นิทรรศการพิเศษ

พ.ศ. 2559 นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559

กรกฎาคม 10, 2020

พ.ศ. 2559 นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559

พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

Museums & Exhibitions

[brizy_breadcrumbs ]

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

จัดนิทรรศการ วันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บอร์ดนิทรรศการ

[dflip id=”26734″][/dflip]

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-1b7e231633c3c9a9bbf1a6c58031e870' }}

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่พระราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ ทรงอุทิศพระวรกายและ พระราชทรัพย์เพื่อโครงการพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ทรัพยากรน้ำ กางส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น ขณะเดียวกันโครงการในพระราชดำริ ที่เด่นชัดและถือเป็นแนวทางให้ปวงชนชาวไทย ได้ยึดถือและปฏิบัติ คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงดำรัสแก่ชาวไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ กระทั่งวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ถูกกล่าวถึงอีกครั้ง เพื่อเป็นแนวทาง การแก้ไขและให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดกิจกรรมเผยแพร่พระเกียรติคุณ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และพระผู้ให้ เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยามจวบจนปัจจุบัน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ประดับพระบารมีมหากษัตริย์ไทย

  • หน้าที่ 1
  • หน้าที่ 2
  • หน้าที่ 3
หน้าที่ 1

อาคารระเบียบ คุณะเกษม

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-c4afddc3e336ea1e6402a184502228be' }}

รัชกาลที่ ๔

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-f9425f72995f0922350926fe6e25ab02' }}

รัชกาลที่ ๕

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-30b284d6a7583001b3bb7e6021fb3c83' }}

รัชกาลที่ ๖

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-be261d23d84f377c2763f003a34281b9' }}

รัชกาลที่ ๗

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-125e15c947d8458894bb3cadedfa615f' }}

รัชกาลที่ ๙

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก คือ พิธีตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ และหรือ คู่อภิเษกสมรส รับมอบพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ โดยเกี่ยวข้องกับการสวมมงกุฎบนพระเศียร พร้อมด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ชิ้นอื่น ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการตรัส คำปฏิญาณ และการถวายความเคารพแก่ผู้ปกครองพระองค์ใหม่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ และหรือ การประกอบพิธีกรรมอันมี ความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ต่อความเป็นรัฐชาติ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-1d18c872d2224b4c06bc272b49c16bfe' }}

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายเครื่องราชสักการะ ต้นไม้ทอง เงิน บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และมีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก เมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๔๙๓

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-92af300960ac8f7217b98234bd3d7325' }}

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับพระที่นั่ง ราชยานพุดตานทอง มีเจ้าพนักงานเชิญพระแสงคู่ เคียงขนาบพระที่นั่ง ในกระบวนราบใหญ่ เมื่อวันที่ ๕ พ.ค. ๒๔๙๓

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-bc644c3e5078e7e55194d50adb981d27' }}

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระปฐมบรมราชโองการ แก่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แล้วทรงหลั่ง ทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราช- กรณียกิจโดยทิศพิธราชธรรมจริยา ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-658edd2fc1c49bf77c644f262fca03cd' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยศักดิ์แห่งความเป็นสมเด็จ- พระมหากษัตริยาธิราช โดยพระมหาราชครูผู้ใหญ่นำขึ้นทูลกระหม่อมถวายขณะประทับพระที่นั่งภัทรบิฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาทเชิงงอน

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นใหม่ สำหรับพระราชพิธี บรมราชภิเษก ได้แก่ พระมหามงกุฎ ฉลองพระบาท พัชนีฝักมะขาม ธารพระกรง่าม ส่วนพระแสงขรรค์ นัยว่า มีผู้นำพระขรรค์โบราณ องค์หนึ่งขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ครั้งนั้นโปรดให้ทำด้ามและฝักขึ้นใหม่ แล้วให้จัดเป็นเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์มาแต่ สมัยนั้น ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างธารพระกรชัยพฤกษ์กับพระแส้จามรีขึ้นใหม่ จึงได้ทรงใช้ ธารพระกรชัยพฤกษ์แทนธารพระกรง่าม ส่วนพระแส้จามรีโปรดให้ใช้คู่กับพัชนีฝักมะขาม เป็นเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ สืบมา

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-730e29d9bd24f3a4453ae90245218d19' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-54dcd009c545663fafb387d417802228' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-5caf55ec000918f8f55a7c37cde831e7' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-bb9bd83809477f5879ab1836f89aae24' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-02ce5551714bb5b0161efa44314420ff' }}

ดวงพระฤกษ์สรงพระมุรธาภิเษก

หน้าที่ 2

โครงการพระราชดำริ ทั่วโลกแซ่ซ้อง…สรรเสริญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พ่อของแผ่นดิน” ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกาย เสด็จฯ ทุกพื้นที่ถิ่นทุรกันดารในประเทศไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนชาวไทย และให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกษตรและชลประทาน การพัฒนาชนบท การแพทย์ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชนชาวไทย

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-2d7b6497dc76339dda8a659bbb1d62fa' }}

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ปรากฏโครงการหลากหลายประเภทแตกต่างกันไปตามลักษณะ และวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยโครงการเหล่านี้เป็นการแก้ไขปัญหา และพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชาชนเป็นสำคัญ โดย หลักสำคัญของแนวคิดและทฤษฎีที่พระราชทานพระราชดำริ ต้องเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการ ต้องสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนมุ่งไปสู่วิถีแห่ง การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อ ความเข้าใจและเข้ากันง่ายต่อการปฏิบัติของภาครัฐและประชาชน

แนวทางพระราชดำริที่สำคัญ อันเป็นหลักการเพื่อยึดถือในการดำเนินชีวิตและส่งผลต่อการเกิดโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริอื่น ๆ หลายโครงการ คือ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราโชวาท เกี่ยวกับความพอมี พอกิน พอใช้ไว้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่ายดังนี้

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-4a00b85b7318de500558385a1c0c9871' }}

นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ณ วังไกลกังวล

ภายหลังจากนั้นพระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทเศรษฐกิจ พออยู่พอกินเรื่อยมา เช่น ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้า ฯ ถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๗ และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องใน วโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. ๒๕๔๐

นอกจากนี้ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ยังถูกนำไปใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางสำหรับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ มหาภาคของไทย และถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) “เพื่อมุ่งสู่การพัฒนา ที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “สังคมสีเขียว””

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-700b359c42c6bc627159317929a7e73c' }}

ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (Dr. Surin Pitsuwan)

นอกจากนี้ปรัชญาดังกล่าวยังได้รับความสนใจ และถูกกล่าวถึงจากนานาประเทศด้วย อาทิ นายอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย กล่าวว่า “ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง” เนื่องจากเป็นพระราชดำริ ที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการศึกษา เพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่นๆ รวมถึง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวอีกว่า สหประชาชาติ (UN) ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยอธิบายว่า “สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ยังมีนักคิดระดับโลก ๑๓ ท่าน เห็นด้วยกับแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงและมีการนำเสนอทั้งในรูปแบบของบทความ และบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ เช่น ศ.ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้าน สิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี ศ.ดร. อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (ค.ศ. ๑๙๙๘) นาย จิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน เป็นต้น รวมถึง นาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนา โดยองค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศ ให้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

กระทั้งเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ โดย นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังมีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและ นานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด

หน้าที่ 3

อ้างอิง


ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์: มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐.

เศรษฐกิจพอเพียง. (๒๕๕๙). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง. (วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

Lecture by Dr. Surin Pitsuwan on The Sufficiency Economy Philosophy. (๒๕๕๘). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch? v= 1FfuQlSCbhI.

(วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

ประมวลภาพเอกลักษณ์ 2550. (๒๕๕๙). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://oldwebsite .ohm.go.th/ searchresult_document_en.php? width=410&di_key=T0024_0008&dc_key=BB2550 901&di_sub=0.

(วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

Tanakorn Korom. (๒๕๕๕). เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://thn23257.blogspot.com/. (วันที่สืบค้น ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙).

สมพร เทพสิทธา. (๒๕๔๙). การเดินตามรอยพระยุคลบาท : เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : กองทุนอริยมรรค.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (๒๕๕๓). แนวคิดและทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ออนไลน์].

แหล่งที่มา : http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/king.aspx?p=3. (วันที่สืบค้น ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙).

งานบริหารจดหมายเหตุ ชั้น 3 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ

โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4346

ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ชั้น 3 ห้องหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล 301 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ตําบลศาลายา อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทร 0-2849-4541-4

โทรสาร 0-2849-4545

© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.