สู่...น่านแซนด์บอกซ์

สู่...น่านแซนด์บอกซ์

สู่...น่านแซนด์บอกซ์

Nan's River'

ความสูญเสียพื้นที่ป่าสงวนทำให้เกิดโครงการ น่านแซนด์บอกซ์ หรือ Nan Sandbox เป็นแบบของการพัฒนาจังหวัดน่าน ในลักษณะโครงการบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดำเนินการโดย ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อหาแนวทางยุติปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในจังหวัดน่าน สร้างอาชีพการเกษตรที่สร้างสรรค์ มีรายได้สูง ใช้พื้นที่น้อย และยั่งยืนให้ประชาชน "การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าอย่างยั่งยืน" ผ่านตัวเลข 72:18:10 ซึ่งคุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลักดันและถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการทำให้ป่าของจังหวัดน่านกลับคืนมา ต้องใช้เวลาทุ่มเทเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวผ่านหลายกลุ่มหลายหน่วยงานหลายองค์กรที่ต่างยื่นมือเข้ามาเพื่อ "ฟื้นฟูน่าน" อย่างจริงจัง

พื้นที่ป่าต้นน้ำน่าน เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำน่าน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลมารวมกับแม่น้ำ ปิง วัง และยม เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาหล่อเลี้ยงประเทศไทยมายาวนาน โดยแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในบรรดาต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวถึง 740 กิโลเมตร ซึ่งเป็น 40% ของปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา สะท้อนถึงความสำคัญว่าทำไมจึงต้องรักษาป่าต้นน้ำน่านอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงนิเวศวิทยาไปถึงภาคกลาง คุณบัณฑูร ล่ำซำ ได้กล่าวไว้พร้อมระบุต้นตอของป่าที่ถูกทำลายว่า

"จริง ๆ แล้วคนจำนวนมากของประเทศนี้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่อย่างพอกินได้ เพราะความรู้หรืออาชีพที่ใช้สู้กับต้นทุนไม่ได้ เป็นโจทย์ที่ต้องแก้แม้จะเลยรัฐบาลนี้ไปแล้ว ถ้าคนที่มารับอาสาจะบริหารประเทศในอนาคตไม่ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องมี และปัญหาควรจะแก้ที่ปัญหาขั้นพื้นฐานจริง ๆ"

โดยมีความคิดว่าจะทำยังไงให้ใช้พื้นที่น้อยแต่รายได้สูง ทำให้ต่อยอดสู่ สถาบัน เค อะโกร - อินโนเวท จัดตั้งและทำงานภายใต้มูลนิธิกสิกรไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์ พืชยา ที่จะแก้ไขปัญหาป่าน่านด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมพฤกษเภสัชจากพืชให้เป็นยา

Maps of Nan Province
Maps of Nan Province

จังหวัดน่านยังมีมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และมูลนิธิกสิกรไทย ที่คอยช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมจังหวัดน่านในต่าง ๆ เช่น เรื่องป่า เรื่องการทำมาหากิน ช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ชายขอบ ให้มีความกินดีอยู่ดี รวมถึงด้านสาธารณสุข มีการปรับปรุงโรงพยาบาล เนื่องจากโรงพยาบาลมีสภาพที่ทรุมโทรม ขาดเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีการก่อสร้างศูนย์การแพทย์รัตนนันทเวช ที่ประกอบด้วย ตึกอุบัติเหตุ ตึกรังสี และอาคารจอดรถ มูลค่านับ 1,000 ล้านบาท และยังมีโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาตะวันออก สร้างในพื้นที่ศาลากลางเก่า ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเยาวชน ในด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดองค์ความรู้และบรรยากาศของเมืองเก่าน่าน

Maps of Nan Province
Maps of Nan Province
BG Decor
Nan's River

ป่าใหญ่น่านที่แปรเปลี่ยน

Nan's River

สู่...น่านแซนด์บอกซ์

Nan's River

ฟื้นฟูผืนป่าเพื่อประชาชน

Collecting Herb

พืชยากับเกษตรกรรมยั่งยืน

Mahidol Management Team at Nan

มหาวิทยาลัยมหิดลกับอนาคตที่คาดหวัง

นิทรรศการเนื่องในวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2568

นิทรรศการ "ประชาชน พืชยา และป่าต้นน้ำ มหิดล x น่านแซนด์บอกซ์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน"

โดย ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

© Copyright 2025 Mahidol University Archives and Museums, All right Reserved