นิทรรศการเนื่องในวันพระราชทานนาม
มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564
คลิกที่ไอคอนเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
อาคารเรียนรวม หรือ ตึกกลม
อาคารเรียนรวม หรือ ตึกกลม ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นเคยของชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีในขณะนั้น ได้มอบหมายให้อาจารย์อมร ศรีวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ ตึกกลม โดยอาจารย์อมร ใช้เวลาออกแบบร่างต้นแบบตึกกลมเพียง 3 วัน และได้เคยกล่าวไว้ว่า “อาจารย์สตางค์เดินมาบอกผมว่าจะมีประชุม ครม. อาทิตย์หน้า ให้ไปเขียน Master Plan มาให้เสร็จ มันกระชั้นมาก...” นอกจากตึกกลมนี้แล้ว อาจารย์อมร ศรีวงศ์ ยังได้ออกแบบอาคารที่โดดเด่นในสถานศึกษาอีกหลายแห่ง เช่น “ตึกฟักทอง” ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคารคณะสังคมศาสตร์ (หอดูดาว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
การก่อสร้างตึกกลมได้รับงบประมาณจากรัฐบาลไทยร่วมกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปประมาณ 4,000,000 บาท โดยแบ่งกันออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่ง เพื่อใช้ในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์
ตึกกลมมีรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นทรงกลมเมื่อมองจากด้านบน และเมื่อมองจากด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายกับจานบิน โดยแนวคิดการออกแบบเพื่อต้องการให้ทุก ๆ ตำแหน่งของห้องบรรยายได้ยินและมองเห็นเท่าเทียมกันทุกจุด เป็นอาคารบรรยายรวมมีความจุขนาด 1,500 ที่นั่ง มีห้องบรรยายขนาดใหญ่ ความจุ 500 ที่นั่ง 1 ห้อง และห้องบรรยายย่อย ความจุ 250 ที่นั่งอีก 4 ห้อง นอกจากนั้นพื้นที่ด้านล่างของอาคารเป็นพื้นที่โถงโล่งและลานกว้างรอบตึกสำหรับทำกิจกรรม นอกจากใช้สำหรับการเรียนการสอนแล้วยังใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมนักศึกษาและกิจกรรมทางวิชาการ เช่น งานไหว้ครูประจำปี งานปาฐกถาพิเศษ งานประชุมวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น โดยอาจารย์อมร ศรีวงศ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการออกแบบตึกกลมไว้ว่า
"...เวลาเราออกแบบเราต้องการอะไรที่ไม่ไปซ้ำกับของเดิม ขั้นแรกก็ต้องทำตัวเองให้หายไปก่อน ถ้าเราไปถือตัวตนไว้ ทุกอย่างมันก็ตัน อะไรที่ดีกว่าหรือใหม่กว่าเราก็ไม่กล้าทำ เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัยคำสอนของศาสนาพุทธคืออนัตตา ถ้าไม่มีเราแล้ว ไม่เอาตัวเราไปเกี่ยวข้อง มันก็ออกมาเป็นรูปร่างให้เรา มันเป็นสัจธรรม เป็นของที่ไม่ตาย มีคุณค่าในตัวของมันเอง ก็ไม่ใช่ว่าผมออกแบบเก่ง เพียงแต่แยกแยะให้ออกเท่านั้นว่าอะไรคืออะไร...
...ทุกตารางนิ้วในห้องนั้นเสียงมันต้องเท่ากันหมด จะให้มุมโน้นด้อยกว่ามุมนี้ มุมนี้ดีกว่ามุมโน้นมันก็ไม่ถูกต้อง พยายามให้ทุกเก้าอี้ได้มองเห็น ได้ฟังเสียงเท่ากันหมด เป็นอีกประเด็นที่เราตั้งไว้ แต่ถ้าอย่างเมื่อกี้ที่พูด คือถ้าเอาตัวเราไปขวางอยู่มันก็บังไปหมด ถ้าเราไปตั้งในจุดที่ถูก สิ่งที่ถูกมันก็เกิดขึ้น มันจะเหมือนใครไม่เหมือนใครช่างมัน แต่ว่าเราทำสิ่งที่ถูก ให้แน่ใจ มันก็จบ..."
ในปี พ.ศ. 2553 ตึกกลมได้รับการคัดเลือกจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2553 ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ
มหิดลสิทธาคาร
การสร้างหอประชุมใหญ่สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล เดิมบรรจุอยู่ในผังแม่บทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพื้นที่ศาลายา แต่เนื่องจากจะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากสำหรับการจัดการเรียนการสอน และสร้างอาคารเรียนและหอพักก่อน หอประชุมใหญ่เลยยังไมได้ดำเนินการก่อสร้างในช่วงนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 จึงได้รับงบประมาณสนับสนุนและเริ่มดำเนินการออกแบบอาคาร ซึ่งออกแบบโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด โดยใช้แนวคิด “ธรรมชาติ มนุษย์ วัฒนธรรม สัญลักษณ์” ประกอบการออกแบบ โดยโครงสร้างภายนอกอาคารเมื่อมองจากด้านบนจะคล้ายกับซี่โครงของมนุษย์ จั่วด้านหน้ามีลักษณะแบบสถาปัตยกรรมไทย และคล้ายกับดอกกันภัยมหิดลที่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดลด้วย นอกจากจะออกแบบเพื่อเป็นหอประชุมในการพระราชทานปริญญาบัตรและเป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติแล้ว ยังออกแบบอาคารให้รองรับการแสดงดนตรีที่มีระบบเสียงได้มาตรฐานสากล มีพื้นที่ใช้สอย 35,000 ตารางเมตร ภายในหอประชุมมีความจุ 2,016 ที่นั่ง ใช้งบประมาณก่อสร้าง ประมาณ 1,450 ล้านบาท
เมื่อกระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร ซึ่งในเบื้องต้นได้ใช้ชื่ออาคารว่า อาคารศูนย์เทคโนโลยีนวัตกรรมและปฏิบัติการอเนกประสงค์ และหลังจากนั้น
ในวันที่ 6 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้น ได้พระราชทานชื่ออาคาร “มหิดลสิทธาคาร” หมายถึง อาคารที่มีความสำเร็จแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นสิริมงคลกับมหาวิทยาลัย
และในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารมหิดลสิทธาคาร ในการนั้นทรงวาดภาพอาคารมหิดลสิทธาคารและทรงปลูกต้นจำปีสิรินธร พระราชทานเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่มหาวิทยาลัยมหิดล
ในปีเดียวกันนั้น วันที่ 10 กรกฎาคม ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 ณ มหิดลสิทธาคาร เป็นครั้งแรกอีกด้วย
มหิดลสิทธาคาร
การสร้างหอประชุมใหญ่สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล เดิมบรรจุอยู่ในผังแม่บทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพื้นที่ศาลายา แต่เนื่องจากจะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากสำหรับการจัดการเรียนการสอน และสร้างอาคารเรียนและหอพักก่อน หอประชุมใหญ่เลยยังไมได้ดำเนินการก่อสร้างในช่วงนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 จึงได้รับงบประมาณสนับสนุนและเริ่มดำเนินการออกแบบอาคาร ซึ่งออกแบบโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด โดยใช้แนวคิด “ธรรมชาติ มนุษย์ วัฒนธรรม สัญลักษณ์” ประกอบการออกแบบ โดยโครงสร้างภายนอกอาคารเมื่อมองจากด้านบนจะคล้ายกับซี่โครงของมนุษย์ จั่วด้านหน้ามีลักษณะแบบสถาปัตยกรรมไทย และคล้ายกับดอกกันภัยมหิดลที่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดลด้วย นอกจากจะออกแบบเพื่อเป็นหอประชุมในการพระราชทานปริญญาบัตรและเป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติแล้ว ยังออกแบบอาคารให้รองรับการแสดงดนตรีที่มีระบบเสียงได้มาตรฐานสากล มีพื้นที่ใช้สอย 35,000 ตารางเมตร ภายในหอประชุมมีความจุ 2,016 ที่นั่ง ใช้งบประมาณก่อสร้าง ประมาณ 1,450 ล้านบาท
เมื่อกระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร ซึ่งในเบื้องต้นได้ใช้ชื่ออาคารว่า อาคารศูนย์เทคโนโลยีนวัตกรรมและปฏิบัติการอเนกประสงค์ และหลังจากนั้น
ในวันที่ 6 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้น ได้พระราชทานชื่ออาคาร “มหิดลสิทธาคาร” หมายถึง อาคารที่มีความสำเร็จแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นสิริมงคลกับมหาวิทยาลัย
และในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารมหิดลสิทธาคาร ในการนั้นทรงวาดภาพอาคารมหิดลสิทธาคารและทรงปลูกต้นจำปีสิรินธร พระราชทานเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่มหาวิทยาลัยมหิดล
ในปีเดียวกันนั้น วันที่ 10 กรกฎาคม ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 ณ มหิดลสิทธาคาร เป็นครั้งแรกอีกด้วย
หอพัก
จากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีการขยายพื้นที่การศึกษามายังพื้นที่ศาลายา ซึ่งถือว่าห่างไกลจากกรุงเทพมหานครพอสมควร เพื่อรองรับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ที่จะเข้ามาศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ จึงจำเป็นต้องมีหอพักไว้สำหรับพักอาศัยภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยด้วย โดยในระหว่างการเริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้มีการก่อสร้างหอพักสำหรับนักศึกษา 2 หลัง และหอพักอาจารย์ 2 หลัง โดยหอพักนักศึกษามีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายมานะ โชติกพนิช เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 34,381,700 บาท และหอพักอาจารย์ มีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายสุธรรม บุญยะผลึก เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2522 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 6,431,080 บาท
ต่อมามีการสร้างหอพักอีกหลายอาคาร และมีการสร้างอาคารชุดสำหรับพักอาศัยของนักศึกษาและบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปลี่ยนหอพักอาจารย์บางส่วนเป็นหอพักนักศึกษาเพิ่มเติม
หอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยนี้ เรียกรวม ๆ กันว่า บ้านมหิดล และแบ่งเป็นหอชายและหอหญิง โดยตั้งชื่อหอพักเป็นบ้านตามชื่อดอกไม้ต่าง ๆ คือ หอ 1-2 (หญิง) บ้านพุทธรักษา หอ 3-4 (หญิง) บ้านอินทนิล หอ 6-7 (ชาย) บ้านชัยพฤกษ์ หอ 8-9 (ชาย) บ้านกันภัยมหิดล หอ 10 (หญิง) บ้านลีลาวดี และ หอ 11 (หญิง) บ้านศรีตรัง โดยจะสังเกตได้ว่าหมายเลขหอพักที่หายไปคือ หอ 5 ซึ่งเป็นหอพักสำหรับนักศึกษาที่เป็นเด็กกิจกรรม โดยในปัจจุบันได้รื้อถอนหอดังกล่าว และปรับปรุงเป็นพื้นที่ของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติไปนั่นเอง
อาคารกิจกรรมกลาง
อาคารกิจกรรมกลาง เป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมของนักศึกษา มีลานกิจกรรม โรงอาหาร ร้านค้า และห้องชมรมต่าง ๆ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่มาศึกษาและพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ศาลายาได้ใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักศึกษามีเวลาและโอกาสที่จะพัฒนาความคิด ปรัชญาการดำรงชีวิต จริยธรรม บุคลิก และพฤติกรรมของการอยู่ร่วมกันด้วย
อาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร ออกแบบโดย เรืออากาศเอกอุดมศักดิ์ วิจารณกรณ์ เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 10,594,145 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีโครงการสร้างอาคารใหม่ขึ้นทดแทนอาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมและเพื่อการรองรับการขยายตัวของนักศึกษาและบุคลากรที่เพิ่มขึ้น จึงได้รื้อถอนอาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหารสร้างเป็นอาคารใหม่ ซึ่งก็คืออาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center) หรือ MLC ในปัจจุบัน
หอพัก
จากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีการขยายพื้นที่การศึกษามายังพื้นที่ศาลายา ซึ่งถือว่าห่างไกลจากกรุงเทพมหานครพอสมควร เพื่อรองรับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ที่จะเข้ามาศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ จึงจำเป็นต้องมีหอพักไว้สำหรับพักอาศัยภายในบริเวณของมหาวิทยาลัยด้วย โดยในระหว่างการเริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้มีการก่อสร้างหอพักสำหรับนักศึกษา 2 หลัง และหอพักอาจารย์ 2 หลัง โดยหอพักนักศึกษามีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายมานะ โชติกพนิช เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 34,381,700 บาท และหอพักอาจารย์ มีสถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายสุธรรม บุญยะผลึก เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2522 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 6,431,080 บาท
ต่อมามีการสร้างหอพักอีกหลายอาคาร และมีการสร้างอาคารชุดสำหรับพักอาศัยของนักศึกษาและบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปลี่ยนหอพักอาจารย์บางส่วนเป็นหอพักนักศึกษาเพิ่มเติม
หอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยนี้ เรียกรวม ๆ กันว่า บ้านมหิดล และแบ่งเป็นหอชายและหอหญิง โดยตั้งชื่อหอพักเป็นบ้านตามชื่อดอกไม้ต่าง ๆ คือ หอ 1-2 (หญิง) บ้านพุทธรักษา หอ 3-4 (หญิง) บ้านอินทนิล หอ 6-7 (ชาย) บ้านชัยพฤกษ์ หอ 8-9 (ชาย) บ้านกันภัยมหิดล หอ 10 (หญิง) บ้านลีลาวดี และ หอ 11 (หญิง) บ้านศรีตรัง โดยจะสังเกตได้ว่าหมายเลขหอพักที่หายไปคือ หอ 5 ซึ่งเป็นหอพักสำหรับนักศึกษาที่เป็นเด็กกิจกรรม โดยในปัจจุบันได้รื้อถอนหอดังกล่าว และปรับปรุงเป็นพื้นที่ของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติไปนั่นเอง
อาคารกิจกรรมกลาง
อาคารกิจกรรมกลาง เป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมของนักศึกษา มีลานกิจกรรม โรงอาหาร ร้านค้า และห้องชมรมต่าง ๆ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่มาศึกษาและพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ศาลายาได้ใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักศึกษามีเวลาและโอกาสที่จะพัฒนาความคิด ปรัชญาการดำรงชีวิต จริยธรรม บุคลิก และพฤติกรรมของการอยู่ร่วมกันด้วย
อาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร ออกแบบโดย เรืออากาศเอกอุดมศักดิ์ วิจารณกรณ์ เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 10,594,145 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีโครงการสร้างอาคารใหม่ขึ้นทดแทนอาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหาร เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมและเพื่อการรองรับการขยายตัวของนักศึกษาและบุคลากรที่เพิ่มขึ้น จึงได้รื้อถอนอาคารกิจกรรมกลางและโรงอาหารสร้างเป็นอาคารใหม่ ซึ่งก็คืออาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center) หรือ MLC ในปัจจุบัน
อาคารอเนกประสงค์
(อาคารพลศึกษาและนันทนาการ)
อาคารอเนกประสงค์ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเล่นกีฬาและกิจกรรมในร่มของนักศึกษา อยู่ในผังแม่บทของการปรับปรุงพื้นที่ศาลายาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นสถานที่ฝึกฝนและสร้างเสริมอุปนิสัยในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการแข่งขันกีฬา ให้นักศึกษามีพลานัยที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคต
ออกแบบโดย หม่อมหลวงภุมรีรัตน์ จงเจริญสุข เริ่มก่อสร้างวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 31,932,876.9 บาท
เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ในการนั้น ได้ทอดพระเนตรการแสดงที่จัดถวายและทรงดนตรีไทยร่วมกับวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยมหิดลในอาคารนี้ นอกจากนั้นยังทรงปลูกต้นแก้วเจ้าจอมที่ด้านหน้าอาคารเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสนั้นด้วย
อาคารอเนกประสงค์นอกจากจะเป็นสนามแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล สำหรับนักศึกษาและบุคลากรแล้ว ยังเป็นสถานที่รวมความทรงจำของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของนักศึกษาตลอดทั้งปี เช่น พิธีไหว้ครู กิจกรรมรักน้อง กิจกรรมสอนน้องร้องเพลง กิจกรรมสแตนเชียร์ การแข่งขันกีฬาน้องใหม่ รวมถึงคอนเสิร์ตหลายครั้งในแต่ละปี ทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ทั้งในคณะและต่างคณะที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ศาลายานี้
อาคารอเนกประสงค์
(อาคารพลศึกษาและนันทนาการ)
อาคารอเนกประสงค์ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเล่นกีฬาและกิจกรรมในร่มของนักศึกษา อยู่ในผังแม่บทของการปรับปรุงพื้นที่ศาลายาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นสถานที่ฝึกฝนและสร้างเสริมอุปนิสัยในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการแข่งขันกีฬา ให้นักศึกษามีพลานัยที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคต
ออกแบบโดย หม่อมหลวงภุมรีรัตน์ จงเจริญสุข เริ่มก่อสร้างวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 31,932,876.9 บาท
เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ในการนั้น ได้ทอดพระเนตรการแสดงที่จัดถวายและทรงดนตรีไทยร่วมกับวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัยมหิดลในอาคารนี้ นอกจากนั้นยังทรงปลูกต้นแก้วเจ้าจอมที่ด้านหน้าอาคารเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสนั้นด้วย
อาคารอเนกประสงค์นอกจากจะเป็นสนามแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล สำหรับนักศึกษาและบุคลากรแล้ว ยังเป็นสถานที่รวมความทรงจำของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของนักศึกษาตลอดทั้งปี เช่น พิธีไหว้ครู กิจกรรมรักน้อง กิจกรรมสอนน้องร้องเพลง กิจกรรมสแตนเชียร์ การแข่งขันกีฬาน้องใหม่ รวมถึงคอนเสิร์ตหลายครั้งในแต่ละปี ทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ทั้งในคณะและต่างคณะที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ศาลายานี้
เรือนไทยมหิดล
อาคารระเบียบ คุณะเกษม
มหาวิทยาลัยมหิดลสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นถาวรวัตถุน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
เรือนไทยมหิดล เป็นเรือนหมู่ 5 หลัง มีชานแล่นถึงกันตลอด และมีศาลาริมน้ำอีก 1 หลัง ปลูกตามแบบแผนของเรือนคหบดีภาคกลาง โดยได้แนวคิดจาก พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ปรับปรุงแบบให้เข้ากับการใช้งานเพื่อเป็น Museum scale แทนที่จะเป็น Human scale ออกแบบโดย อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2543 การก่อสร้างนั้นใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยสมทบกับเงินบริจาคของ คุณระเบียบ คุณะเกษม โดยสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในสมัยของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 9,000,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินทรงยกเสาเอกของเรือนไทยนี้ตามคำกราบทูลเชิญของมหาวิทยาลัยมหิดล และก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ส่งงานเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530
ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเรือนไทยมหิดล อาคารระเบียบ คุณะเกษม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในการนั้นมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการแสดงสักวาหน้าพระที่นั่ง เรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมเป็นผู้บอกสักวากลอนสดครั้งนี้ โดยพระองค์รับบทเป็น “รจนา” อีกด้วย
เรือนไทยมหิดล
อาคารระเบียบ คุณะเกษม
มหาวิทยาลัยมหิดลสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นถาวรวัตถุน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
เรือนไทยมหิดล เป็นเรือนหมู่ 5 หลัง มีชานแล่นถึงกันตลอด และมีศาลาริมน้ำอีก 1 หลัง ปลูกตามแบบแผนของเรือนคหบดีภาคกลาง โดยได้แนวคิดจาก พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ปรับปรุงแบบให้เข้ากับการใช้งานเพื่อเป็น Museum scale แทนที่จะเป็น Human scale ออกแบบโดย อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2543 การก่อสร้างนั้นใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยสมทบกับเงินบริจาคของ คุณระเบียบ คุณะเกษม โดยสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในสมัยของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นอธิการบดี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 9,000,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินทรงยกเสาเอกของเรือนไทยนี้ตามคำกราบทูลเชิญของมหาวิทยาลัยมหิดล และก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ส่งงานเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530
ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเรือนไทยมหิดล อาคารระเบียบ คุณะเกษม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในการนั้นมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการแสดงสักวาหน้าพระที่นั่ง เรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมเป็นผู้บอกสักวากลอนสดครั้งนี้ โดยพระองค์รับบทเป็น “รจนา” อีกด้วย
อาคารบรรยายรวม
อาคารบรรยายรวม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หรือที่คุ้นกันในชื่อ ตึกแมลงปอ หรือตึกผีเสื้อ นั้นก็สุดแต่นักศึกษาในแต่ละยุคจะจินตนาการตามภาพลักษณ์ของอาคาร แต่ที่นิยมและคุ้นหูที่สุดในปัจจุบันเห็นจะเป็นอาคารแอล ที่มาจากคำว่า Lecture นั่นเอง
อาคารบรรยายรวมเป็นอาคารแรก ๆ ในโครงการขยายพื้นที่การศึกษามายังตำบลศาลายา การจัดการพื้นที่และงบประมาณในระยะแรกนั้น อาคารเรียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ใช้ที่ดินอย่างเป็นระเบียบ มีการวางแผนก่อสร้างอาคารให้แข็งแรงมั่นคง แต่เสียค่าดูแลรักษาน้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับนักศึกษาที่จะเข้ามาใช้งานต่อไป โดยใช้เป็นห้องบรรยายวิชาพื้นฐานของคณะวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาจากหลากหลายคณะได้เรียนร่วมกัน
อาคารบรรยายรวม ออกแบบโดย ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 25,967,102.5 บาท
อาคารบรรยายรวม
อาคารบรรยายรวม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หรือที่คุ้นกันในชื่อ ตึกแมลงปอ หรือตึกผีเสื้อ นั้นก็สุดแต่นักศึกษาในแต่ละยุคจะจินตนาการตามภาพลักษณ์ของอาคาร แต่ที่นิยมและคุ้นหูที่สุดในปัจจุบันเห็นจะเป็นอาคารแอล ที่มาจากคำว่า Lecture นั่นเอง
อาคารบรรยายรวมเป็นอาคารแรก ๆ ในโครงการขยายพื้นที่การศึกษามายังตำบลศาลายา การจัดการพื้นที่และงบประมาณในระยะแรกนั้น อาคารเรียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ใช้ที่ดินอย่างเป็นระเบียบ มีการวางแผนก่อสร้างอาคารให้แข็งแรงมั่นคง แต่เสียค่าดูแลรักษาน้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับนักศึกษาที่จะเข้ามาใช้งานต่อไป โดยใช้เป็นห้องบรรยายวิชาพื้นฐานของคณะวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาจากหลากหลายคณะได้เรียนร่วมกัน
อาคารบรรยายรวม ออกแบบโดย ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 25,967,102.5 บาท
ตึกมหิดลบำเพ็ญ
ตึกมหิดลบำเพ็ญเป็นอาคารในโรงพยาบาลศิริราช ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชทานเงินจำนวน 83,584.24 บาท เพื่อก่อสร้างในปี พ.ศ. 2465 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2467 แต่เดิมชื่อ ตึกศัลยกรรมชาย ซึ่งต่อมาภายหลังจากที่สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคตแล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อาคารมหิดลบำเพ็ญ เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานมา
ตึกมหิดลบำเพ็ญ กว้าง 10 เมตร ยาว 44 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ มีบันไดขึ้นชั้น 2 อยู่หัวและท้ายตึก ในปี พ.ศ. 2493 ได้ต่อเติมอาคารขึ้นเป็น 3 ชั้น เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น ต่อมาเมื่อโรงพยาบาลศิริราชมีอาคารเพื่อรองรับผู้ป่วยมากขึ้น จึงไม่ได้ใช้อาคารนี้รับผู้ป่วยตามเดิม กระทั่งปี พ.ศ. 2548 ในระหว่างการปรับปรุงอาคาร ได้เกิดเพลิงไหม้บริเวณชั้น 3 จึงได้ปรับปรุงซ่อมแซมให้เป็นอาคาร 2 ชั้น คล้ายกับเมื่อตอนแรกสร้าง
ปัจจุบันตึกมหิดลบำเพ็ญ ใช้เป็นที่ทำการของมูลนิธิต่าง ๆ เช่น ศิริราชมูลนิธิ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งศิริราชมูลนิธิเป็นมูลนิธิที่รับบริจาคทรัพย์สินเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยยากไร้ รวมทั้งสนับสนุนการศึกษาของนักเรียนแพทย์ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ไปจนถึงการจัดหาเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยด้วย
ตึกอำนวยการ
ศาลาอำนวยการ ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2468 แล้วเสร็จและเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2470 เป็นอาคารสองชั้น สร้างขึ้นคร่อมถนนจักรพงษ์ ที่เดิมเป็นถนนทอดจากศาลาท่าน้ำไปยังตึกราชแพทยาลัย ในช่วงแรกตึกอำนวยการนี้ ใช้เป็นห้องทำงานของแผนกอำนวยการโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาล ห้องสมุด ห้องอ่านหนังสือและห้องประชุม รวมถึงใช้ชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกและห้องยาด้วย จากบันทึกของ ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส ได้กล่าวว่า ค่าก่อสร้างตึกนี้สิ้นเกือบ 200,000 บาท เป็นส่วนที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลทรงบริจาคทรัพย์ช่วยครึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 100,000 บาท ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดตึกนี้ด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้ปรับปรุงและต่อเติมอาคารเป็น 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นสำนักงานของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนจะย้ายไปยังอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และย้ายมายังอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในปัจจุบัน
ด้านหน้าของตึกอำนวยการ ที่ปลายสุดของถนนจักรพงษ์ เป็นศาลาท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดิมเป็นเส้นทางหลักของผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลศิริราช โดยศาลาท่าน้ำเดิมสร้างขึ้นเมื่อแรกสร้างโรงพยาบาลศิริราชเป็นเรือนไม้หลังคาจั่ว มีโป๊ะที่ท่าเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้มีการก่อสร้างศาลาท่าน้ำขึ้นใหม่โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) ออกแบบโดยหลวงวิศาลศิลปกรรม ศาลาโล่งหลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว ประดับอาคารด้วยหัวเสาแบบไอโอนิก รับซุ้มโค้ง ๔ ด้าน ผนัง บริเวณคอสองออกแบบให้มีช่องตะแกรงโปร่ง ประดับด้วยพนักลูกแก้วโปร่งโดยรอบอาคาร
ศาลาท่าน้ำหลังใหม่นี้ นอกจากจะใช้เป็นที่รับเสด็จพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมายังโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ยังเปิดใช้สำหรับประชาชนที่สัญจรโดยทางเรืออีกด้วย นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมรับน้องข้ามฟากเป็นครั้งแรก ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เพื่อต้อนรับนิสิตแพทย์น้องใหม่ข้ามฟากมายังฝั่งศิริราช ซึ่งยังมีการจัดกิจกรรมนี้สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
หอประชุมราชแพทยาลัย
หอประชุมราชแพทยาลัย สร้างขึ้นบนที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับเวนคืนมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเงินบริจาคของศิษย์เก่าศิริราชและประชาชนทั่วไป เงินจากการจัดงานเฉลิมฉลอง 60 ปี ศิริราช และเงินจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สำหรับชื่อ หอประชุมราชแพทยาลัย ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงโรงเรียนราชแพทยาลัยให้มีชื่อปรากฎในประวัติศาสตร์สืบไป ออกแบบอาคารโดย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ใช้รูปแบบอาคารเป็นศิลปะประยุกต์ ผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีกับอาคารร่วมสมัย ตกแต่งอย่างเรียบง่าย ใช้ปั้นลมและหน้าบันธรรมดา แต่ยังคงรูปแบบหลังคาจั่วมุมสูงไว้ หน้าจั่วประกอบด้วยองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย เช่น อกไก่ แป แปหัวเสา ตัวเหงารูปหัวพญานาค และมีคันทวยเป็นไม้ค้ำชายคา ชั้นล่างของหอประชุมราชแพทยาลัยเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ พื้นราบไม่มีอัฒจันทร์ หอประชุมมีความจุประมาณ 1,200 คน ใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ เช่น ประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงสังสรรค์ จัดสอบ จัดพิธีไหว้ครู จัดนิทรรศการ และจัดแข่งกีฬาแบดมินตัน รวมทั้งเป็นห้องเรียนห้องสอบด้วย โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495
ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด หอประชุมราชแพทยาลัย และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในหอประชุมนี้เป็นครั้งแรก จากนั้นได้ใช้เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรสืบมาจนถึงปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายไปยังสวนอัมพร หอประชุมกองทัพเรือ (พ.ศ. 2551) และในปี พ.ศ. 2557 ได้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหิดลสิทธาคารจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาทรงดนตรีพระราชทานให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในหอประชุมนี้อีก ถึง 3 ครั้ง ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2515 และครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516
ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจาณาถึงคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรม จึงได้มอบรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ปี 2549 ให้กับหอประชุมราชแพทยาลัย และศาลาท่าน้ำศิริราชด้วย