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
แบบร่างเหรียญพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ชนิดทองคำ เงิน และทองแดง มีลักษณะทรงรี ขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๓.๐ เซนติเมตร ด้านหน้าประดิษฐานภาพพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ พร้อมนามพระราชทานที่ด้านล่างขององค์พระ ด้านหลังประดิษฐานอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ล้อมรอบด้วยข้อความ “๖๕ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๖๓” และ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
สนับสนุนการจัดสร้างโดย มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล
ออกแบบโดย นายโสพิศ พุทธรักษ์
แบบร่างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
ออกแบบโดย อาจารย์ ดร.สุพร ชนะพันธุ์ และนายทรงธรรม เกิดแก่น
แบบร่างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ที่จะสร้างขึ้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารอำนวยการของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ขนาดกว้าง ๙.๙๐ เมตร ยาว ๙.๙๐ เมตร (รวมระเบียง) ความสูงถึงยอดฉัตร ๑๗.๒๕ เมตร เป็นอาคารทรงมณฑปศิลปะไทยประยุกต์ ซึ่งลดทอนรายละเอียดให้มีความร่วมสมัย ผสมผสานสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ทรงเรือนยอดประยุกต์จากศิลปะพม่า เสาและบัวหัวเสาแบบศิลปะเขมร สวนและบ่อน้ำพุแบบศิลปะชวา
ภายในมณฑป กว้าง ๔.๙๐ เมตร ยาว ๔.๙๐ เมตร ประดิษฐาน “พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ” บนฐานชุกชีปูนปั้น ฉากหลังตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมซุ้มเรือนแก้วลายพันธุ์พฤกษา ด้านนอกมณฑปมีลานประทักษิณ กว้าง ๒.๐๐ เมตร ด้านหลังออกแบบเป็นทางลาดสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ลานโดยรอบเป็นทางเดินปูด้วยหินเทียม ขนาดกว้าง ๓.๐๐ เมตร
ภาพจำลองหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
ภาพจำลองแสดงภูมิทัศน์หอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
แบบจำลองหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เป็นประธานอุปถัมภ์ สนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ และหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
นิทรรศการ พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณและ หอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทอดพระเนตรนิทรรศการพิเศษ “พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณและหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ จัดทำโดย สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมชมนิทรรศการพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณและหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.