มหาวิทยาลัยมหิดล ถือกำเนิดมาจากการสถาปนาโรงศิริราชพยาบาลเมื่อปี พ.ศ. 2431

ต่อมาในปี พ.ศ.2432 จึงเปิดโรงเรียนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้กับโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งต่อมาโรงเรียนแพทย์นั้นได้รับการขนานนามว่า โรงเรียนแพทยากร

และได้พัฒนามาเป็นราชแพทยาลัย ในปี พ.ศ. 2443 กระทั่งปี

พ.ศ. 2460 เป็นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ในจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้นรัฐบาลมีการปรับปรุงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น จึงได้มีนโยบายพัฒนามหาวิทยาลัยเฉพาะทางขึ้น ในปี พ.ศ. 2486 จึงได้แยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ เป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดการศึกษา วิจัย และส่งเสริมด้านการแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ กับวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี พ.ศ. 2507 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธย “มหิดล” เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชกระแสรับสั่งว่า

 “…ไม่ขัดข้อง แต่ขอให้ปรับขยายให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์เสียก่อน

เพื่อให้สมพระเกียรติ แต่ขอให้เป็นไปในทางประหยัด…”

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา โดยในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2512 ลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” มีขอบเขตดำเนินการกว้างขวางขึ้น…”


มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ยึดถือเอาวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ คือ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 เป็น วันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

มีความเป็นผู้นำในการบริการสุขภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 17 คณะ 7 สถาบัน 6 วิทยาลัย 10 ศูนย์

3 วิทยาเขตในส่วนภูมิภาค 3 เขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

4 Centers of excellence

และ 9 โรงพยาบาล

เพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในอันดับ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก ในปี 2573

มหาวิทยาลัยมีการปรับแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ดังนี้

คลิกเพื่อดูข้อมูลแต่ละยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1

“Global Research and Innovation”

เพื่อสร้างผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวารสาร Q1 และได้รับการอ้างอิงในระดับนานาชาติ รวมถึงการนำผลงานไปใช้แก้ปัญหาของประเทศ

  • สนับสนุนทุนวิจัย MU-MRC  เพิ่มเติมจาก 9 กลุ่ม เป็น 15 กลุ่ม
  • บ่มเพาะกลุ่มวิจัยขนาดเล็ก MU-MiniRC เพิ่มเติมจาก 11 กลุ่ม เป็น 22 กลุ่ม
  • สนับสนุนโครงการเสริมสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยต่างประเทศ (MU-GPI) มี 5 โครงการที่มีโครงการวิจัยกับสถาบันต่างประเทศที่อยู่ในอันดับ 200 อันดับแรกของการจัดอันดับโลก 
  • ผลักดันอันดับ Subject Ranking โดยสนับสนุนงานวิจัยเฉพาะสาขา 
  • เพิ่มศักยภาพพื้นฐานด้านการวิจัยเพื่อรองรับศาสตร์ในอนาคต 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ Ai Based Diagnosis, Medical Robotics, Drug Discovery, Medical Device, Biologics & Vaccine
  • Scholarship for Ph.D. Student สนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาปริญญาเอก อย่างน้อย 50 ทุน
  • Deep Tech Accelerator Platform and Commercialization สนับสนุนโครงการให้เกิดผลงานวิจัย หรือนวัตกรรม ที่ถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์ หรือเป็น Start up

ยุทธศาสตร์ที่ 2 

“Innovative Education

and Authentic Learning”

ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน เพื่อมุ่งหวังให้เกิด Innovative pedagogy ผ่านการปฏิบัติ

  • การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต 
  • Mux for Flexible Education: Micro=credential to Degree พัฒนาบทเรียนออนไลน์ให้ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียน
  • การปรับระบบการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่งเสริมนักศึกษาให้เป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21
  • Career Support Service  สนับสนุนการได้งานทำของนักศึกษา และผลักดันให้นักศึกษาที่มีศักยภาพสูงได้เข้าทำงานในองค์กรระดับชาติและนานาชาติ 
  • การได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรในระดับสากล  37 หลักสูตร รอรับใบรับรองอีก 16 หลักสูตร


ยุทธศาสตร์ที่ 3 

 “Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services”

เพื่อผลักดันผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปสู่นโยบายชี้นำสังคม

  • MU Social Engagement Platform 
  • MU Accreditation Center

ยุทธศาสตร์ที่ 4 

“Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization”

เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาตร์

  • Global Talents Platform 
  • Marketing Drive and Endowment Funding   
  • MU Digital Transformation ด้านการศึกษา ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านสนับสนุนอื่น ๆ
  • MU SDGs 
  • IAO for Strategic Internationalization 
  • MU Academic Position Promotion Sandbox

We use cookies to allow us to better understand how the site is used.

By continuing to use this site, you consent to this policy.