มรดกความทรงจำ
The Memories
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
แต่เดิมมา การพัฒนาเด็กเป็นแบบแยกส่วนตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งแบ่งตามด้านที่รับผิดชอบโดยไม่ได้ประสานแผน ประสานการปฏิบัติเท่าที่ควร จึงทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยยังมีปัญหาสุขภาพและพัฒนาการไม่สมวัย ปัญหาการเรียนรู้และสมรรถนะในการทำงาน ปัญหาพฤติกรรมและภาวะยากลำบากของเด็กวัยต่างๆ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ ในประเทศไทย ได้สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเด็กวัยแรกเกิด – 6 ปี คือ กรมการพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมประชาสงเคราะห์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมผนึกกำลังดำเนินการโครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว ใน 10 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปีพ.ศ. 2534 ได้ขยายการดำเนินงานไปยัง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในปี พ.ศ. 2536 โดยการสนับสนุนของ Save the Children Federation (U.S.A) ได้ขยายการดำเนินงานไปยังจังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งสิ้นเป็น 16 จังหวัด รูปแบบการดำเนินงานเน้นให้พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว และบุคคลในท้องถิ่น เช่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ฯลฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กในครอบครัว และหรือหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ
นอกจากนั้น ในแผนปฏิบัติการเดียวกัน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการเพื่อเป็นแกนหลักในการประสานงานทางวิชาการด้านการพัฒนเด็กและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม เพื่อสนับสนุนด้านการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากร วิจัยและพัฒนารูปแบบ สื่อ ตลอดจนการประเมินผล สร้างเครือข่ายทางวิชาการโดยประสานงานกับสถาบันและหน่วยงานวิชาการอื่นๆ ในภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ สำหรับหน่วยงานหลักในการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการ ได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
จึงอาจกล่าวได้ว่า “โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว” เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด “สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว” ขึ้นมา
หนังสือขาวคาดแดง – หนังสือโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2538
หนังสือขาวคาดแดง มีชื่อเรียกตามหน้าปกว่า โครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2538 เป็นหนังสือที่ผู้อำนวยการท่านแรกผู้ก่อตั้งสถาบัน คือ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี (หรือ อาจารย์นิต) จะให้บุคลากรที่เพิ่งมาเริ่มทำงานได้อ่าน และทำความเข้าใจกับสถาบัน เพื่อจะได้รู้ว่าสถาบันมีบทบาท หน้าที่ ภารกิจเช่นไร จะต้องดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งตามที่รัฐบาลเห็นความสำคัญ และอนุมัติให้เกิดสถาบันขึ้นได้อย่างไร หนังสือขาวคาดแดงยังเป็นเอกสารสำคัญ ที่ผู้บริหารในแต่ละยุคแต่ละสมัยส่งต่อสืบทอดตามๆ กันมา เป็นระยะเวลาถึง 15 ปี ที่หนังสือเล่มนี้ยังคงใช้งานอยู่
ขาวคาดแดง ยังช่วยให้เราเห็นประวัติความเป็นมาของการให้มีสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวเกิดขึ้น ......... กว่าจะมาเป็นสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ............ ประเทศไทยได้อนุวัตรปฏิญญาเพื่อเด็ก สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2533 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กของประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติสำหรับพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการสนองนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ในแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเสนอเป็นแกนจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว สำหรับพัฒนาวิชาการเรื่องเด็กและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม เพื่อเพิ่มพลังแก่ครอบครัว โดยจัดการศึกษาวิจัยพัฒนาและผลิตบุคลากรระดับต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กและครอบครัว ตลอดจนเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม และสภาวะโลก
โครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้รับอนุมัติในหลักการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ให้เป็นโครงการใหม่ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการในระดับชาติตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ดำเนินการศึกษาวิจัยและผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างผสมผสาน โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น ปี 2538-2539 และตอบสนองแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กของประเทศไทยในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2535-2544) ซึ่งระบุว่าเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 7 จะมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาเด็กเป็นเป้าหมายสนับสนุนข้อที่ 16 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนฯ 8 และต่อไป
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการจัดตั้งมาเป็นลำดับ โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทายาลัยมหิดล (คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดลที่ 2530/ 2536) และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและครอบครัวเพิ่มเติม (คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดลที่ 2900/ 2536) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเด็กและครอบครัวที่เป็นภาพรวม เพื่อตอบสนองนโยบายพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เป็นแกนของคณะกรรมการโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวร่วมกับบุคลากรอื่นๆ ที่จำเป็นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดทำแผนปฏิบัติงานและการติดตามกำกับการดำเนินงานเป็นขั้นตอนเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพเด็กและครอบครัวไทย และต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีคำสั่งที่ 3919/2538 ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อดำเนินงานตามนโยบาย และแผนงานที่คณะกรรมการนโยบายระดับชาติ กำหนดเตรียมการและดำเนินการเพื่อรองรับการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2540 ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันฯ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ต่อมาได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540
ความรู้เพื่อชีวิตฉบับภาษาไทยเผยแพร่ทางเว็บไซต์
โครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้รับอนุมัติในหลักการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ให้เป็นโครงการใหม่ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการในระดับชาติตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ดำเนินการศึกษาวิจัยและผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างผสมผสาน โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น ปี 2538-2539 และตอบสนองแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กของประเทศไทยในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2535-2544) ซึ่งระบุว่าเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 7 จะมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาเด็กเป็นเป้าหมายสนับสนุนข้อที่ 16 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนฯ 8 และต่อไป
QUICK LINKS
ติดต่องานบริหารจดหมายเหตุ
ติดต่องานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
*** สถานที่ติดต่อเข้าชมนิทรรศการหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
© 2021 ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. All Rights Reserved.