พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 เวลา 23.07 น. ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งในขณะนั้นสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จไปทรงศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ในสก๊อตแลนด์ พระนามเมื่อแรกประสูติภายในพระสูติบัตรคือ เมย์ (May) ซึ่งใช้ตามเดือนที่ประสูติ ต่อมาพระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้ใหม่ว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี กลับประเทศไทยและย้ายไปประทับยังเมืองต่าง ๆ ในหลายประเทศ ได้แก่ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา

พระอิสริยยศ

ในพุทธศักราช 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าผู้เป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้า ที่ประสูติแต่มารดาที่ไม่เป็นเจ้า เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มีผลให้ หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเปลี่ยนฐานันดรเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงครองสิริราชสมบัติในพุทธศักราช 2478 ได้เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2485 ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสนั้นได้มีการออกพระนามว่า พระพี่นางกัลยาณิวัฒนา

ครั้งถึงพุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชโองการดำรัสสั่ง ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กลับทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิมทุกประการ

และเมื่อพุทธศักราช 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระบรมราชโองการสถาปนา เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จไปทรงรักษาพระอาการประชวรเป็นระยะ ๆ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2550 เสด็จไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี (ท้อง) ซึ่งคณะแพทย์ได้ตรวจพบมะเร็งซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พระถันที่ทรงเคยได้รับการถวายตรวจรักษา หลังจากนั้นมีพระอาการพระวรกายด้านขวาอ่อนแรง คณะแพทย์จึงถวายตรวจพระสมองด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ พบว่ามีเนื้อสมองด้านซ้ายตายเป็นวงกว้าง จากเส้นเลือดสมองอุดตัน คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถ แต่พระอาการก็ทรุดลงตามลำดับ


กระทั่งวันที่ 2 มกราคม พุทธศักราช 2551 เวลา 2 นาฬิกา 54 นาที สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ ระหว่างนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ พระธิดาและครอบครัว ได้เฝ้าพระอาการอย่างใกล้ชิด

หลังจากสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี โดยวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2550 เป็นวันพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดถวายสมพระเกียรติตามโบราณราชประเพณีทุกประการ และวันที่ 19 พฤศจิกายน มีการเชิญพระสรีรางคารไปประดิษฐาน ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ที่ด้านล่างของที่ประดิษฐานพระสรีรางคารของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงเคยมีรับสั่งว่า “ฉันจะอยู่ข้างแม่”

พระกรณียกิจ

พระกรณียกิจ

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

พระกรณียกิจ

ด้านการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม

พระกรณียกิจ

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล

บุคคลสำคัญของโลก

ประเทศไทยมีการเสนอพระนามสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่อการประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก (UNESCO) ครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 9 – 24 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2564 เพื่อพิจารณาให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยมีประเทศที่ให้การสนับสนุนมติในที่ประชุมดังกล่าว ได้แก่ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน อียิปต์ ฝรั่งเศส โมร็อกโก สหพันธรัฐรัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2564 ที่ประชุมได้มีมติประกาศยกย่องบุคคลสำคัญของโลกจำนวน 67 คน/สถาบัน โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสนครินทร์ ได้รับการอนุมัติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบ 100 ปี วันประสูติ ด้วยพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจที่มีคุณูปการต่อประเทศในหลายด้าน อาทิ ในด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม นอกจากนี้พระองค์องค์กรการกุศลไว้ในพระอุปถัมภ์หลายองค์กร ทำให้พระกรณียกิจปรากฎเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยองค์กรที่ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์มี ดังนี้

  • ด้านวิชาการและการศึกษา
  • ด้านการแพทย์ การพยาบาล และสาธารณสุข
  • ด้านสังคมสงเคราะห์
  • ด้านศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ด้านวิชาการและการศึกษา

• สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย

• ศิริราชมูลนิธิ

• โรงเรียนวรนารีเฉลิม

• สโมสรโรตารีกรุงเทพบางลำพู

• มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา

• โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• สมาคมศิลปศาสตร์ธรรมศาสตร์ฯ

• สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

• กองทุนหมอเจ้าฟ้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• มูลนิธิโรงเรียนนันทบุรีวิทยา

• มูลนิธิสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ

• ราชินีมูลนิธิ

• มูลนิธิ รภ. ราชนครินทร์

• สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย

ด้านการแพทย์ การพยาบาล และสาธารณสุข

• มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.)

• มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช

• โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า

• ทุนง่วงอย่าขับ มูลนิธิรามาธิบดี

• สมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่

• มูลนิธิโลกสีเขียว

• มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน

• มูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปภัมภ์

• กองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

• ทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ศิริราชมูลนิธิ

• กองทุนช่วยเหลือประชาชนปลอดโรคเขตร้อน

• สมาคมครูสอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย

• มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย

• มูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

• มูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน

• ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ

• สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย

• มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

• มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย

• กองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• กองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

• สมาคมธนาคารกระดูกและเนื้อเยื่อประเทศไทย

• มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ

• ทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนีเพื่อพัฒนาการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ด้านสังคมสงเคราะห์

• มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

• ทุนการกุศลสมเด็จย่า

• มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ

• โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

• มูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ

• สโมสรโรตารีวัฒนา

• สโมสรไลออนส์ราชนครินทร์ กรุงเทพฯ

• กองทุนพระปิยมหาราชอำนาจเจริญ

• มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

• มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ

• มูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล

• มูลนิธิชีวิตพัฒนา

• มูลนิธิเวชดุสิต

• ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ

• ชมรมช่างกายอุปกรณ์แห่งประเทศไทย

ด้านศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

• มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

• สถาบันคชบาลแห่งชาติ

• มูลนิธิกาญจนาภิเษกจังหวัดลำพูน

• สโมสรลูกเสือสมเด็จพระศรีนครินทร์

• มูลนิธิส่งเสริมภาษาฝรั่งเศสและฝรั่งเศสศึกษา

• สมาคมนักเรียนเก่าสวิสส์

• สมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย

• ทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกฯ

• วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• กองทุนพระตำหนักดาราภิรมย์

• วัดทับไทร

• สมาคมฝรั่งเศสเชียงใหม่

• มูลนิธินาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก

• มูลนิธิกาญจนาภิเษก จังหวัดลำพูน