

2468

พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ผู้ก่อตั้งวงดนตรีคณะนารีศรีสุมิตรและผู้จัดทำแผ่นเสียงนารีศรีสุมิตรPhra Sucharit Suda (Prueang Sutcharitakul), the Royal Consort of King Rama VI, was the founder of the Naree Srisumit Ensemble and the producer of the Naree Srisumit record.


ราว พ.ศ. 2468-2469 พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ได้จัดให้มีการบันทึกเสียงวงดนตรีของท่านซึ่งเป็น วงเครื่องสายผสมเปียนโนหญิงล้วน วงแรกของประเทศไทย โดยทำการบันทึกเสียงร่วมกับห้าง ต. เง็กชวน บางลำพู และบริษัทดอยเช่แกรมโมโฟน (Deutsche Grammophon) จากประเทศเยอรมัน หน้าแผ่นเสียงมีสีน้ำเงินและมีตรากรอบพักตร์สีทอง เขียนชื่อว่า "คณะนารีศรีสุมิตร" (พูนพิศ อมาตยกุล, 2526, น. 24-27)
พบการบันทึกโน้ตเพลงอักษรสังคีต สำหรับซอด้วง เรียบเรียงโ ดยขุนภักดีโทรกิจ (อ้น เผือกศรีพันธุ์) จำนวน 21 เพลง ได้แก่
- 1. เพลงไอยเรศ
- 2. เพลงพม่า 5 ท่อน
- 3. เพลงจะเข้หางยาว
- 4. เพลงสี่บท
- 5. เพลงบุหลัน
- 6. เพลงแป๊ะ
- 7. เพลงสุรินทราหู
- 8. เพลงนาคเกี่ยว
- 9. เพลงนางครวญ
- 10. เพลงสารถี
- 11. เพลงสุดสงวน
- 12. เพลงลมหวน
- 13. เพลงนกขมิ้น
- 14. เพลงลมพัดชายเขา
- 15. เพลงทะแย
- 16. เพลงต่อยรูป
- 17. เพลงแขกมอญ
- 18. เพลงแสนเสนาะ
- 19. เพลงปลาทอง
- 20. เพลงเต่ากินผักบุ้ง
- 21. เพลงสรรเสริญพระบารมี
จำหน่ายที่ตึกหมายเลข 2149 ถนนหลังวังบูรพา พระนคร ราคาเล่มละ 2 บาท พิมพ์ที่บุญครองพานิชหลังวังบูรพา (อัษฎาวุธ สาคริก, การสื่อสารส่วนบุคคล, 4 กุมภาพันธ์ 2568)
A musical score titled Akson Sangkheet for the Saw Duang was found, arranged by Khun Phakdee Tharokit (On Puek Sri Phan), contained 21 songs:
- 1. Ayaret (The Retusa Orchid)
- 2. Burma Ha Thon (Burma five parts)
- 3. Chai Khaeng Yao (The Long Tailed Crocodile)
- 4. Si Bot (Four sections)
- 5. Bulan (The Flowers)
- 6. Pae (The Old Man)
- 7. Surintharahu
- 8. Nak Khieow
- 9. Nang Khruan (The Crying maiden)
- 10. Sarathi (The Coachman)
- 11. Sut Songwan (The Most Precious)
- 12. Lom Huan (The Backing Wind)
- 13. Nok Khamin (The Oriole)
- 14. Lom Phat Chai Khao (Breeze on the foot of the mountain)
- 15. Tha Ya
- 16. Toy Rup
- 17. Khaek Mon
- 18. Saen Sano
- 19. Pla Thong (The Goldfish)
- 20. Tao Kin Phak Bung (Turtle eating water spinach song)
- 21. Sansern Phra Baramee
The score was sold at Building No. 2149, Behind Wang Burapha, Phra Nakhon, for 2 baht per copy, printed by Boonkrong Panit Behind Wang Burapha. (Atsadawut Sagarik, personal communication, February 4, 2025)
2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ระหว่างวันที่ 6 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎรในนครเชียงใหม่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ทรงจัดการแสดงถวายหลายชุด โดยฟ้อนม่านมุยเชี ยงตา เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังมีระบำซอที่ได้ถูกนำมาบันทึกเสียงที่กรุงเทพฯ ในเวลาต่อมา (พูนพิศ อมาตยกุล, 2540, น. 244-248)
"เจ้าดารารัศมี พระราชชายา" เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ เป็นผู้จัดการแสดงถวายรัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ หนึ่งในนั้นคือการแสดง ระบำซอ ได้ถูกบันทึกแผ่นเสียงที่กรุงเทพมหานครเวลาต่อมา ในชื่อ "เพลงสมโภชพระเสวตร์คชเดชน์ดิลก"
พบหนังสือละคอนพูด คณะสามัคยาจารย์ แสดง ณ วังบูรพาภิรมย์ วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2469 เรื่อง "เสียรอย" พระยาโอวาทวรกิจ ผูกเรื่องและแต่ง กับเรื่อง "ละครข้าพเจ้า" พระยาไพศาลศิลปสาตร แปลงจากเรื่อง Between the Acts (อัษฎาวุธ สาคริก, การสื่อสารส่วนบุคคล, 4 กุมภาพันธ์ 2568)
His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) and Her Majesty Queen Rambai Barni took a trip through the Northern and Northwestern circle from January 6th to February 5th, 1926. During their visit to the people of Chiang Mai, Her Highness Princess Dara Rasmi organized several performances in their honor, including the Man Mui Chienta Dance, which was invented by the Princess. In addition, the Sow dance was later recorded in Bangkok. (Poonpit Amatyakul, 1997: 244-248)
Her Highness Princess Dara Rasmi, a princess of the Thipchakra royal dynasty from Chiang Mai organized performances in honor of His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) during His Majesty's royal visit to the Northwestern circle.
A playbook of a spoken drama performed by the Samakkayajarn troupe at Wang Buraphaphirum on Monday, March 7, 1926, featuring the play "Siaroy" written and composed by sir Phaya Owath Worakit, and the play "Lakhon Khajao" (My Drama) by Phaya Phitsal Silapasatra, adapted from the work Between the Acts. (Asadawut Sakorik, personal communication, February 4, 2025)





2470

เริ่มมีการพิมพ์ซองแผ่นเสียงในประเทศไทย พบซองแผ่นเสียงของ บริษัท The Siam Gramophone Records Co.,Ltd. มีสัญลักษณ์เป็นรูปช้างสามเศียร มีข้อความบรรยายเกี่ยวกับแผ่นเสียงของบริษัทบนหน้าซอง ดังนี้
"จานเสียงสุรศัพท์ก้อง | กังวาฬ |
สมเยี่ยงสมัยกาล | เกริ่นพร้อง |
ไพเราะมธุระขาน | ไขแจ่มแจ้วเอย |
เพลงแปลกแผกพจน์ร้อง | เลิศถ้อยคนแถลงฯ |
ควรแสวงหาแต่เนื้อ | จานดีซื้อนอ |
เข็มขูดวางบ่มี | พร่าได้ |
ไฟฟ้าอัดวาที | และเครื่องสังคีตเนอ |
ฟังวิเวกวังเวงไซร้ | แผ่นนี้เสียงสยามฯ" |
(พฤฒิพล ประชุมพล, ม.ป.ป., น. 153)
The production of record sleeves in Thailand began with examples from The Siam Gramophone Records Co., Ltd., featuring a three-headed elephant logo. The front of the sleeve displayed a poetic description of the company's records as follows:
The sound of the record reverbed, and concordantly compliant to the era.
Sung Melodiously, sweet, and crystal clear.
Novel and foreign but exquisite and graceful.
Seek only the best records, neglect not the needles.
Electricity to record voices, and a machine to melodize, any time, any occasion, only this very record of Siam.
(Pruthipon Prachumphol, n.d.: 153)
2471


พบแผ่นเสียงเพลงสมโภชช้างเผือก สันนิษฐานว่าบันทึกราวปี พ.ศ. 2471-2473 บนแผ่นเสียงพิมพ์ชื่อเพลงไว้ด้วยอักษรสีทองบนกระดาษกลมสีเขียวแก่ มีข้อความว่า "สมโภชพระเสวตร์คชเดชน์ดิลก" ซึ่งเป็นช้างเผือกคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้ งเสด็จประพาสมณฑลเชียงใหม่ บรรเลงขับร้องทำนองเชียงใหม่ โดยคณะวังบางขุนพรหม ผู้ขับร้องคือ นางสาวเฉิด (เฉิด อักษรทับ) นางสาวทูน (คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ) นางสาวสะอาด (สะอาด อ๊อกกังวาล) บันทึกเสียงโดยบริษัท Parlophon Carl Lindstrom A-G ประเทศเยอรมนี (พูนพิศ อมาตยกุล, 2540, น. 244-248)
บทร้องถวายพระพร พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงโปรดให้ขับร้องเฉลิมพระเกียรติในวันพิธีรับเสด็จฯ มณฑลเชียงใหม่ พูนพิศ อมาตยกุล ถอดเสียงได้ดังนี้
1. สา น้อมใจ | ข้าไท ขับกล่อม |
เถลิงบุญรัตน์ พระยุคลทอง | ใต้ฝ่าละออง ธุลีพระบาท |
2. บรมนาถ พระปกเกศเกล้า | ตั้งพระแม่เจ้า บรมราชินี |
ทรงบุญญฤทธิ์ พระบารมี | เป็นตี้ยินดี ทั่วทุกขอบเขต |
3. พระเสื้อทรงเมือง เมลืองฤทธิ์เดช | ทั้งไทเทเวศร์ ก็แสนสุขสันติ์ |
เป็นศุภนิมิต เศวตทรงธรรม์ | เกิดในเข ตขันธ์ จังวัดเชียงใหม่ |
4. รับเสด็จ..................... | ก็บังเกิดพลาย.......เรืองศรี |
ปฏิสันธิ์สู่ คู่พระบารมี | กำเนิดมาดี คู่บุญ..... |
5. พระบารมี ประชาธิปกโลกนาถ | ปิยะมหาราช หน่อพุทธคุณ |
คือหน่อให้เชื้อ ประทานการุญ | ให้มาเกิดคู่บุญ….. |
6. วันนี้หนา เป็นวันล้ำเลิศ | เป็นวันประเสริฐ ฤกษ์งามยามดี |
เป็นศุภนิมิต เศวตทรงธรรม์ | เป็นประเพณี สมโภชช้างพลาย |
หมายเหตุ คำร้องที่จับความไม่ได้ จึงละจุดไข่ปลาไว้
Around 1927-1930, a recording of the White Elephant Celebration Song (Pleng Somphoch Chang Puek) from the era of King Rama VII was produced. The record featured the song title inscribed in gold lettering on dark green circular paper, reading "The Celebration of The royal Elephant named 'Samphoch Phra Sawet Kochadet Dilok", referring to the royal white elephant that symbolised the auspicious power of His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) during his visit to Chiang Mai. The song was performed in the Chiang Mai style by the Bang Khun Phrom Palace Ensemble, with vocalists named Miss Chert, Miss Thun, and Miss Sa-ard. The recording was made by Parlophon Carl Lindström A-G, a company from Germany. (Poonpit Amatyakul, 1997: 244-248)
Lyrics of Felicitation song that Her Highness Princess Dara Rasmi arranged to honor the welcoming ceremony at Chiangmai.
Poonpit Amatyakul transcribed the lyrics:
With pure hearts, let us sing to glorify the virtue of his majesty, we being nothing but specks of dust compared.
King Prajadhipok, and the queen are of incomparable virtue and nobility, celebrated all over.
Revered we spirits of ancestors, men and angels celebrate alike.
A good fortune, the steward of Dharma arrived in Chiangmai.
We welcome his and her majesty, we glorify his and her radiance.
Indeed a match made in heaven, our beloved king and queen.
He of virtue, King Prajadipok, loved by all, and stood by the principles of Lord Buddha
Such principles emit benevolence and love.
Such a great day it is. A blessed time to live in.
A great fortune indeed, a ceremony of elephants.
Reminder, some lyrics are unable to be transcribed.
2472



พบแผ่นเสียงเพลงสมโภชช้างเผือก สันนิษฐานว่าบันทึกราวปี พ.ศ. 2471-2473 บนแผ่นเสียงพิมพ์ชื่อเพลงไว้ด้วยอักษรสีทองบนกระดาษกลมสีเขียวแก่ มีข้อความว่า "สมโภชพระเสวตร์คชเดชน์ดิลก" ซึ่งเป็นช้างเผือกคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลเชียงใหม่ บรรเลงขับร้องทำนองเชียงใหม่ โดยคณะวังบางขุนพรหม ผู้ขับร้องคือ นางสาวเฉิด (เฉิด อักษรทับ) นางสาวทูน (คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ) นางสาวสะอาด (สะอาด อ๊อกกังวาล) บันทึกเสียงโดยบริษัท Parlophon Carl Lindstrom A-G ประเทศเยอรมนี (พูนพิศ อมาตยกุล, 2540, น. 244-248)
บทร้องถวายพระพร พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงโปรดให้ขับร้องเฉลิมพระเกียรติในวันพิธีรับเสด็จฯ มณฑลเชียงใหม่ พูนพิศ อมาตยกุล ถอดเสียงได้ดังนี้
1. สา น้อมใจ | ข้าไท ขับกล่อม |
เถลิงบุญรัตน์ พระยุคลทอง | ใต้ฝ่าละออง ธุลีพระบาท |
2. บรมนาถ พระปกเกศเกล้า | ตั้งพระแม่เจ้า บรมราชินี |
ทรงบุญญฤทธิ์ พระบารมี | เป็นตี้ยินดี ทั่วทุกขอบเขต |
3. พระเสื้อทรงเมือง เมลืองฤทธิ์เดช | ทั้งไทเทเวศร์ ก็แสนสุขสันติ์ |
เป็นศุภนิมิต เศวตทรงธรรม์ | เกิดในเขตขันธ์ จังวัดเชียงใหม่ |
4. รับเสด็จ..................... | ก็บังเกิดพลาย.......เรืองศรี |
ปฏิสันธิ์สู่ คู่พระบารมี | กำเนิดมาดี คู่บุญ..... |
5. พระบารมี ประชาธิปกโลกนาถ | ปิยะม หาราช หน่อพุทธคุณ |
คือหน่อให้เชื้อ ประทานการุญ | ให้มาเกิดคู่บุญ….. |
6. วันนี้หนา เป็นวันล้ำเลิศ | เป็นวันประเสริฐ ฤกษ์งามยามดี |
เป็นศุภนิมิต เศวตทรงธรรม์ | เป็นประเพณี สมโภชช้างพลาย |
หมายเหตุ คำร้องที่จับความไม่ได้ จึงละจุดไข่ปลาไว้
On April 10th-11th, His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) graciously ordered the organization of the royal housewarming ceremony at Phra Tamnak Piamsuk, Klai Kangwon Palace. Following this, on April 12th, members of the royal family and court officials jointly organized the "Klai Kangwon Revue" at the Sala Roeng Pavilion. The event featured musical performances by His Majesty's personal Thai music ensemble, the Bang Khun Phrom Palace ensemble, and the Amphorn Western music band. There were satirical performances parodying ministers from various ministries, along with a Thai song-guessing game, where performers dressed in costumes and acted out clues on stage for musicians to guess and play the corresponding songs. (Sukhothai Thammathirat Open University Library, retrieved February 5, 2025)

วันที่ 29 มิถุนายน เป็นคล้ายวันประสูติครบรอบพระชนมายุ 48 พร รษา ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ พ.ศ. 2472 ปีมะเส็ง มีการจัดงานสี่มะเส็ง ครั้งนั้นได้ทำการบันทึกแผ่นเสียงโดยใช้ชื่อ "คณะวังบางขุนพรหม" พบงานบันทึกเสียงแผ่น "เพลงระบำงูกินหาง" และ "สักวายอพระเกียรติ" เป็นแผ่น Columbia และ Parlophon หน้าสีเขียว (พูนพิศ อมาตยกุล, 2540, น. 173-176)
During the celebration of the 48th birthday anniversary in the Year of the Snake, 1929, Si Mareng event was held, phonograph recordings were recorded under the name of "Bang Khun Phrom Palace Ensemble." Among the discovered records are performances of "Rabum Ngu kin hang" (The Snake-Eating-Its-Tail Dance) and "Sakawa Yau Phra Kiat" (Form of Thai Poetry in Honor of Royal Prestige). These recordings were issued on Columbia and Parlophone, with green-colored labels.(Poonpit Amatyakul, 1997: 173-176)


ในปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงราตรีประดับดาว ซึ่งเป็นการเลียนล้อจากเพลงแขกมอญบางขุนพรหม อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เพลงราตรีประดับดาวมีบทร้องตอนหนึ่งที่ว่า "ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง" เพื่อเป็นที่หมายรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้พระราชนิพนธ์ในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) (วิเชียร กุลกัณฑ์ และมนตรี ตราโมท, 2523, น. 440-444) และขับร้องออกอากาศครั้งแรกที่สถานีวิทยุ ศาลาแดง 1 1 พีเจ (อัษฎาวุธ สาคริก, การสื่อสารส่วนบุคคล, 4 กุมภาพันธ์ 2568)
In 1929, His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) composed the song "Ratri Pradab Dao" (Star-Adorned Night), which was inspired by the song "Khaek Mon Bang Khun Prom" by His Royal Highness Prince Krom Phra Nakhon Sawan Worapinit. The song "Ratri Pradab Dao" includes a verse, "Please listen to this song that stirs the heart, a new composition from the Grand Palace," serving as a subtle indication of the King's authorship within the royal residence. (Wichian Kulkhan and Montri Tramot, 1980, pp. 440-444). The song was first broadcast on the radio station at Sala Daeng on January 1st (Atsadawut Sagarik, personal communication, February 4, 2025).

พบการบันทึกโน้ตเพลงและบทร้องทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมานำมาจำหน่ายโดยร้านดุริยบรรณ์ ถนนตะนาว ชื่อเลขาสังคีตย์ บนปกปรากฏราคาจำหน่ายเล่มละ 1 บาท 50 สตางค์ (อัษฎาวุธ สาคริก, การสื่อสารส่วนบุคคล, 4 กุมภาพันธ์ 2568)
A record musical score and lyrics were found and respectfully presented to His Majesty King Prajadhipok (Rama VII). Later, it was published and sold by Duriyabun Shop on Tanao Road under the title Lekhasangkheet. The cover displayed the selling price of 1 baht and 50 satang per copy. (Atsadawut Sakrik, personal communication, February 4, 2025)
2473



เดือนเมษายน 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ ประพาสอินโดจีนและทรงทอดพระเนตรดนตรีและการแสดงชุดต่าง ๆ (วิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล, ม.จ., 2495)
ในช่วงปี พ.ศ. 2473-2485 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับสั่งให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวัง เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในขณะนั้นจัดหาครูดนตรีไทยและผู้เชี่ยวชาญการจดโน้ตเพลงมาร่วมกันบรรเลงบอกเพลงและบันทึกโน้ตดนตรีไทยโดยเริ่มจดบันทึกโน้ตสากลเมื่อวันท ี่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ท้องพระโรงวังวรดิศ (วิภา จิรภาไพศาล, 2566)
คุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิเศรณี (เยี่ยม สุวงศ์) เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงด้านการขับร้องและเคยเป็นข้าหลวงในสังกัดวังพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุธาสินีนาฏ และมีโอกาสได้เรียนขับร้องจากหม่อมส้มจีน หม่อมคร้ามและคุณเฒ่าแก่จีบ (ศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ, 2568; ชีวิน สุวงศ์, 2493: 25-43) อีกทั้งเป็นผู้บันทึกแผ่นเสียง โดยทำสัญญากับบริษัทพาร์โลโฟน (Polyphone Werke A.G. Berlin) ของประเทศเยอรมนี ทำการอัดแผ่นเสียงและใช้ชื่อของท่านตราว่า แผ่นเสียงเศรณี มีตราเป็นรูปอุณาโลม รุ่นแรก ๆ พิมพ์บนกระดาษสีเขียวมีตัวหนังสือสีทอง อัดด้วยไฟฟ้า
(พูนพิศ อมาตยกุล, 2540, น. 194-199)
In April 1930, His Majesty King Prajadhipok (Rama VII) and Her Majesty Queen Rambhai Barni traveled to the Indochina peninsula, where they observed various musical performances and shows. (Vibulsawasdiwong Sawaddikun, M.C., 1952)
Between 1930 and 1942, Prince Damrong Rajanubhab ordered Phaya Woraphongpipat (M.R. Yen Isarasena), the Minister of the Ministry of the Palace and the head of the royal piphat ensemble at that time, to gather Thai music teachers and experts in musical notation to perform, transcribe, and record Thai music. The first attempt to write Western musical notation began on February 19th at the Thong Phra Rong Hall in Wang Woradis. (Wipa Jiraphapai-San, 2023)
Khun Ying Rambandit Sittiseranee (Yiam Suwong) made phonograph recordings under a contract with Polyphone Werke A.G. Berlin, a German company. The records, branded with her name, were issued under the label "Seranee" and featured the emblem of the unalome, a symbol of auspiciousness. The early editions of these records were printed on green-colored paper with gold lettering and were electrically recorded. (Poonpit Amatyakul, 1997: 194-199)
2474

