พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

Museums & Exhibitions

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

โดย หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

บอร์ดนิทรรศการ

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to dFlip 3D Flipbook Wordpress Help documentation.

“หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเลี้ยงลูกของคุณแม่นักทำงานในยุค ๔.๐”

เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๖ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ นับเป็นวันสำคัญที่พสกนิกรชาวไทยจะได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย ในการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงาม และพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้มไปด้วยพระเมตตา เพื่อยังความผาสุกแก่ปวงประชาชาวไทย พระราชจริยวัตรอันงดงามและยังประโยชน์แก่ประเทศชาติเหล่านั้น ยังเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจ ให้ประชาชนได้น้อมนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างความสุข และความเจริญกาวหน้าให้กับตนเอง และประเทศชาติสืบไป

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการศึกษา และทรงยึดมั่นในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” กล่าวคือ สติปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการอ่านหนังสือ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ถึงอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือของพระองค์ ที่ได้ถ่ายทอดมายังพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ ว่า “…สมเด็จแม่ทรงอ่านหนังสือมาก มีทุกประเภท ไปไหนก็ต้องซื้อมาไว้ และทรงใช้หนังสือนั้นเป็นประโยชน์มากที่สุด จนทุกวันนี้ท่านก็ยังอ่านมาก เวลางานยุ่ง ๆ บางทีเราก็ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ แต่ไม่ทราบว่าท่านทำอย่างไรของท่านจึงมีเวลา ท่านซื้อหนังสือของท่านเอง ทรงซื้อพะราชทานให้ข้าพเจ้าอ่าน จนโตก็ยังทำ ทรงแนะนำทั้งการอ่านในใจและการอ่านดัง ๆ ซึ่งมีรับสั่งว่า จะช่วยให้ภาษาพูดของเราดีขึ้น ทรงสนับสนุนให้ตั้งห้องสมุด สะสมหนังสือ...”

(เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (๒๕๓๕). สมเด็จแม่กับการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงเรียนจิตรลดา. หน้า ๕๒.)

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยปณิธานในการเป็น “คลังความรู้สู่ปัญญาของแผ่นดิน” ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร โดย มุ่งเน้นการพัฒนาคลังความรู้ที่สนับสนุนการศึกษา ทั้งในด้านการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาบริการสารสนเทศที่เป็นเลิศ ให้แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชน ดังพันธกิจของหอสมุดฯ คือ “พัฒนาคลังความรู้ มุ่งสู่สารสนเทศทันสมัย ใส่ใจคุณภาพบริการ สนับสนุนพันธกิจมหาวิทยาลัยมหิดล”

เนื่องในงานเฉลิมพระเกียรติ “มหิดล-วันแม่” ประจำปี ๒๕๖๑ หอสมุดและคลังความรู้ฯ ขอนำเสนอบริการสืบค้นสารสนเทศ เกี่ยวกับ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) เพื่อการเลี้ยงลูกของคุณแม่นักทำงานในยุค ๔.๐” เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณแม่ในยุคใหม่ ซึ่งเป็นทั้งคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูก และคนทำงาน เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว สามารถหาข้อมูลในการดูแลสุขภาพ และเทคนิคการเลี้ยงลูก ที่ถูกต้องตามหลักอนามัย โดยการสืบค้นผ่านทางเว็บไซต์ของหอสมุดฯ “http://www.li.mahidol.ac.th” ผ่านบริการ Single Search เพื่อสืบค้นทรัพยากรของห้องสมุดทุกแห่งในมหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่บอกรับ และบริการยืมระหว่างห้องสมุด (ILL) พร้อมกันนี้ ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากหอสมุดฯ สามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการด้วย

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ค้นหาด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า “Working Mother” “Mother and Child” และ “Motherhood” ผ่านทางเว็บไซต์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.li.mahidol.ac.th)

O'Reilly, A.(Ed.). (2010). Encyclopedia of Motherhood. Vol. 1-3. Thousand Oaks, CA: SAGE.

KING, M.L. (2014). How Mothers Shaped Successful Sons and Created World History : The School of Infancy. Lewiston : Edwin Mellen Press.

JONES, J. (2012). Stories to Warm a Mother's Heart. New York : Guideposts.

Villalobos, A. (2014). Motherload : Making It All Better in Insecure Times. Berkeley: University of California Press.

Stern, D. N. (2002). The First Relationship. Cambridge, MA: Harvard University Press..

Clark, L. S. (2013). The Parent App : Understanding Families in the Digital Age. New York: Oxford University Press.

Hattery, A. (2001). Understanding Families: Women, work, and family: Balancing and weaving. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications, Inc.

Davis, D. W., & Logsdon, M. C. (2010). Maternal Sensitivity : A Scientific Foundation for Practice. Hauppauge, NY: Nova Science Publishers.

Roberts, R. (2010). Wellbeing from birth. London: SAGE Publications

Juntunen, C. & Schwartz, J. (Eds.) (2016). Counseling across the lifespan. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications

Davis-Kean, P. E. & Tang S. (Eds.). (2016). Socializing children through language. London: Academic Press.

Porter, M., Jones, J,& Raith L. (2015). Mothers At The Margins : Stories Of Challenge, Resistance And Love. Newcastle upon Tyne: Cambridge Scholars Publishing.

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.